วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

พระรัฐปาลเถระ ผู้ประท้วงอดอาหารเพื่อขอบวช

ถึงผู้มีบุญที่รักในการออกบวชทุกท่าน

ในสักช่วงชีวิตหนึ่งของชาวพุทธทุกคน การบวชเพื่อศึกษาคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อย่างที่รู้ๆกัน แต่ใช่ว่าเส้นทางสู่การเป็นบรรชิตของผู้ชายแท้ชาวพุทธจะถูกโปรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไปไม่

ท่านผู้เคยออกลุยชวนบวชน่าจะเคยทราบอุปสรรคต่างๆดังกล่าวมาหลายกรณี โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยๆ คือ พ่อแม่ไม่อนุญาตให้บวช

ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลและวิธีเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวด้วยตัวเอง เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อผู้ใคร่จะออกบวชสืบไป

พระรัฏฐปาลเถระ(พระรัฐบาล)
บุพกรรมในอดีตท่านพระ รัฏฐปาลเถระ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในพระนครหังสวดี ก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้านั้นทรงอุบัติ พอเจริญวัยแล้ว บิดาล่วงลับดับชีวิตไป ตนเองก็ดำรงเพศเป็นฆราวาสครองเรือน ได้เห็นทรัพย์สมบัติ ที่มีอยู่ในตระกูลวงศ์ อันหาประมาณมิได้ ตามที่คนผู้รักษาเรือนคลังรัตนะมาแสดงให้ทราบแล้ว จึงคิดว่า ปู่ย่า ตายาย เป็นต้นของเรา ไม่อาจเพื่อจะถือเอา กองทรัพย์สมบัติมากมายขนาดนี้ ไปกับตนได้เลย แต่เราควรที่จะถือเอาไปด้วยให้ได้ จึงได้ให้มหาทาน แก่หมู่คนทั้งหลาย มีคนกำพร้าเป็นต้น

ท่านได้บำรุงพระดาบส ผู้ได้อภิญญารูปหนึ่ง บุญนั้น จึงส่งให้ท่านเป็นใหญ่ ในเทวโลก ท่านบำเพ็ญบุญทั้งหลายจนตลอดชีวิตแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ครองเทวราชสมบัติ ในเทวโลกนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

สมัยพุทธกาล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระรัฏฐปาล เป็นบุตรของรัฏฐปาลเศรษฐี ผู้เป็นหัวหน้าในหมู่ชน ชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ

สมัย หนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ชาวนิคมได้ทราบว่า พระบรมศาสดาเสด็จมา จึงพากันมาเข้าไปเฝ้า บางพวกถวายบังคม บางพวกเป็นแต่พูดจาปราศรัย บางพวกเป็นแต่ประนมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อ และโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่ ทุกหมู่นั้น พากันนั่งอยู่ ณ ที่อันสมควรแห่งหนึ่ง

อดอาหารประท้วงเพื่อต้องการบวช
พระ บรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้เกิดความเลื่อมใสแล้ว คนเหล่านั้นก็ทูลลากลับไป ส่วนรัฏฐปาละ ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว เกิดความเลื่อมใส ใคร่จะบวช พอพวกชาวนิคมนั้นกลับไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอบรรพชา

ครั้นได้ทราบว่าพระบรมศาสดา ไม่ทรงบวชกุลบุตร ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต รัฏฐปาละ ก็พูดอ้อนวอนเป็นหลายครั้ง มารดาบิดาไม่ยอม รัฏฐปาละเสียใจ ลงนอนไม่ลุกขึ้น อดอาหารเสียไม่กิน คิดว่าจักตายในที่นี้ หรือจักบวชเท่านั้น

มารดา บิดา ปลอบให้ลุกขึ้นกินอาหาร รัฏฐปาละก็นิ่งเสีย มารดาบิดา จึงไปหาสหายรัฏฐปาละ ขอให้ช่วยห้ามปราม สหายเหล่านั้น ก็ไปช่วยห้ามปราม เมื่อเห็นว่ารัฏฐปาละไม่ยอม จึงคิดว่า ถ้ารัฏฐปาละ ไม่บวชจักตายแล้ว หาเกิดคุณอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ ถ้ารัฏฐปาละ ได้บวช มารดาบิดาและเราจักได้เห็นรัฏฐปาละ ตามเวลาที่สมควร อนึ่ง เมื่อรัฏฐปาละบวชแล้ว หากเบื่อหน่าย ในการประพฤติเช่นนั้น ก็จักกลับมาที่นี้อีก ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าไปหามารดาบิดาของรัฏฐปาละ ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง

มารดาบิดาของ รัฏฐปาละ เห็นด้วยแล้ว ก็ยอมตาม แต่ว่าบวชแล้ว ขอให้กลับมาเยี่ยมบ้าง สหายเหล่านั้น ก็กลับไปบอกความนั้น แก่รัฏฐปาละ ๆ ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ดีใจลุกขึ้นเช็ดตัว แล้วอยู่บริโภคอาหารพอร่างกาย มีกำลังไม่กี่วันแล้ว ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลว่าบิดามารดาอนุญาตแล้ว พระองค์ก็โปรดให้บวช เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา

บรรลุอรหัตตผล
ครั้ นพระรัฏฐปาละ บวชแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระบรมศาสดา เสด็จจากถุลลโกฏฐิตนิคม ไปประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ส่วนพระรัฏฐปาละ ตามเสด็จไปด้วย ท่านตั้งอยู่ในความไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จพระอรหัตผล ถึงที่สุดของพรหมจรรย์แล้ว ถวายบังคมลา ออกจากสาวัตถี เที่ยวจาริกไปถึงถุลลโกฏฐิตนิคม พักอยู่ที่มิคจิรวัน พระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินกุรุ

ในเวลา เช้า ท่านเข้าไปบิณฑบาตในนิคมนั้น จนถึงที่ใกล้เรือนของท่าน นางทาสีเห็นท่านแล้ว ก็จำได้ จึงบอกเนื้อความนั้น ให้แก่มารดาบิดาของท่านทราบ มารดาบิดาของท่าน จึงได้นิมนต์ท่านไปฉันในเรือน ในวันรุ่งขึ้น แล้วอ้อนวอน ให้ท่านกลับมาครอบครองสมบัติอีก ท่านก็ไม่สมประสงค์ เมื่อท่านรัฏฐปาละ ฉันเสร็จแล้วก็กล่าวคาถาอนุโมทนา พอเป็นทางให้เกิดสังเวชในร่างกาย แล้วจึงกลับมิคจิรวัน

ความเสื่อมมี ๔ อย่าง ทำให้คนออกบวช
ส่วน พระเจ้าโกรัพยะ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นรัฏฐปาละ ทรงจำได้ เพราะทรงรู้จักแต่เดิมมา เสด็จเข้าไปใกล้ ตรัสปราศรัยและประทับ ณ ราชอาสน์ ตรัสถามว่า รัฏฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมมี ๔ อย่าง ที่คนบางจำพวก ต้องประสบเข้าแล้ว จึงออกบวช คือ แก่ชรา, เจ็บ, สิ้นโภคทรัพย์, สิ้นญาติ ความเสื่อม ๔อย่างนี้ ไม่มีแก่ท่าน ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอย่างไร จึงได้ออกบวช

ธรรมุทเทศ ๔ ประการ
ท่านทูลว่า มหาบพิตร มีอยู่ ธรรมุทเทศ (ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อสี่ข้อ) ที่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงแสดงขึ้นแล้วจึงออกบวช ธรรมุทเทศ ๔ ข้อนั้น คือ
ข้อที่หนึ่ง ว่า โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นตัวนำเข้าไปใกล้ความตาย ไม่ยั่งยืน
ข้อที่สอง ว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน
ข้อที่สาม ว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
ข้อที่สี่ ว่า โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา

ครั้น ท่านพระรัฏฐปาละ ทูลเหตุที่ตนออกบวช แก่พระเจ้าโกรัพยะอย่างนี้แล้ว พระมหากษัตริย์ ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสอนุโมทนาธรรมีกถา แล้วเสด็จกลับไป ส่วนท่านพระรัฏฐปาละ เมื่อพำนักอาศัยอยู่ในนิคมนั้น พอสมควรแล้ว ก็กลับมาอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา

เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
อาศัย คุณที่ท่าน เป็นผู้บวชด้วยศรัทธามาแต่เดิม และกว่าจะบวชได้ ก็แสนยากลำบากนัก พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชด้วยศรัทธา (สทฺธาปพฺพชิตานํ). 


ที่มา https://sites.google.com/site/xsitimhasawk80xngkh/phra-ratth-pal-thera

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

บางส่วนจากคำสอนหลวงพ่อทัตตะชีโว 4-3-2556

"การที่ใครจะฝึกได้ดีหรือไม่ได้ดีนั้น พื้นฐานต้องแน่นก่อน แม้มาถึงวัดแล้วก็ต้องเคี่ยวเข็
ญกันไปจะปล่อยให้ตกหล่นไม่ได้ ไม่งั้นจะหาว่า หลวงพ่อ เอามาใช้แล้วปล่อยทิ้ง
ถ้า ใครยังสะอาดไม่พอ ยากที่จะมีระเบียบ ถ้าระเบียบไม่พอ ยากจะสุภาพ ดูเหมือนไม่เกี่ยวแต่ดูให้ดีนะ ถ้าสะอาดไม่พอ อารมณ์จะไม่ดี ลองอาบน้ำหรือขี้ไม่ล้างก้นแล้วไปนอนดูนะจะหลับลงมั้ย เมื่อระเบียบไม่พอจะยิ่งหงุดหงิดหนักไปอีก แค่ของในกุดในโต้ะยังหาไม่เจอเลย ที่ไหนสุภาพไม่พอ ยากที่จะตรงต่อเวลา เพราะไม่สุภาพก็ไม่มีใครอยากทำงานด้วย เมื่อก่อนเข้าพรรษาเคยอธิบายให้กัลยาณมิตรที่สงขลาและพอจ.สุพจน์ที่ทำงานภาค ใต้ เคยรายงานว่าคนใต้นี้ตามคนมาบวชยากเหลือเกิน หลวงพ่อ ย้อนว่ารู้มั้ยความผิดใคร ก็ความผิด ที่ท่านยังเหยียบน้ำทะเลไม่จืดเหมือนลปทวดไง หรือ จริงๆคือ ผู้ที่ไปตามคนมาบวชน่ะ ยังฝึกตัวเองดีไม่พอเมื่อไปชวนใคร เขาจึงยังไม่ศรัทธาทันที ธรรมะก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่จะไม่ชวนก็ไม่ได้ เราะวัดร้างก็เพิ่มเรื่อยๆ ดังนั้นต้องทั้งชวนทั้งฝึกตัวให้ธรรมะก้าวหน้าไปเรื่อยๆด้วย
อย่างน้อยก่อนออกไปชวนแต่งตัวให้สะอาด ดูกิริยามารยาทนัดแนะเวลาสถานที่ให้ดี เพราะคนไม่ได้อารมณ์ดีตลอดทั้งวัน ไปตามคนก็ต้องเลือกเวลา
ตรง ต่อเวลาหรือจัดสรรเวลาดีไม่พอ ก็ยากที่จะแยกผิดถูก หากผิดถูกแยกไม่ออกก็ยากที่จะแยกดีชั่ว ถ้าดีชั่วแยกไม่ออกก็ยากที่จะแยก ควรไม่ควร แค่แยกเด็กผู้ใหญ่ ศิษย์อาจารย์ไม่ออก ก็จะยุ่ง และถ้าควรไม่ควรแยกไม่ออกก็ยากจะแยกบุญกับบาป ดูเวลาเลิกงานที่วัดปุ้ป รถติดไปไม่ได้เลย จราจรติดขัดสุดท้ายว่ากันเอง บุญก็ตกก็หล่น
ทั้งหมดนี้ถ้าจะแก้ก็ไล่ตั้งแต่ความสะอาดไล่กันมาตามลำดับๆ
เกรด ของคนที่จะไปตามก็ต่างกัน วรรณะหรือเกรดของคนวัดด้วยอะไร คำตอบคือ ความสะอาด ดูตัวอย่างเช่น ผ้าขี้ริ้วถ้าไม่สะอาดคงเช็ดพื้นไม่ได้ ดังนั้นมันก็ต้องสะอาด หรือผ้าเช็ดพื้นก็สะอาดไม่เท่าผ้าเช็ดโต้ะ ผ้าเช็ดโต้ะก็ไม่สะอาดเท่าผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดจานก็ไม่สะอาดเท่าผ้าเช็ดหน้า แม้ผ้าเช็ดหน้าก็ไม่สะอาดเท่าผ้าเช็ดแว่นเช็ดเลนส์ หรือผ้าเช็ดเลนส์คงไม่สะอาดเท่าผ้าเช็ดเพชรพลอย เกรดของคนก็อยู่ที่ความสะอาดของคนๆนั้น ดูคุณยายลูกชาวบ้านก็ให้คนทั้งโลกมากราบได้ บางคนลูกมหาเศรษฐีแต่สกปรกก็ไปลดโคตรตระกูลของเขา เราฝึกตัวให้รักความสะอาดๆด้ขนาดไหน จะเอาแบบผ้าเช็ดตีน หรือ เช็ดโต้ะ หรือ เช็ดเพชรพลอย ก็อยู่ที่เราจะเป็นอะไรก็ฝึกเอา และส่ิงนี้แล่ะจะเป็นฐานแก่การเข้าถึงธรรมให้กับเราเอง ยิ่งสะอาดระดับไหนก็จะมีระเบียบสุภาพ ตรงต่อเวลา ผิดถูก ดีชั่ว ควรไม่ควรระดับนั้น เจ้าต้องๆปพิจารณาของเจ้าเอาเอง
คืน หนึ่งไปดูเณรจำวัด ในอดีต เที่ยงคืนแล้วบางรูปก็หลุดมานอกกลด เมื่อสองสามอาทิตย์ที่ผ่านมาลองไปดูในโรงนอน ไปตอนสี่ทุ่มกว่าๆ มีเณรหลับไปแล้วกว่า70%มีอีก30%ยังนั่งสมาธิอยู่ แล้วพอขึ้นไปชั้นสองลองดูมีเณรหลาย รูปนอนทั้งคว่ำหงาย หรือหลุดจากเสื่อ หรือ เท้าไปก่ายเพื่อนข้างๆก็มี บางรูปก็ตะแคงคุดคู้ คือ ทั้ง สุกรไสยาส สุนัขไสยาส สีหไสยาส หลวงพ่อ เรียก พระอาจารย์ มาดูบอกว่าที่หลุดจากที่นอนน่ะ หลวงพ่อ ไม่เห็นหน้าหรอกแต่รู้ว่าเรียนไม่ด ีหรอก พวกตะแคง เรียนได้ปานกลาง หากไม่รีบแก้ เดี่ยวก็จะสึก ท่านอนก็บอกได้ หลวงพ่อ ใช้สติสัมปัญชัญญะเป็นตัวตั้ง ซึ่งมันจะแสดงออกมาตอนหลับ เช่นพญานาคเป็นตัวอย่างที่จะแสดงตัวออกมาตอนหลับ แล้ว หลวงพ่อ มีวิธีแก้ไหม คือ หนึ่งเริ่มจากความสะอาด ตั้งแต่ตัวของเขาตั้งแต่หัวถึงเท้ารวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ต่างๆ
หลวง พ่อ ถามว่าที่เณรนอนอยู่ได้ถูไหม และใช้อะไรถู ถูทุกวันแต่ใช้ไม้ม้อบ แต่ถูกับลูบนี้ไม่เหมือนกันนะ ไม้ม้อบน่ะเป็นการลูบ แค่ภาษาไทย ถู กับ ลูบยังแยกไม่ออกเลย ก็นั่งท่องแม้มืดตื้อไปเถอะ ถ้าจะนอนต้องถู ถ้าพื้นแค่เดินก็ลูบพอ ต้องไล่ระดับความสะอาดให้ได้นะลูกนะ ถ้าพิจารณากันแบบนี้จะพบว่า วัดเรามีเรื่องที่จะพัฒนาอีกเยอะ แค่เรื่องความสะอาด และหากเราลองไปดูวัดต่างๆ บางวัดห้องน้ำนี่สะอาดแซงหน้าวัดเราไปแล้ว
สิ่งที่จะฝากเป็นข้อคิดอีก คือ ใครล้างมือล้างเท้าไม่เกลี้ยงยากจะล้างหน้าให้เกลี้ยง ขนาดมือเท้าที่เห็นๆยังล้างไม่เกลี้ยง แล้วหน้าที่มองไม่เห็น ต้องใช้กระจกจะเกลี้ยงได้อย่างไร ดูต่ออีก ถ้าล้างหน้าไม่เกลี้ยงจะล้างก้นให้เกลี้ยงได้อย่างไร ใครที่ปล่อยปะในเรื่องความสะอาดเช่นพ่อแม่ไม่ดูลูกให้สะอาดตั้งแต่เล็กๆเด็ก ก็จะโสโครกทั้งชาติ และที่เรายังต้องท่องแม้มืดตื้อเพราะเรายังเจ๋งไม่พอ เจ้าต้องไปดูความสะอาดในทุกเรื่องราว และหากล้างก้นยังไม่เกลี้ยงเลยจะไปล้างผักล้างเนื้อก็ไม่เกลี้ยงแล้วจะไปทำ อาหารให้อร่อยได้อย่างไร เสน่ห์ปลายจวักไม่มี มีแต่เสนียดปลายเท้า สุดท้ายครอบครัวก็ไม่นานต้องแยกทางกัน
ศีลแปลว่า ปกติ สะอาด คือความปกติ กายกับวาจา แพทย์พยาบาลเขาสะอาดอันดับหนึ่งเรื่องฆ่าเชื้อโรค แต่เราที่เข้าวัดสะอาดเพื่อที่จะฆ่ากิเลส เป้ามันต่างกัน แม้คนใช้ที่ทำสะอาดก็เพื่อจะเอาค่าแรง พ่อแม่สอนเรื่องความสะอาดก็เพื่อให้ลูกได้รู้จักช่วยเหลือตนเองได้ ฉะนั้นเข้าวัดแล้วท่านทำความสะอาดเอา อะไรถามตนเองให้ดี แล้วเป้าของเราจะชัด สะอาดระดับไหน ระเบียบ สุภาพ การบริหารเวลาจะได้ระดับนั้น แล้วจะไปสู่การแยกผิดถูก ดีชั่ว ควรไม่ควร บุญบาป และการเข้าถึงธรรม และการฝึกสิ่งเหล่านี้จึงส่งไปสู่อัตตาหิ อัตตาโนนาโถ ของคนนั้น คือ ผลของกรรมดีหรือชั่วของคนๆนั้น ถ้ายังสะอาดไม่พอความสกปรกจะบังใจคนๆนั้น สุดท้ายมองไม่เห็นกฏแห่งกรรม ก็ยากที่จะมองอะไรทะลุและก็จะหาอะไรไม่เจอ"

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลักในการสวดมนต์ทำวัตรเป็นหมู่คณะ จากการศึกษาของเจ้าของบล็อก

หลักที่เราใช้ในการทำวัตรสวดมนต์ จำไม่ได้เอามาจากไหน แต่ทำแล้วตรงหลักธรรมจึงทำประจำ
ทดสอบจากประสบการณ์การนำสวดมนต์ เมื่อครั้งยังอยู่ที่ชมรมพุทธ จุฬาฯ และ ที่รถสาธุชนเทคโนพระนครเหนือ ประจำวันอาทิตย์ต้นเดือน


เมื่อเราสวดตาม


1.ปรับเสียงตัวเองให้เข้ากับผู้นำสวด หากปรับได้ สวดเต็มเสียงเลย
2.หากปรับเสียงไม่ได้ ลดระดับให้ดังน้อยกว่าผู้นำสวด
3.สวดตามผู้นำเสนอ หยุดสวดตามผู้นำเสมอ ผู้นำต้องออกเสียงก่อนหน่อย แล้วเราจึงจะออกเสียง
4.หากผู้นำสวดชะงัก หรือ หลุดท่อน ให้เรารับช่วงต่อทันทีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
5.ระหว่างสวดให้น้อมใจไว้กลาง นึกถึงคุณพระรัตนตรัย องค์พระแก้วใสหรือมหาปูชนียาจารย์ก็ได้

ปล.ทั้งนี้เพื่อลดทิฐิมานะในตัวเองและเสริมสร้างสำนึกความเป็นทีม ผ่านการสวดมนต์



เมื่อเราสวดนำ


1. สวดออกเสียงให้ชัดตามอักขระบาลี
2.โทนเสียงกลาง ไม่สูงหรือต่ำเกินไป (แนะนำ เสียง เร) สวดเต็มเสียงด้วยพลังจากกลางท้อง
3. สวดจังหวะคงที่ และสังเกตจังหวะเวลากล่าวคำนำสวด เป็นประจำ
4. การกล่าวคำนำสวด(หันทะมะยัง)ควรจะใช้โทน เสียงเดียวกับบทสวด
5. ช่วงคำว่า ติ ปิดท้ายบทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ (อิติปิโส ) อย่าทิ้งช่วงนานจนเหมือนจำไม่ได้
6. สังเกตผู้ตามระหว่างนำสวด ว่าเข้ากับโทนที่เราเริ่มได้ไหม ถ้าปรับได้ก็ปรับ
7. พยายามกระแอม ไอ ให้น้อยที่สุด ถ้าไม่ไหวก็ให้ไอเสร็จเร็วๆ แล้วรีบกลับมานำต่อ
8. ตรึกบทสวดให้ชัด เหมือนมีหนังสือสวดมนต์ลอยอยู่ตรงหน้า
9. ตั้งสติให้มาก
10.หากมีผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่ม อย่าสวดเร็ว วัดระยะห่างทำนอง ให้เข้ากับการหายใจแบบปกติ (ไม่หายใจเร็ว) เว้นวรรค นานอีกหน่อย
11. ระหว่างสวดให้น้อมใจไว้กลาง นึกถึงคุณพระรัตนตรัย องค์พระแก้วใสหรือมหาปูชนียาจารย์ก็ได้ และ(ถ้าทำได้) ขยายใจคลุมทุกคนที่สวดด้วยกัน
12. ถ้าที่กล่าวมาข้างต้น (1,2,3,6,8)นี้ยังไม่คล่อง ให้ฝึกให้คล่องให้ได้

 **************************

อานิสงส์ของการสวดมนต์  

 
เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน
ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่าน เจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ซึ่งในขณะนั้นมีอุบาสก อุบาสิกา นั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา
เจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “ เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์ ”
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่ายังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์
ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ
•  เมื่อฟังธรรม
•  เมื่อแสดงธรรม
•  เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
•  เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
•  เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ
การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ
•  กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
•  ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
•  วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว
อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน
การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดังพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น
*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด
*ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม
ดูก่อน.. ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล..
 
จากหนังสือ อมตะธรรม สมเด็จโต พรหมรังษี 

คำถาม: อานิสงส์ของการสวดมนต์มีอะไรบ้างครับ?

 
คำตอบ: มนต์ แปลว่าคำศักดิ์สิทธิ์ คำสำหรับสวดพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นคำสวดพระโอวาทที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ การที่ชาวพุทธสวดมนต์ก็เพื่อเป็นการทบทวนพระโอวาท ที่เป็นข้อธรรมะ เมื่อใครได้ทบทวนข้อธรรมะของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่า
 
        1. เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดของมนต์
        2. เคารพในพระธรรม เพราะข้อความที่สวดเป็นธรรมะ
        3. เคารพในพระสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ได้ถ่ายทอดมาโดยพระสงฆ์
 
        สิ่งที่เราเคารพ 3 อย่างนี้ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย การเคารพพระรัตนตรัยมีอานิสงส์ทำให้เรามีโอกาสสร้างบุญได้ต่อไป แม้ขณะที่กำลังสวดมนต์ ผลบุญก็เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ แล้ว ตั้งแต่ขณะสวดมนต์ ร่างกายของเราอยู่ในอาการอันสงบ สำรวม ศีลก็ไม่ขาด พอจิตใจสงบ ก็เป็นสมาธิ(Meditation)ได้เร็ว
 
การสวดมนต์เป็นประจำ
การสวดมนต์เป็นประจำ
 
        เมื่อทบทวนธรรมะ ปัญญาก็งอกงามไปตามลำดับๆ ได้ อานิสงส์ทางปัญญา ตกลงได้ครบทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอุปกรณ์เป็นพาหนะนำไปสู่การสร้างบุญ สร้างคุณงามความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่ง กว่านั้นผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ ยังเป็นผู้ที่มีโอกาสพิจารณาตนเองได้มาก ไม่วู่วาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ จะมีอานิสงส์ให้พ้นภัยทั้งปวง เนื่องมาจากใจที่สงบของเขา ใจที่เกาะอยู่ในธรรมจะสะอาดและใสมาก เมื่อจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับตัว แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ แต่จะเกิดการสังหรณ์ล่วงหน้า เพราะใจสัมผัสได้เร็ว ทำให้เตรียมตัวรับสถานการณ์ต่างๆ ได้ฉับพลัน
 
        ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ เทวดาจะลงรักษา เพราะเทวดาก็อยากได้บุญ เป็นการต่ออายุให้อยู่บนสวรรค์ได้นานๆ คนที่เทวดาลงรักษา จะทำอะไรก็เจริญรุ่งเรือง และคิดจะทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศล นี่แหละคืออานิสงส์โดยย่อของการสวดมนต์ ซึ่งอธิบายในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล

“เราไม่ได้ทำสมาธิมาเพื่อการนี้”


ตอนหนึ่ง ใน “มิจฉาสมาธิ” วันที่ 4 พย.2552 ชมรมพุทธฯดีแทค จัตุรัสจามจุรี ตึกสำนักงาน ชั้น 33

โดย พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญโญ
(หลังจากชม MV เด็กฝึกพลังจิตในคอร์สจิต ในรายการทีวีหนึ่ง เด็กโชว์การอ่านหนังสือทั้งที่ปิดตา)

พระ อาจารย์บอกว่า การที่เด็กทำแบบนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องของสมอง แต่เป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องของสมาธิ ไม่เกี่ยวกะสมองส่วนกลาง การที่เด็กบอกว่าเห็นเป็นสมองส่วนกลางเพราะเด็กเข้าใจอย่างนั้น
เรื่อง แบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ มีมานานแล้ว สมัยที่พระอาจารย์ยังเรียนอยู่ก็เคยอ่านหนังสือของคนที่มีญาณวิเศษ มองทะลุกำแพงได้ แล้วทีนี้มีญาณอย่างนี้เข้าก็เอาไปใช้เสี่ยงทาย เล่นเกมโชว์ สุดท้ายเอาไปเล่นพนัน เมื่อเห็นอย่างนี้เล่นทีไรก็ชนะ กินคนอื่นหมดตัว ทำไปทำมาก็ไปขัดตาพวกมีอิทธิพลในบ่อน ส่งคนมาฆ่า แต่รอดทุกทีเพราะมองทะลุเห็นหมดว่าใครพกปืนจะมาฆ่าตัว ชีวิตก็ไม่สงบสุขซะที ต้องคอยหลบภัย สุดท้ายก็เป็นโรคตาย

คนที่ว่านี้เค้าก็ฝึกสมาธิมา แต่ฝึกแบบเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานๆ หรือที่รู้จักกันว่า กสิณ
ย้อน กลับมาดูเด็กๆพวกนี้ ตอนเด็กๆยังใสๆมองอะไรเล่นๆไม่รู้สึกอะไร แต่ตอนเป็นหนุ่มเป็นสาวนี่สิ ถ้ายังมองทะลุได้ทุกอย่าง รวมไปถึงเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายเรานี่ มิแย่หรือ อันตรายนะ เสื้อผ้าสองชั้นสามชั้นกันไม่อยู่ อยากเห็นอะไร มองทะลุเข้าไปเห็นได้หมด หรือเอาไปเล่นพนันอย่างกรณีที่แล้ว นี่ก็อันตราย

สมาธิเป็น ของอัศจรรย์ ใครที่ฝึกในระดับหนึ่งแล้ว อย่าว่าแต่ปิดหนังสืออ่าน นับจักรวาลก็ทำได้ คนในหมู่คณะที่เคยเอาสมาธิไปแสดงในเกมโชว์ก็มีนะ ทำได้ดีกว่าด้วยไม่ต้องตั้งท่าปิดตา มองในระยะไกลก็ได้ คือว่าสมัยที่อยู่บ้านธรรมประสิทธิ์กับคุณยาย หลวงพ่อ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งนั่งธรรมะดี ได้ญาณ ไปเข้าแข่งขันประลองปัญญา ที่สมัยนั้น ปั๊มเชลล์ จัดรายการนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะคนนั้นเขาเรียนเก่งอยู่แล้ว โอกาสได้แชมป์ก็มี แต่คนนี้ไม่คิดแค่นั้น คิดจะลองวิชา ใช้ตาทิพย์ไปส่องดูคำเฉลยที่อยู่ห่างไปคนละฟาก และตอบตามที่เห็นนั้นแหละ ตอบถูก ตอบตรงทุกตัวอักษร คนดูฮือฮากันใหญ่ และรางวัลที่หนึ่งก็ตกเป็นของเค้าอย่างง่ายๆ พอกลับมาก็ไปอวดให้เพื่อนๆฟัง แต่พอไปถึงหูหลวงพ่อธัมมชโย(ตอนนั้นยังไม่ได้บวช) ก็ตำหนิกลับมาเลยว่า “ไป แย่งชิงรางวัลของคนที่สมควรจะได้ มันใช้ได้ที่ไหน เราไม่ได้ทำสมาธิมาเพื่อการนี้ สมาธิมีไว้หาพระรัตนตรัยในตัว ต่อไปอย่าทำอีก” ถึงกับจ๋อยเลย

สมาธิที่เล่ามานี่ เป็นตัวอย่างหนึ่งในสองสมาธิที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน สมาธิในฝั่งเราที่เข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวก็มี เรียกว่า สัมมาสมาธิ ของฝั่งเค้าก็มีเหมือนกัน เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ก็คือที่เล่ามาแล้วนี่เอง ดังนั้นทุกคนจำไว้ให้ดีนะ เราไม่ได้มาทำสมาธิเพื่อการอื่นนอกจากการ "เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว”

เมนูอาหารพิสดารสมัยพุทธกาล


ก็อบจากบล็อกตัวเอง ในไฮไฟว์

วันนี้ขอเสนอเมนู พิสดารสมัยพุทธกาลมาให้อ่านกัน ข้าวมธุปายาส พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์

หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้


“ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค 500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศ จนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8ตัว ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ

นาง สุชาดาเห็นดังนั้นก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง

เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิ ราช(ท้าวสักกะเทวราช ประมุขแห่งดาวดึงส์) ก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตรมากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะ ด้วยเมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี

ครั้นสำเร็จ เสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์

เมื่อ นั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์” ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาลเป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่มมีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะความข้นพอที่จะปั้นให้ เป็นคำได้

อาหารพิสดารอีกอย่าง แต่จนปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นอาหาร หรือยาพิษกันแน่ เพราะอาหารนี้คือ สูกรมัททวะ กระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง สูกรมัททวะคืออะไร ในหนังสือชั้นอรรกถาชื่อ 'สุมังคลวิลาสินี' รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้ประมวลการตีความไว้ ๓ ทรรศนะด้วยกันดังนี้

(๑)  ปวัตตะมังสะ (เนื้อที่ขายตามตลาด) ของสุกร ที่เจริญเต็มที่ ซึ่งไม่หนุ่มเกินไป ไม่แก่เกินไป
ทรรศนะ นี้บอกว่าเป็นเนื้อหมู และอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื้อสุกร ที่ไม่แก่เกินไป ไม่หนุ่มเกินไป นุ่มสนิทดี ปรุงอาหารอร่อย นายจุนทะนำเนื้อชนิดนี้มาปรุงอาหารถวายพระพุทธเจ้า

(๒) สูกรมัททวะ หมายถึงชื่อแห่งวิธีการปรุงข้าวอ่อน ด้วยเบญจโครสเหมือนชื่ออาหารที่ปรุงด้วยควปานะ
มตินี้ตรงข้ามมติแรก คือแทนที่จะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กลับเป็นอาหารประเภทพืชไป คือข้าวหุงด้วยนมโค

(๓) รสายนวิธีชื่อว่าสูกรมัททวะ รสายนวิธีนั้นมาในคัมภีร์รสายนศาสตร์ นายจุนทะตกแต่งอาหาร ตามคัมภีร์รสายนศาสตร์ เพื่อมิให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน (ยาบำรุงกำลัง)  และจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้เพิ่มเติมก็คือ
ข้อความแวดล้อมในมหาปรินิพพานสูตรบอกว่า
       ๑. นายจุนทะเตรียมขาทนียะ โภขนียะ (ของเคี้ยว ของฉัน) เพียงพอ และเตรียมสูกรมัททวะเพียงพอ
       ๒. นายจุนทะเตรียมอาหารนั้นทั้งคืน
       ๓. นายจุนทะถวายของเคี้ยวของฉันแก่พระสงฆ์ ถวายสูกรมัททวะแด่พระพุทธองค์
       ๔. พระพุทธองค์ตรัสว่า ไฟธาตุของพระองค์เท่านั้นที่ย่อยสูกรมัททวะนี้ได้ แล้วให้นำเอาที่เหลือจากที่เสวยไปฝังดินเสีย

ข้อมูล เหล่านี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าอะไรที่ใช่สูกรมัททวะ แต่ที่แน่ๆ เมนูนี้่ไม่มีในในภพสามฉันได้นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีกายมหาบุรุษ เพียงพระองค์เดียวในโลกเท่านั้น

อนุพุทธประวัติ ภาควังสะ 2 ตอนพระเจ้าอุเทน


พระเจ้าอุเทน 

พระ เจ้าอุเทน(Udena) ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตเรียกว่า พระเจ้าอุทยัน (Udayan) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์วัตสะ (Vatsa Dunasty) ทรงปกครอง แคว้นวังสะ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโกสัมพี (Kosambi) หรือเกศัมพี (Kaushambi) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้เมืองอัลลาหบาดหรือประยาคในปัจจุบัน พระบิดานามว่าปรันตปะ

  
พระ เจ้าอุเทนประสูติในป่าเพราะพระมรดาถูกนกหัสดีลิงค์โฉบไปสู่ป่า แต่ได้รับการช่วยเหลือจากดาบสอัลลกัปปะ พระนางประสูติพระโอรสตอนใกล้รุ่ง จึงตั้งนามว่า อุเทน โดยได้รับการดูแลจากดาบสผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง และพระมารดา เจ้าชายอุเทนได้ศึกษามนต์ฝึกช้างจนช่ำชอง และสามารถควบคุมช้างเป็นจำนวนมากได้ด้วยมนต์ที่ศึกษามาและยึดราชบัลลังก์นคร โกสัมพีจนสำเร็จ ด้วยการยกทัพช้างล้อมพระนคร

มี พระมเหสี ๓ พระองค์ คือ ๑.พระนางสามาวดี ๒.พระนางวาสุลทัตตา ๓. พระนางมาคันทิยา ต่อมาพระมเหสีทั้งสอง คือพระนางสามาวดีก็สิ้นพระชนม์จากการลอบวางเพลิงของพระนางมาคันทิยา ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้อิจฉาก็ถูกราชอาญา เพราะทำผิดร้ายแรงด้วยการถูกเผาทั้งเป็นเช่นกัน  

ใน ตำนานฝ่ายเชนกล่าวว่าพระองค์มีพระโอรสพระองค์เดียวจากพระนางวาสวทัตตา คือเจ้าชายโพธิ (Prince Bodhi) ซึ่งต่อมาได้ปกครองราชบัลลังก์โกสัมพีแทนพระบิดา

ได้หันมา นับถือพุทธศาสนาเพราะพระนางสามาวดีพุทธสาวิกาที่มั่นคงพระองค์มีความสนิทสนม กับพระปิณโฑลภารทวาชะมาก จนต่อมาโกสัมพีก็กลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ครั้งสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอารามใหญ่ ๆ ในเมืองนี้คือ ๑. โฆสิตาราม สร้างโดยโฆสิตเศรษฐี(โฆสกะเศรษฐี) ๒. กุกกุฏาราม สร้างโดย กุกกุฏเศรษฐี และ ๓. ปาวาริการามโดยเศรษฐีปาวริกะ 

เนื้อเรื่องเต็ม
สองกษัตริย์บวชฤาษี

กษัตริย์ ๒ สหาย             
               ในกาลล่วงมาแล้ว พระราชา ๒ องค์ เหล่านี้ คือในแคว้นอัลลกัปปะ พระราชาทรงพระนามว่าอัลลกัปปะ, ในแคว้นเวฏฐทีปกะ พระราชาทรงพระนามว่าเวฏฐทีปกะ เป็นพระสหายกัน ตั้งแต่เวลายังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยล่วงไปแห่งพระราชบิดาของตนๆ ทรงเป็นพระราชาในแคว้น มีประมาณแคว้นละ ๑๐ โยชน์. พระราชา ๒ พระองค์นั้น เสด็จมาประชุมกันตลอดกาลตามกาล (ตามกาลอันสมควร) ทรงยืน, นั่ง, บรรทมร่วมกัน ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนตายมากมาย จึงทรงปรึกษากันว่า “ชื่อว่า ผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี, โดยที่สุดถึงสรีระของตน ก็ตามไปไม่ได้; ต้องละสิ่งทั้งปวงไป, ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา, เราจักบวช” ดังนี้แล้ว ทรงมอบรัชสมบัติให้แก่พระโอรสและพระมเหสี ออกผนวชเป็นพระฤษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้ทรงปรึกษากันว่า “พวกเราไม่อาจเพื่อเป็นอยู่ จึงละราชสมบัติออกบวชก็หาไม่, เราเหล่านั้น เมื่ออยู่ในที่แห่งเดียวกัน ก็จักเหมือนกับผู้ไม่บวชนั้นเอง, เพราะฉะนั้น เราจักแยกกันอยู่: ท่านจงอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น, เราจักอยู่ที่ภูเขาลูกนี้; แต่จักรวมกัน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน.”
               ครั้งนั้น พระดาบสทั้งสองนั้นเกิดมีความดำริขึ้นอย่างนี้ว่า “แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคลุกคลีด้วยคณะเทียว จักมีแก่เราทั้งหลาย, ท่านพึงจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของท่าน, เราก็จักจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของเรา; ด้วยเครื่องสัญญานั้น เราทั้งหลายก็จักรู้ว่าเรายังมีชีวิตอยู่.”

กำเนิดมนต์และพิณสะกดช้าง           
               ต่อมาในกาลอื่น เวฏฐทีปกดาบส ตายไป บังเกิดเป็นเทพเจ้าผู้มีศักดิ์ใหญ่. หลังจากนั้นพอถึงกึ่งเดือน อัลลกัปปดาบส พอแลไม่เห็นไฟ ก็ทราบได้ว่า “สหายของเรา ทำกาละเสียแล้ว” แม้เวฏฐทีปกดาบสตรวจดูทิพพสิริของตนในขณะที่เกิด ใคร่ครวญถึงกรรม เห็นกิริยาที่ตนกระทำ จำเดิมแต่ออกบวชแล้ว คิดว่า “บัดนี้ เราจักไปเยี่ยมสหายของเรา” ในขณะนั้น จึงแปลง เป็นเหมือนคนหลงทาง ไปยังสำนักของอัลลกัปปดาบสนั้น ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ตรงนั้น.

               ลำดับนั้น อัลลกัปปดาบสนั้นจึงกล่าวถามบุรุษนั้นว่า “ท่านมาจากไหน?”(สำนวนในคัมภีร์)
               บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ผมเป็นคนหลงทาง เดินมาจากที่ไกลเหลือเกิน, ก็พระผู้เป็นเจ้าอยู่รูปเดียวเท่านั้น ในที่นี้ หรือ? มีใครอื่นบ้างไหม?
               อัลละ. มีสหายของเราอยู่ผู้หนึ่ง.
               บุรุษ. ผู้นั้น ไปอยู่ที่ไหนหรือ?
               อัลละ. เขาอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น. แต่วันอุโบสถ เขาไม่จุดไฟให้โพลง, เขาจักตายเสียแล้วเป็นแน่.
               บุรุษ. เป็นอย่างนั้นหรือ ขอรับ?
               อัลละ. ผู้มีอายุ เป็นอย่างนั้น.
               บุรุษ. กระผมคือผู้นั้น ขอรับ.
               อัลละ. ท่านเกิดที่ไหน?
               บุรุษ. กระผมเกิดเป็นเทพเจ้า ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในเทวโลกขอรับ, มาอีก ก็ด้วยประสงค์ว่า ‘จักเยี่ยมพระผู้เป็นเจ้า’ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นี้ อุปัทวะอะไรมีบ้างหรือ?
               อัลละ. เออ อาวุโส, เราลำบาก เพราะอาศัยช้าง.
               บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ก็ช้างทำอะไรให้ท่านเล่า?
               อัลละ. มันถ่ายคูถลงในที่กวาด, เอาเท้าประหารคุ้ยฝุ่นขึ้น; ข้าพเจ้านั้นคอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ก็ย่อมลำบาก.(ช้างชอบมาขี้ที่อาศรม ทำให้ต้องคอยขนขี้ช้างและปัดกวาดลานบ่อยๆ)
               บุรุษ. พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาจะไม่ให้ช้างเหล่านั้นมาไหมเล่า?
               อัลละ. เออ อาวุโส.
               บุรุษ. ถ้ากระนั้น กระผมจักทำไม่ให้ช้างเหล่านั้นมา ได้ถวายพิณสำหรับให้ช้างใคร่ และสอนมนต์สำหรับให้ช้างใคร่ แก่พระดาบสแล้ว: ก็เมื่อจะให้ ได้ชี้แจงสายพิณ ๓ สาย ให้เรียนมนต์ ๓ บท แล้วบอกว่า “เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว, ช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับแลดู ย่อมหนีไป; เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจะกลับเหลียวดูเบื้องหลังพลางหนีไป: เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างนายฝูงย่อมน้อมหลังเข้ามาหา”, แล้วกล่าวว่า “สิ่งใด อันท่านชอบใจ, ท่านพึงทำสิ่งนั้นเถิด”. ไหว้พระดาบสแล้ว ก็หลีกไป.
               พระดาบสร่ายมนต์บทสำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง แล้วช้างก็หนีไปจริงๆ.


กำเนิดพระเจ้าอุเทน

ฤดูหนาววันหนึ่งพระราชบิดากับพระราชมารดาประทับนั่งตากแดดอยู่ตรงระเบียง
ปราสาท  วันนั้นพระมเหสีห่มผ้ากัมพลสีแดง
บังเอิญนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง (นกยักษ์มีกำลังเท่าช้างสาร)
บินผ่านมาเจอเห็นผ้าสีแดงนึกว่าชิ้นเนื้อเลยลงโฉบจับพระมเหสีพร้อมเจ้าชายน้อยไป

   กล่าวถึง ฤาษีอัลละที่ได้วาไล่ช้างมานี้ กำลังไปเก็บกระดูกสัตว์
ที่นกกินเหลือเอามาต้มดื่ม  เมื่อนกบินไปถึงรังขณะกำลังจะลงมือกินแม่ลูก
พระมเหสีสติดีได้ร้องตะโกนขึ้นเพื่อไล่นกหนีไป(น่าจะกรีดร้องให้นกตกใจมากกว่า)
(ไม่ตะโกนตอนอยู่บนอากาศเดี๋ยวตกมาตาย) ฤาษีได้ยินเสียงคนเสียงเด็กร้อง
จึงปีขึ้นไปรับลงมาพาไปอยู่อาศรมของตน


ฝ่ายมเหสีเพื่อความมั่นคงของชีวิต
ก็ใช้มายาหญิงยั่วฤาษีจนตบะแตกอยู่เป็นผัวเมียกัน ฤาษีได้สอนมนต์พิณพระกุมาร
ที่สามารถควบคุมช้างทั้งฝูงให้อยู่ในอำนาจได้

หลังจากที่ฤาษีรู้ในญาณว่า พระบิดาของพระเจ้าอุเทนสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ส่งเจ้าชายอุเทนไปทวงราชสมบัติตามคำขอของมเหสี

เจ้า ชายอุเทนใช้มนต์เรียกกองทัพช้างย่ำเข้ามาในพระนครโกสัมพีจำนวนมาก คนในแคว้นวังสะล้วนชื่นชมในพลังอำนาจวิเศษและเข้าร่วมทัพ จนประชิดโกสัมพี เจ้าชายส่งสาสน์ขู่เอาราชสมบัติ คนในวังตอบว่า รับแต่เชื้อสายพระเจ้ากรุงโกสัมพี ซึ่งหายสาปสูญไปนานแล้ว เจ้าชายจึงแสดงแหวนราชวงศ์ ผ้ากัมพลแดงและประกาศสิทธิ์เหนือเศวตฉัตร เมื่อเห็นดังนั้นทั่วทัั้งพระนครจึงยอมรับเจ้าชายอุเทนเป็นพระราชาแห่งแคว้น วังสะ

หลังจากที่ราชสมบัติเป็นของพระเจ้าอุเทนแล้ว ข่าววิชาพิณเรียกช้างได้ไปเข้าหูราชาเมืองอุชเชนีคือ พระเจ้าจัณฑปัชโชต***

พระ เจ้าจันฑปัชโชต หรือ ปรัทโยตะ (Pradyota) ในภาษาสันสกฤตเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อวันตี (Avaanti Dynasty) โดยมีเมืองหลวงชื่อเมืองอุชเชนี (Ujjeni) หรืออุชชายินี (Ujjayini) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้อยู่ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย พระองค์มีนิสัยดุร้ายจนมีคำว่า จัณฑะ (ดุร้าย) นำหน้าทรงเอาแต่ใจตัวเอง มีทรัพย์สมบัติที่มั่นคั่งเมืองหนึ่ง ในสมัยนั้นเป็นมิตรสหายของพระเจ้าปรันตปะแห่งเมืองโกสัมพี ครั้งหนึ่งพระองค์ประชวรอย่างหนัก หมอทั่วราชอาณาจักรเข้ารักษาก็ไม่มีใครรักษาสำเร็จ จนได้หมอชีวกโกมารภัจจ์จากรุงคฤห์มาช่วยรักษาอาการจึงหายเป็นปกติ พระองค์มีพระธิดาที่เลอโฉมนาว่าวาสุลทัตตา หรือ วาสวทัตตา (Vasavadatta)   มีพาหนะวิเศษ5อย่างได้แก่ พังภัททวดี เดินทางได้วันละ50โยชน์(33.33กิโล/ชม.) นายกาก(กากะ)60โยชน์ต่อวัน(40กิโล/ชม.) ม้าเวลกังสิและม้ามุญชเกสิ100โยชน์ต่อวัน(66.67กิโล/ชม.)และพลายนาฬาคีรี 120โยชน์ต่อวัน(80กิโล/ชม.)

(สงสัยเพราะมีช้างคุมยากอย่างนาฬาคีรี เลยอยากเรียนมนต์สะกดช้าง)

   พระราชาจึงส่งคนไปลักพาตัวพระเจ้าอุเทมาสอนวิชาให้ แต่แม้จะถูกจับ ก็ไม่ยอมเสียหลี่ยม ตั้งกฎกติกาว่า
คนจะเรียนวิชาด้วยต้องทำความเคารพเชื่อฟังตนจึงจะสอนวิชาให้(แล้วค่อยสั่งให้ปล่อยตัวเขาหนีไป)
ด้วยความรู้ทันเหลี่ยม พระราชาไม่ยอมไปเรียนเองเลยส่งพระราชธิดาไปแทน(วาสุลทัตตาผู้เลอโฉม)
ด้วยการให้นั่งเรียนกั้นผ้าม่านไว้ไม่ให้คนทั้งสองเห็นกันและกัน ป้องกันปัญหาชู้สาว
แล้วบอกพระธิดาว่าอาจารย์ที่สอนเป็นโรคเรื้อนขี้เรื้อน
บอกเจ้าชายว่าคนที่มาเรียนเป็นหญิงสามัญหน้าตาน่าเกลียด

วันหนึ่งพระเจ้าอุเทสอนคาถาบทหนึ่งแก่พระธิดา พระธิดาก็จำไม่ได้สักที
พระองค์โมโหเลยด่าว่าหน้าตาอุบาทว์ไม่พอยังโง่อีกต่างหาก
เจ้าหญิงพอได้ฟังโกรธมากโต้ตอบกลับว่าแกเป็นใครมาว่าคนอย่างข้า ไอ้ขี้เรื้อน
พระเจ้าอุเทนเลยกระชากผ้าม่านออกพอเห็นหน้าตาอันสวยงามหล่อเหลาของกันและกัน
ทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกันทันที

อยู่ต่อมาออกอุบายพาเจ้าหญิงขี่ช้างพังภัททวดีหนีไปโดยพาพระเจ้าอุเทนไปด้วย อ้างว่าพระบิดาสั่งให้ทั้งคู่ไปเฝ้า
แต่เมื่อถึงทางแยกก็เลี้ยวไปทางโกสัมพี(ของพระเจ้าอุเทน)แทนที่จะไปเมืองอุชเชนี(ของพระบิดา)
พอทหารติดตามมาเจ้าชายก็หว่านเงินทองลงให้พวกที่ติดตามหยุดก้มเก็บเงิน จนตามช้างไม่ทัน
จนช้างเข้าเขตเมืองโกสัมพี และได้อภิเษกกับพระธิดาเป็นพระมเหสีเอกนับแต่นั้น
(เป็นอันว่าพระเจ้าจันฑปัชโชตเสียหน้า เสียช้าง แถมเสียลูกสาวอีก สามต่อ...)

*เพิ่มเติม* พระเจ้าอุเทนภายหลังได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง โดยจะสังเกตว่า
ลาย ในสัญลักษณ์คือ คนดีดพิณ หมายถึงพระเจ้าอุเทนดีดพิณเรียกช้าง เหมือนเรียกคนมาจ่ายภาษีให้รัฐ อีกอย่างหนึ่งคือ ชื่อและสัญลักษณ์ของ มทร.อุเทนถวาย ตามประวัติของสถาบัน และยังคงเรียกรุ่นในสถาบันตนว่า "ลูกพระอุเทน" จนถึงทุกวันนี้

อนุพุทธประวัติ ภาคแคว้นวังสะ (1)

 ก็อบมาจาก FB ของตัวเอง

จากที่ได้ฟังธรรม เทศนาเรื่อง “ความรักเอย เจ้ามาจากไหน” ที่ตึกดีแทค ชั้น 33 กันแล้ว ก็มีเรื่องเล่าที่เป็นหนึ่งในซีรี่ส์ต่อเนื่องในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นเนื้อที่หลวงพี่นำมาเล่าให้ฟังและขยายความนั่นเองครับ

ซีรี่ส์นี้ขอเรียกว่า อนุพุทธประวัติ ภาคแคว้นวังสะ
ลำดับเรื่องราว
เกริ่นนำแคว้น-ประวัติพระเจ้าอุเทน เจ้าชายพลัดถิ่น รู้มนต์เรียกช้าง
โกตุหลิก โฆสกเทวบุตร โฆสกเศรษฐี โฆสิตาราม
นางสามาวดี
นางหลังค่อมชื่อ ขุชชุตรา
พระเจ้าอุเทนและนางสามาวดี
นางมาคันทิยา ผู้ต่อว่าพระพุทธเจ้า
นางมาคันทิยากล่าวหานางสามาวดี เกาฑัณฑ์เปลี่ยนทิศ
นางมาคันทิยาเผาตำหนัก จุดจบของอสรพิษ
พระสงฆ์แตกกันเอง สังฆเภทครั้งที่ 1
ทรงโปรดพระอนุรุทธะจนเป็นพระอรหันต์
เรื่องปาลิไลยกะ
-----------------------------------------------------

โฆสกเศรษฐี
โฆสก เศรษฐี เป็นเศรษฐีมหาศาลแห่งกรุงโกสัมพีที่พระเจ้าอุเทนครองอยู่ ในชาติปางก่อน โฆสกเศรษฐี เป็นชายยาจกเข็ญใจอยู่ในแคว้นอัลลกัปปะ ต่อมาที่แคว้นนี้เกิดทุพภิกขภัยผู้คนอดยาก ชายเข็ญใจก็พาภรรยาและบุตรไปที่เมืองโกสัมพี ระหว่างทางเหนื่อยอ่อนและหิวกระหายไม่มีแรงอุ้มลูกไว้กลางทาง

เมื่อ เดินทางไปถึงเมืองโกสัมพี สองสามีภรรยาก็ไปขออาศัยทำงานรับจ้างที่บ้านพ่อค้าโค พ่อค้าโคก็ให้พักและกินอาหาร ระหว่างนั้นพ่อค้าปั้นข้าวปายาสอย่างดีให้สุนัขที่เลี้ยงไว้ ชายเข็ญใจเห็นเช่นนั้นก็นึกในใจว่า .“.สุนัขตัวนี้โชคดีหนอได้กินอาหารที่ดียิ่งกว่ามนุษย์เสียอีก” และด้วยความหิวชายเข็ญใจเป็นลมตายและไปเกิดในครรภ์ของสุนัขตัวนั้น

เมื่อ ลูกสุนัขเกิด พ่อค้าโคก็รักใคร่หาน้ำนมโคอย่างดีมาเลี้ยง และเมื่อพ่อค้าโคนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้ามาฉันอาหาร พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จะปั้นข้าวให้ลูกสุนัขด้วยความเมตตา จนสุนัขเติบใหญ่ สุนัขนั้นก็มีความรักให้พระปัจเจกพุทธเจ้ามาก ต่อมาพระปัจเจกพุทธเจ้าลาพ่อค้าโคไป สุนัขมีความอาลัยมาก ยืนเห่าอยู่จนพระปัจเจกพุทธเจ้าลับตาไป สุนัขก็หัวใจแตกตาย เมื่อตายไปกลายเป็นเทพบุตรที่มีเสียงอันดังจึงได้ชื่อว่า โฆสกเทพบุตร มีนางอัปสรแวดล้อม ๑,๐๐๐ นาง เป็นเทพบุตรผู้มีเสียงดังมากเพราะอานิสงส์การเห่าไล่สัตว์ร้ายให้พระปัจเจก พุทธเจ้า

ต่อมาโฆสกเทพบุตรต้องไปจุติในโลกมนุษย์ เสวยสมบัติอยู่ในเทวโลกไม่นาน มัวแต่เพลินบริโภคกามคุณจนลืมเสพอาหารทิพย์ จึงจุติไปเกิดเป็นบุตรหญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี ตามประเพณีของหญิงงามเมืองนี้ ถ้ามีลูกสาวก็จะเลี้ยงดูให้เป็นหญิงงามเมืองต่อ แต่ถ้าเป็นชายก็จะทิ้งไป เมื่อโฆสกเกิดเป็นชาย มารดาก็พาไปทิ้งที่กองขยะ มีหญิงคนหนึ่งเดินไปได้ยินเสียงเด็กแรกเกิดร้องก็เดินไปค้นหา พบเด็กน้อยนอนอยู่ในกองขยะจึงเกิดความเมตตารีบอุ้มไปพื่อจะนำไปเลี้ยง

เช้า วันนั้นเศรษฐีชาวเมืองโกสัมพีผู้หนึ่งดินทางไปเฝ้าพระราชา เมื่อปุโรหิตของพระราชา เศรษฐีถามปุโรหิตว่า .“วันนี้ดวงดาวเป็นอย่างไรท่านปุโรหิต” “ปุโรหิตตอบว่าดวงดาววันนี้ดีมาก เด็กที่เกิดวันนี้จะเป็นเศรษฐีมหาศาล ” เผอิญภรรยาของเศรษฐีก็ครรภ์แก่อยู่อาจจะคลอดในวันนี้พรุ่งนี้ เศรษฐีจึงรีบให้คนใช้กลับไปถามที่บ้านว่าภรรยาคลอดหรือยัง คนใช้รีบกลับไปถามแล้วมาบอกเศรษฐีว่ายังไม่คลอด เมื่อเศรษฐีกลับจากเฝ้าพระราชาไปถึงบ้านตอนเย็น ก็ให้นางกาลีคนรับใช้ไปสืบหาว่าใครคลอดลูกในวันนี้แล้วให้นำเงินหนึ่งพันกหา ปนะไปซื้อเด็กนั้นมา นางกาลีไปสืบจนพบหญิงที่เก็บโฆสกมาเลี้ยง เมื่อนางกาลีเห็นว่าเป็นเด็กที่เกิดวันนี้จึงรีบขอซื้อมาให้เศรษฐี เศรษฐีนึกในใจว่าถ้าลูกของเราที่จะเกิดมาเป็นหญิงก็จะให้แต่งงานกับเด็กคน นี้ แต่ถ้าลูกของเราเป็นชายเราก็จะฆ่าเด็กคนนี้เสีย เมื่อภรรยาเศรษฐีคลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีให้นางกาลีนำไปฆ่าด้วยวิธีต่างๆ
ถูกทิ้งถูกฆ่าซ้ำแล้วซ้ำอีก

เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปวางขวางกลางประตูคอกโค หวังจะให้แม่โคเหยียบให้ตายตอนนายโคบาลปล่อยโคออกจากคอก แต่โคนายฝูงออกมายืนคร่อมทารกไว้ไม่ให้ทารกถูกแม่โคตัวอื่นเหยียบ นายโคบาลสังเกตเห็นผิดปกติที่โคนายฝูงปกติจะออกจากคอกหลังสุด แต่วันนี้กลับออกจากคอกก่อน แถมยังยืนนิ่งขวางทางอยู่จึงเดินไปดู เมื่อเห็นทารกนอนอยู่ก็เกิดความรักนำกลับไปเลี้ยงดู เศรษฐีรู้ว่านายโคบาลนำทารกไปเลี้ยงจึงให้นางกาลีไปไถ่ตัวกลับมาด้วยทรัพย์ พันหนึ่ง
เศรษฐีสั่ง ให้นางกาลีนำทารกไปวางขวางทางขบวนเกวียน ๕๐๐ เล่มที่พ่อค้าขับไปค้าขายแต่เช้ามืด แต่โคนำขบวนกลับหยุดขวางทางไว้ไม่ยอมลากเกวียนไปต่อ หัวหน้าขบวนเกวียนรอจนฟ้าสว่างจึงเห็นว่ามีทารกนอนอยู่ เขาจึงนำทารกกลับไปเลี้ยง แต่เศรษฐีก็ให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ หวังจะให้ทารกถูกสุนัขป่าหรืออมนุษย์ฆ่าให้ตาย ครั้งนั้นนายอชบาลต้อนฝูงแพะหลายแสนตัวผ่านมา แม่แพะตัวหนึ่งหยุดให้นมทารก นายอชบาลเห็นจึงนำทารกกลับไปเลี้ยง เศรษฐีรู้จึงให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
เศรษฐี สั่งให้นางกาลีนำทารกไปทิ้งที่เหวทิ้งโจร แต่ทารกก็ปลอดภัยเพราะตกลงบนพุ่มไม้ไผ่ หัวหน้าช่างจักสานมาตัดไม้ไผ่พบเข้าจึงพากลับไปเลี้ยง เศรษฐีรู้จึงให้นางกาลีไปขอไถ่ตัวกลับมาอีกด้วยทรัพย์พันหนึ่ง
เศรษฐีพยายามฆ่าเด็กหลายครั้งแต่ไม่ตาย จึงจำต้องเลี้ยงไว้จนเติบใหญ่ มีชื่อว่า โฆสกะ

    ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
เศรษฐี จำใจเลี้ยงโฆสกะ อยู่ในบ้านจนโต เศรษฐีก็คิดแค้นอยู่ตลอดเวลาวันหนึ่งเศรษฐีคิดถึงเพื่อนที่เป็นนายช่างหม้อ จึงหาทางกำจัดโฆสกจึงบอกโฆสกให้นำหนังสือไปให้ช่างหม้อ จดหมายนั้นบอกว่า “ ฉันมีลูกชาติชั่ว ถ้าลูกคนนี้มาพบท่าน ท่านจงเอามีดตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ใส่ในตุ่มแล้วนำไปเผาในเตา แล็วเราจะให้รางวัลท่านหนึ่งพันกหาปนะ ” ขณะที่โฆสกเดินถือจดหมายไปพบลูกเศรษฐีกำลังเล่นคลีอยู่กับเพื่อนๆ ลูกเศรษฐีกำลังเล่นแพ้พอเห็นโฆสกก็เรียก “ พี่โฆสก มาช่วยเล่นด้วย ฉันกำลังแพ้ ” โฆสกตอบว่า “ไม่ได้พี่ต้องนำจดหมายด่วนของพ่อไปให้ช่างหม้อ” ลูกเศรษฐีจึงอาสาว่า “ฉันจะนำจดหมายไปให้นายช่างหม้อเอง”
ตอนเย็น เศรษฐีเห็นโฆสกจึงร้องถามว่า “เจ้ายังไม่ได้เอาจดหมายด่วนของพ่อไปให้ช่างหม้อหรือ?” โฆสกตอบว่า “น้องให้ฉันเล่นคลีแทน แล้วน้องถือจดหมายของพ่อไปให้ช่างหม้อ” เศรษฐีได้ฟังใจหายวาบ รีบวิ่งไปที่บ้านช่างหม้อ พอช่างหม้อเห็นหน้าเศรษฐีก็ร้องบอกว่า “เรื่องที่ท่านสั่งมานั้นเราทำสำเร็จแล้ว” เศรษฐีก็ป็นลมด้วยความเสียใจ
หลัง จากนี้เศรษฐีก็พยายามฆ่าโฆสกด้วยวิธีต่างๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ จนโฆสกเติบโตเป็นหนุ่ม เศรษฐีก็มิให้ร่ำเรียน โฆสกจึงอ่านหนังสือไม่ออก


โฆสกะแต่งงาน
เศรษฐี แค้นโฆสกะมากยิ่งขึ้นครุ่นคิดหาวิธีจะฆ่าโฆสกะให้ได้ จึงออกอุบายให้โฆสกะไปส่งจดหมายให้คนเก็บส่วยในชนบท โฆสกะบอกว่าตนยังไม่ได้กินข้าวเลย เศรษฐีบอกว่าระหว่างทางในชนบทมีเรือนของคามิกเศรษฐีซึ่งเป็นเพื่อนกัน ให้โฆสกะแวะกินข้าวที่เรือนนั้น โฆสกะไม่รู้หนังสือจึงเอาจดหมายผูกชายผ้าเดินทางไป
    เมื่อเดิน ทางถึงเรือนคามิกเศรษฐี โฆสกะจึงแวะเข้าไปหาภรรยาคามิกเศรษฐีแนะนำตัวเองว่าชื่อโฆสกะเป็นบุตรของ เศรษฐีในเมืองชื่อโฆสกะ ภรรยาเศรษฐีรู้สึกเมตตาจึงจัดข้าวปลาอาหารให้กิน และให้นางทาสีพาโฆสกะไปนอนพักผ่อน
    นางทาสีคนนั้นเป็นทาสีของ ธิดาเศรษฐี เมื่อนางจัดเตรียมที่นอนให้โฆสกะเรียบร้อยแล้วจึงไปรับใช้ธิดาเศรษฐีตามปกติ ธิดาเศรษฐีถามว่าทำไมวันนี้นางทาสีจึงมาช้านัก นางทาสีบอกว่านายหญิงให้ไปจัดที่นอนให้แขกคนหนึ่งเป็นชายหนุ่มรูปหล่อชื่อ โฆสกะ
    พอธิดาเศรษฐีได้ยินชื่อ โฆสกะ นางก็บังเกิดความรักเฉือนเข้าไปถึงกระดูก เพราะธิดาเศรษฐีนี้คือนางกาลีอดีตภรรยาโฆสกะเมื่อครั้งที่เป็นนายโกตุหลิก นั่นเอง ความรักของนางเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน
    ธิดา เศรษฐีแอบไปดูโฆสกะ ที่นอนหลับอยู่ และหยิบหนังสือที่ชายผ้าเปิดอ่าน ในหนังสือนั้นบอกว่า“ผู้ถือหนังสือนี้เป็นลูกชาติชั่วของเรา ขอให้ท่านจงโยนลงภูเขาให้ตายถ้าท่านทำสำเร็จ เราจะให้รางวัลอย่างงาม” ธิดาคามิกเศรษฐีพอรู้ว่าโฆสกะถูกหลอกไปฆ่าจึงคิดวิธีช่วยเหลือ จัดการแปลงสารด้วยข้อความใหม่

    “ลูกชายของเราคนนี้ชื่อ โฆสกะ ท่านจงทำธุระให้เขาทำการมงคลกับธิดาคามิกเศรษฐีด้วย บรรณาการจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ปลูกเรือน ๒ ชั้นให้เป็นที่อยู่ สร้างรั้วให้แข็งแรงและจัดเวรยามดูแลให้ดี แล้วส่งข่าวกลับไปบอกด้วยว่าท่านทำการเสร็จแล้ว เราจักสมนาคุณท่านในภายหลัง”
    เมื่อแปลงสารเสร็จแล้ว ธิดาเศรษฐีก็พับจดหมายคืนที่เดิม
    วัน รุ่งขึ้น โฆสกะเดินทางต่อจนถึงเรือนของนายส่วย เมื่อได้อ่านจดหมายแล้ว นายส่วยจึงจัดงานอาวาหมงคลให้โฆสกะกับธิดาคามิกเศรษฐี แล้วส่งข่าวให้เศรษฐีโกสัมพีทราบว่างานที่สั่งให้ทำสำเร็จแล้ว


เศรษฐีล้มป่วยเพราะความแค้น
เศรษฐี อ่านจดหมายนายส่วยจบก็เสียใจและแค้นใจ บุตรชายตัวเองหวังจะให้เป็นมหาเศรษฐีก็มาตาย ส่วนโฆสกะพยายามฆ่ามาหลายครั้งไม่เคยสำเร็จ ด้วยความแค้นและความเสียใจสุมเต็มอกเศรษฐีจึงล้มป่วยลงด้วยโรคลงแดง

เศรษฐี ตั้งใจว่าจะไม่ยอมยกสมบัติของตัวเองให้โฆสกะอย่างเด็ดขาด จึงส่งคนรับใช้ให้ไปตามโฆสกะมาหา แต่ภรรยาโฆสกะคอยดักไว้ไม่ให้พบ นางถามถึงอาการเศรษฐีว่าเป็นอย่างไรบ้าง คนรับใช้บอกว่ายังมีกำลังดีอยู่ นางจึงจัดที่พักให้บอกว่าให้อยู่ที่นี่ก่อนอย่าเพิ่งกลับ
เศรษฐีส่งคนรับใช้ไปอีก ภรรยาโฆสกะก็จัดที่พักให้เหมือนคนก่อน
    จน ถึงคนรับใช้คนที่สามมาบอกว่าเศรษฐีอาการเพียบหนักใกล้ตายแล้ว ภรรยาโฆสกะจึงบอกให้สามีเตรียมบรรณาการจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ใส่เกวียนไปเยี่ยมเศรษฐี


    เมื่อไปถึงเรือนเศรษฐี ภรรยาบอกให้โฆสกะไปยืนทางปลายเท้า ส่วนนางยืนทางด้านศีรษะ เศรษฐีเห็นโฆสกะ มาแล้วจึงเรียกเสมียนมาถามว่า ในเรือนของฉันมีทรัพย์อยู่เท่าไร นายเสมียนตอบว่ามีทรัพย์อยู่ ๔๐ โกฏิ และเครื่องอุปโภคบริโภคบ้าน นา สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ยานพาหนะ มีอีกจำนวนหนึ่ง
เศรษฐีจะประกาศว่า
    “ฉันไม่ให้ทรัพย์แก่โฆสกะ”
    แต่ด้วยอาการไข้หนักเศรษฐีกลับพูดผิดว่า
    “ฉันให้..”
    ภรรยา โฆสกะที่รอท่าอยู่พอได้ยินเศรษฐีพูดเพียงเท่านี้ นางเกรงว่าเศรษฐีจะพูดคำอื่นอีกจึงแสร้งทำเป็นเศร้าโศก โถมศีรษะลงกลิ้งเกลือกบนอกเศรษฐี แสดงอาการร้องไห้คร่ำครวญจนเศรษฐีไม่อาจพูดได้อีก แล้วเศรษฐีก็ขาดใจตาย

ภรรยา โฆสกเศรษฐีเล่าให้นางกาลีฟังว่า เพราะนางแอบแปลงจดหมาย วันนี้โฆสกะจึงได้ตำแหน่งเศรษฐี นางกาลีก็เล่าให้นางฟังบ้างว่าเศรษฐีพยายามฆ่าโฆสกะมาแล้วหลายครั้งตั้งแต่ ยังเป็นทารก ใช้ทรัพย์ไปมากมายแต่ก็ไม่สามารถฆ่าโฆสกะได้ พอรู้ดังนั้นแล้วภรรยาโฆสกะจึงหัวเราะ
โฆสกเศรษฐีเข้าเรือนมา เห็นภรรยาหัวเราะจึงถามว่าหัวเราะอะไร ภรรยาไม่ยอมบอก โฆสกเศรษฐีชักดาบขู่ว่าถ้าไม่บอกเราจะฟันให้ขาดเป็น ๒ ท่อน ภรรยาจึงบอกว่า สมบัติทั้งหลายนี้ท่านได้มาเพราะดิฉัน
    แล้วภรรยาก็เล่าเรื่อง ราวให้สามีฟัง โฆสกเศรษฐีไม่เชื่อ ภรรยาจึงให้นางกาลีมายืนยันอีกคน ฟังแล้วโฆสกเศรษฐีจึงคิดว่า เราทำกรรมหนักไว้หนอจึงได้ผลเช่นนี้ ต่อไปเราจะไม่เป็นผู้ประมาทอีก
    คิดดังนั้นแล้ว เศรษฐีจึง ให้ตั้งโรงทาน สละทรัพย์วันละพันเพื่อสงเคราะห์คนเดินทางไกลและคนกำพร้า มอบหมายให้ นายมิตตะ เป็นผู้ดูแลโรงทาน อีกทั้งยังถวายภัตแด่พระดาบส ๕๐๐ รูป ในป่าหิมพานต์ใกล้กรุงโกสัมพีเป็นประจำ
โฆสกเศรษฐีมีลูกบุญธรรมชื่อ สามา ต่อมาคือพระนางสามาวดี ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในบทต่อไป
credit [Format] มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=1003
โปรดติดตามตอนต่อไป

สำหรับใช้อ้างอิงพระไตรปิฎก


..............................................................
คัมภีร์พระไตรปิฎก
ชื่อย่อคัมภีร์พระไตรปิฎก.เล่ม/หน้าบาลี๑(ไทย)๒/ข้อ
...............................................................
คัมภีร์อื่นๆ
ชื่อคัมภีร์อื่น เล่ม/หน้าบาลี(แปล)
.........................................................
เช่น

ขุ.ธ. ๒๕/๓๘(๖๕)/๑๑๓ , อรรถกถาบาลี(แปล) ๑๗(๑.๒.๒)/๗๒๖(๔๙๗)

คือ พระสุตตันตปิฎก

  ๑-๔      วินย.ม. ๔/๑๕(๒๐)/๑๓  ,  สํ.ม. ๑๙/๕๑๙(๕๙๒)/๑๐๘๑ , ขุ.ป. ๓๑/๔๖๗(๔๘๒)/๕๙๘
          ๕      ที.ม. ๑๐/๓๒๑(๓๐๑)/๓๗๓ , ม.มู. ๑๒/๙๐(๑๐๑)/๑๐๖ , อภิ.ก. ๓๗/๑๖๒(๒๔๐)/๓๐๓
          ๖      ขุ.ธ. ๒๕/๖๙(๑๑๗)/๒๗๓–๒๗๖
          ๗      ขุ.เถร. ๒๖/๔๔๘(๕๐๐)/๙๘๐ , ขุ.อป. ๓๒/๙(๑๒)/๘๐
          ๘      ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗(๒๔๔)/๓๖ , ที.ม. ๑๐/๕๗(๕๐)/๙๐
          ๙      ขุ.ธ. ๒๕/๕๘(๙๘)/๒๑๓
        ๑๐     อรรถกถาบาลี๓(แปล)๔ ๑๗(๑.๒.๒)/๗๒๔(๔๙๕)
        ๑๑     ขุ.ธ. ๒๕/๗๒(๑๒๒)/๒๘๘–๒๘๙ , อรรถกถาบาลี(แปล) ๑๗(๑.๒.๒)/๗๒๕(๔๙๖)
        ๑๒     ขุ.ธ. ๒๕/๓๘(๖๕)/๑๑๓ , อรรถกถาบาลี(แปล) ๑๗(๑.๒.๒)/๗๒๖(๔๙๗)
        ๑๓     ขุ.ธ. ๒๕/๑๕(๒๓)/๑,๒
        ๑๔     สํ.ส. ๑๘/๒๕๕(๒๗๓)/๒๕๓ , ขุ.อิ. ๒๕/๓๐๒(๔๐๖)/๕๓
        ๑๕    ขุ.ม. ๒๙/๑๗๒(๑๙๒)/๕๗
        ๑๖     ขุ.ธ. ๒๕/๕๐(๘๘)/๑๗๖
        ๑๗     ขุ.ธ. ๒๕/๕๗(๙๗)/๒๐๗
        ๑๘     ขุ.ธ. ๒๕/๕๗(๙๖–๙๗)/๒๐๖–๒๐๗
        ๑๙     ขุ.ธ. ๒๕/๘๐(๑๓๕)/๓๒๘
         ๒๐   ขุ.ธ. ๒๕/๕๗(๙๗)/๒๐๘
         ๒๑   อรรถกถาบาลี(แปล) ขุ.ป. ๔๐(๗.๑)/๓๕(๖๐)/๘(อาทีน.) , วิสุทธิมรรคบาลีคอม.๕(แปล) ๖
                  ๕๙(๓)/๒๙๘–๒๙๐(๗๕๑–๗๕๒)
         ๒๒  ขุ.ธ. ๒๕/๘๔(๑๔๑)/๓๔๘
         ๒๓  ขุ.ธ. ๒๕/๘๒(๑๓๘)/๓๓๘
         ๒๔  ขุ.ธ. ๒๕/๘๘–๘๙(๑๔๘–๑๔๙)/๓๖๙–๓๗๐
         ๒๕  สํ.ส. ๑๘/๑๖๙–๑๗๐(๑๘๔–๑๘๕)/๑๕๑


หมายเหตุ ชื่อคัมภีร์                 
                . พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสังคายนา พ.ศ.๒๕๓๐(ทยฺยรฏฺฐสฺส สงฺคีติเตปิฏกํ ๒๕๓๐ พุทฺธวสฺเส)
                . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๙
                . อรรถกถาบาลี ฉบับสยามรัฐ มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๕ (สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกฏฺกถา)
                . พระสูตร และ อรรถกถา(แปล) มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๒๕
                . พระวิสุทธิมรรคบาลี (พระไตรปิฎก และ อรรถกถา ฉบับคอมพิวเตอร์ BUDSIR IV ม.มหิดล)
                . พระวิสุทธิมรรคแปล(เล่มเดียวจบ) มหาวงศ์ ชาญบาลี โรงพิมพ์ธรรมบรรณาคาร พ.ศ.๒๕๒๗


อักษรย่อชื่อคัมภีร์

อักษรย่อบอกนามคัมภีร์ (เฉพาะที่ใช้อ้างอิงพุทธสุภาษิต)
อง.     อฏฐก.                              องคุตตรนิกาย                    อฏฐกนิปาต
อง.     จตุกก.                                        "                            จตุกกนิปาต
อง.     ฉกก.                                         "                            ฉกกนิปาต
อง.     ติก.                                           "                            ติกนิปาต
อง.     ทสก.                                         "                            ทสกนิปาต
อง.     ปญจก.                                       "                            ปญจกนิปาต
อง.     สตตก.                                       "                             สตตกนิปาต
ขุ.       อิติ.                                 ขุททกนิกาย                        อิติวุตตก
ขุ.       อุ.                                             "                            อุทาน
ขุ.       ขุ.                                             "                            ขุททกปาฐ
ขุ.       จริยา.                                        "                            จริยาปิฏก
ขุ.       จู.                                             "                            จูลนิทเทส
ขุ.       ชา อฏฐก.                                "        ชาตก            อฏฐกนิปาต
ขุ.       ชา.    อสีติ.                                "             "              อสีตินิปาต
ขุ.       ชา.   เอก.                                   "             "             เอกนิปาต
ขุ.       ชา.   จตตาฬีส.                            "             "              จตตาฬีสนิปาต
ขุ.       ชา.   จตุกก.                                "             "              จตุกกนิปาต
ขุ.       ชา.   ฉกก.                                  "             "              ฉกกนิปาต
ขุ.       ชา.   ตึส.                                   "             "              ตึสนิปาต
ขุ.       ชา.   ติก.                          ขุททกนิกาย    ชาตก            ติกนิปาต
ขุ.       ชา.   เตรส.                                 "            "              เตรสนิปาต
ขุ.       ชา.   ทวาทส.                              "           "              ทวาทสนิปาต
ขุ.       ชา.   ทสก.                                 "            "              ทสกนิปาต
ขุ.       ชา.   ทุก.                                   "            "              ทุกนิปาต
ขุ.       ชา.   ทุก.                       ขุททกนิกาย       ชาตก           ทุกนิปาต
ขุ.       ชา.   นวก.                                    "           "             นวกนิปาต    
ขุ.       ชา.   ปกิณณก.                            "            "              ปกิณณกนิปาต
ขุ.       ชา.   ปญจก.                               "            "              ปญจกนิปาต
ขุ.       ชา.   ปญญาส.                             "            "              ปญญาสนิปาต
ขุ.       ชา.   มหา                                 "            "              มหานิปาต
ขุ.       ชา.   วีส.                                    "            "              วีสตินิปาต
ขุ.       ชา.   สฏฐิ.                                  "            "              สฏฐินิปาต
ขุ.       ชา.   สตตก                              "            "              สตตกนิปาต
ขุ.       ชา.   สตตติ.                               "            "              สตตตินิปาต
ขุ.       เถร.                                           "                            เถรคาถา
ขุ.       เถรี.                                           "                            เถรีคาถา
ขุ.       .                                             "                            ธมมปทคาถา
ขุ.       ปฏิ.                                           "                            ปฏิสมภิทามคค
ขุ.       พุ.                                             "                            พุทธวํส
ขุ.       มหา.                                         "                            มหานิทเทส
ขุ.       สุ.                                   ขุททกนิกาย                       สุตตนิปาต
ที.      ปาฏิ.                                   ทีฆนิกาย                        ปาฏิกวคค
ที.      มหา.                                         "                            มหาวคค
.       อุป.                                  มชฌิมนิกาย                      อุปริปณณาสก
.       .                                             "                            มชฌิมปณณาสก
สํ.       นิ.                                   สํยตตนิกาย                       นิทานวคค
สํ.       มหา.                                         "                            มหาวารวคค
สํ.       .                                             "                            สคาถวคค
สํ.       สฬ.                                      สํยตตนิกาย                     สฬายตนวคค
.       .                                    สวดมนต์ฉบับหลวง              ( พิมพ์ครั้งที่ ๕ )
- / -                                         เลขหน้าขีดบอกเล่ม             เลขหลังขีดบอกหน้า

 ต.ย.2
1. สมมติเหตุการณ์ว่า  ท่านผู้อ่านได้อ่านหนังสือพุทธธรรม ของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า ๘๑๐  พบบทความที่น่าสนใจที่กล่าวไว้ในหนังสือ  และท่านต้องการค้นหาจากพระไตรปิฎกเล่มจริง
     " ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ " มาจาก ที.ม. 10/273/325


       การที่ค้นหาบทความอ้างอิงต้องหา่ว่าบทความอ้างอิงมาจากไหนเช่น
        พระไตรปิฎกฉบับ ? เล่มที่ ?     ข้อที่ ?       หน้า ?

      บทความ " ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ "
      ที.ม. 10/273/325  หมายถึง  เล่มที่ 10  ข้อที่ 273 หน้าที่ 325 
      ให้ดูที่พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ 45 เล่ม

วิธีอ่านเชิงอรรถ 
ตัวอย่าง ปฐมอคติสูตร อัง. จตุก. มก. 35 / 17 / 48

          1ชื่อพระสูตร
          2 อักษรย่อชื่อคัมภีร์
          3 พระไตรปิฏกฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย
          4เล่มที่
          5 ข้อที่
          6 หน้าที่

Buddhist Daily Chanting Verse


Buddhist  Daily Chanting Verse

WORSHIP TO THE TRIPLE GEM
 Imina Sakkarena, Tam Buddham Abhipujayami
With this offering, I worship the Buddha.
Imina Sakkarena, Tam Dhammam Abhipujayami
With this offering, I worship the Dhamma.
Imina Sakkarena, Tam Sangham Abhipujayami
With this offering, I worship the Sangha.


SALUTATION TO THE TRIPLE GEM
Araham samma sambuddho bhagava, Buddham bhagavantam abhivademi.
The Buddha is the Blessed One, the all enlightened One, The Holy One, I pay homage to that Buddha.
(Make a prostration to show respect)
Svakkhato bhagavata dhammo, Dhammam namassami.
Well-preached the teaching of the Buddha, I pay homage to that Dhamma.
(Make a prostration to show respect)
Supatipanno bhagavato savakasangho, Sangham namami.
Well behaved the Noble Diseiples of the Buddha, I pay homage to that Sangha.
(Make a prostration to show respect)

SALUTATION TO THE TRIPLE GEM.
(PALI)
Araham Samma Samsambhuddo Bhagava,
Buddham Bhagavantam Abhivademi.
(Make a prostration to show respect)
Svakkhato Bhagavata Dhammo,
Dhammam Namassami,
(Make a prostration to show respect)
Supatipanno Bhagavato Savakasangho,
Sangham Namami.
(Make a prostration to show respect)

SALUTATION TO THE TRIPLE GEM (TRANSLATION)
Homage to Him, the Buddha, the Blessed One, the Holy One, the all
Enlightened One.
(Make a prostration to show respect)
Homage to the Dhamma, the Noble Doctrine, well-preached
by the Blessed One.
(Make a prostration to show respect)
Homage to the Sangha, the Noble Bhikkhus of the Blessed One.
(Make a prostration to show respect)


SALUTATION TO THE BUDDHA (PALI)
Leader: Handa mayam buddhassa bhagavato pubbabhaganamakaram
karoma se.
All: Namo tassa bhagavato arahato samma sambuddhassa.
Namo tassa bhagavato arahato samma sambuddhassa.
Namo tassa bhagavato arahato samma sambuddhassa.

SALUTATION TO THE BUDDHA (TRANSLATION)
Leader: Let us pay preliminary homage to our Load, the Buddha,
the Blessed One.
All: Homage to Him, the Blessed One, the Holy One, the Enlightened One.
Homage to Him, the Blessed One, the Holy One, the Enlightened One.
Homage to Him, the Blessed One, the Holy One, the Enlightened One.



MORNING CHANTING (PALI)



PRAISE TO THE BUDDHA (PALI)
Leader: Handa mayam Buddhabhithutim Karoma Se.
All: Yo so tathagato araham sammasambuddho,
Vijjacaranasampanno Sugato Lokavidu,
Anuttaro Purisadammasarathi
Sattha Devamanussanam Buddho Bhagava,
Yo imam lokam sadevakam samarakam sabrahmakam,
Sassamanabrahmanim Pajam Sadevamanussamsayam
Abhinna sacchikattava pavedesi
Yo dhammam desesi adikalyanam majjhekalyanam
Pariyosanakalyanam satthamsabyanjanamkevalaparipunnam
Parisuddham drahmacariyam pakasesi,
 Tamaham Bhagavantam abhipujayami
 Tamaham Bhagavantam sirasa namami
(Make a prostration to show respect)



PRAISE TO THE BUDDHA (TRANSLATION)
Leader: Let us now chant our praise the the Buddha.
All: He is the Great Being, the Holy One, the All-Enlightened one, Perfect in knowledge and conduct, Well-gone, World knower, Supreme Trainer of those that can be trained, Teacher of gods and men, the Awakend One, the Blessed One. He, having attained Enlightenment himself, has proclaimed the Path of Enlightenment of mankind, to gods, to Mara the Evil one, to the world of Brahma, (that is to say) to sentiment beings including the Samana which noble in the beginning, noble in the middle, noble in the end, with respect to the meaning and wording. He has declared the life of chastity, which is absolutely perfect as well as purified. Hereby I beg to worship Him the Blessed One. With my head I bed to pay homage to Him, the Blessed One.


PRAISE TO THE DHAMMA (PALI)
Leader: Handa mayam Dhammabhithutim karoma se.
All: Yo so Svakkhato bhagavata dhammo, sanditthiko, akaliko, ehipassiko, Opanayiko, paccattam veditabbho vinnuhiti.
Tamaham dhammam abhipujayami
 Tamaham dhammam sirasa namami
(Make a prostration to show respect)

PRAISE TO THE DHAMMA (TRANSLATION)
Leader: Let us now chant our praise to the Dhamma.
All: That Doctrine, well preached by the Blessed One, giving results visible, immdediate, exemplary, and to be individually experienced by the virtuous ones. Hereby, I bed to worship the Dhamma. With my head, I bed to pay homage to the Dhamma.
(Make a prostration to show respect)


PRAISE TO THE SANGHA (PALI)
Leader: Handa mayam sanghabhithutim karoma se.
All: Yo so Supatipanno bhagavato savakasanggho,
 Ujupatipanno bhagavato savakasanggho,
 Nayapatipanno bhagavato savakasanggho,
 Samicipatipanno bhagavato savakasanggho,
 Yadidam cattari purisayugani attha purisapuggala,
Esa bhagavato savakasanggho, ahuneyyo, pahuneyyo, takkhineyyo, uncharigarneyyo, anuttaram, poonyagkettam, roghassat
Tamaham sangkam abhipujayami
Tamaham sangkam sirasa namami
(Make a prostration to show respect)


PRAISE TO THE SANGHA (TRANSLATION)
Leader: Let us now chant our praise to the Sangha.
All: Of good conduct is the Order of the Blessed One. Of upright conduct is the Order of the Blessed One. Of noble conduct is the Order of the Blessed One. Of dutiful conduct is the Order of the Blessed One. This Order is thus composed of the four pairs of the Noble Disciples, constituting the eight categories of the Holy Ones. This is the Order of the Blessed One, which is worthy of offerings, worthy of welcome, worthy of obligations, worthy of respectful salutation, being like and excellent field to sow the seeds of merit on. I hereby bed to worship the Sangha. With my head I beg to pay homage to the Sangha.
(Make a prostration to show respect)
***********
“Ekayano ayam bhikkave sattanam visuddhiya, sokaparidevanam samatikkamaya, dukkhadomanassanam, Nanassa adhigamaya, nibbhanassa sacchikiriya yadidam cattaro satipatthana”
“Look, you who find the cycle of rebirth harmful, the foundations of
mindfulness are the only way to the purification of all beings, the extinction of all sorrows and lementation, the end of all suffering and grief, and the attainment of nibbhana”
(Mahasatipatthana Sutta)




EVENING CHANTING (PALI)


PRAISE TO THE BUDDHA (PALI)
Leader: Handa mayam Buddhanussatinayam Karoma Se.
All: Itipi So Bhagava Araham Samma Sambuddho Vijjacaranasampanno Sugato Lokavidu Anuttaro Purisadammasarathi Sattha Devamanussanam Buddho Bhagavati.
(Make a prostration to show respect)
Kayena vacaya va cetasa va,
Buddhe Kukammam pakatam maya yam
Buddho patigganhatu accayantam,
Kalantare samvaritum va Buddhe.


PRAISE TO THE BUDDHA (TRANSLATION)
Leader: Let us now recit the hymn of recallection of the Lord Buddha.
All: The Lord Buddha is the Holy One, the All-Enlightened One, Perfect in know-ledge and conduct, Well-fair maker, world knower, Supreme Trainer, Teacher of gods and men, the Awakened, the Blessed One. (Make a prostration to show respect)
Whatever misdeeds I have done towards the Buddha, Whether they were physical, or verbal or mental. May that offence be pardoned by the Buddha for the Sake of later restrain towards the Buddha.


PRAISE TO THE DHAMMA (PALI)
Leader: Handa mayam Dhammanussatinayam karoma se.
All: Svakkhato bhagavata dhammo, sanditthiko, akaliko, ehipassiko, Opanayiko, paccattam veditabbho vinnuhiti. (A moment’ pause for the mental recapitulation of the above mentioned points)
(Make a prostration to show respect)
Kayena vacaya va cetasa va
Dhamme kukammam pakatam maya yam.
Dhammo patigganhatu accayantam,
Kalantare samvaritum va dhamme.


PRAISE TO THE DHAMMA (TRANSLATION)
Leader: Let us now say our salutation to the Dhamma.
All: The Doctrine, well-preached by the Blessed One, giving results visible, immediate, exemplary, introspective and individually experienced by the virtuous ones.
(Make a prostration to show respect)
Whatever misdeeds I have done towards the Dhamma, whether they were physical, verbal or mental, may that offence be pardoned by the Dhamma, for the sake of later restraint towards the Dhamma.

PRAISE TO THE SANGHA (PALI)
Leader: Handa mayam sanghanussatinayam karoma se.
All: Supatipanno bhagavato savakasanggho,
 Ujupatipanno bhagavato savakasanggho,
 Nayapatipanno bhagavato savakasanggho,
 Samicipatipanno bhagavato savakasanggho,
 Yadidam cattari purisayugani attha purisapuggala,
Esa bhagavato savakasanggho, ahuneyyo, pahuneyyo, takkhineyyo, uncharigaraneyyo, anuttaram, poonyagkettam, roghassati.
(Make a prostration to show respect)
Kayena vacaya va cetasa va
Sanghe kukammam pakatam maya yam.
Sangho patigganhatu accayantam,
Kalantare samvaritum va Sanghe.


PRAISE TO THE SANGHA (TRANSLATION)
Leader: Let us now say our salutation to the Sangha.
All: Of good conduct is the Order of the Blessed One. Of upright conduct is the Order of the Blessed One. Of virtuous conduct is the Order of the Blessed One. Of dutiful conduct is the Order of the Blessed One. This Order is thus composed of the four pairs of the Holy Disciples, constituting the eight categories of the Holy One. This is the Order of the Blessed One, which is worthy of offerings, worthy of welcome, worthy of obligations, worthy of respectful salutation, being like an excellent field to sow the seeds of merit on. (Make a prostration to show respect)
Whatever misdeeds I have done towards the Sangha, whether they were physical, verbal or mental, may that offence be pardoned by the Sangha, for the sake of later restraint towards the Sangha.



RADIATION OF LOVING KINDNESS
(To one’ own self)
Aham Sukhito homi: May I be happy.
Niddukkho homi: May I be free from suffering.
Avero homi: May I be free from enmity.
 Abyapajjho homi: May I be free from hurtfulness.
 Anigho homi: May I be free from troubles of body and mind.
 Sukhi attanam pariharami: May I be able to protect my own happiness.
(To all beings)
 Sabbe satta: Whatever beings there are,
 Sukhita hontu: May they be happy.
 Niddhukka hontu: May they be free from suffering.
 Avera hontu: May they be free from enmity.
 Abyapajjha hontu: May they be free from hurtfulness.
 Anigha hontu: May they be free from troubles of body and mind.
 Sukhi attanam pariharantu: May they be able to protect their own
happiness.

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

กรรมดี - ชั่ว ฉบับยิบย่อย

กรรมดี - ชั่วของมนุษย์

๑. การทำสกปรก ไม่ว่าจะปล่อยปละละเลยให้ร่างกาย สกปรก ทำให้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม บ้านเรือนที่อยู่อาศัย อาหาร และสิ่งของในบ้านสกปรก เลอะเทอะ ฯลฯ จัดเป็นกรรมชั่ว ต้องรีบป้องกันแก้ไข

๒. การจัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ไม่เป็นระเบียบ เช่น เล่นของเล่นแล้วไม่เก็บ ตื่นแล้วไม่เก็บที่นอน ไม่จัดวางถ้วย จาน ช้อน ชามเป็นหมวดหมู่ให้หยิบใช้ง่าย ไม่วางรองเท้า โต๊ะ เก้าอี้ไว้ในที่ ไม่ตาก - เก็บ - พับผ้าที่ซักแล้วให้เรียบร้อย ฯลฯ จัดเป็นกรรมชั่ว

๓. ความไม่สุภาพทางกาย - วาจา เช่น การพูดคำหยาบ การพูดห้วนๆ การเดินลงส้น การกระทืบเท้า การปิดประตูใส่หน้าผู้อื่น การขว้างปา ทุบสิ่งของเมื่อโกรธ การกระฟัดกระเฟียดเมื่อถูกเตือน ท่ายืน - เดิน - นั่ง - นอนไม่สุภาพ การแต่งตัวไม่สุภาพ การข้ามกราย ผู้อื่น ฯลฯ จัดเป็นกรรมชั่ว

๔. การไม่ตรงต่อเวลาเรื่องการนอน - ตื่น - กิน - อาบน้ำ - เรียน - เล่น - ทำการบ้าน การอั้นอุจจาระ - ปัสสาวะโดยไม่จำเป็น ฯลฯ จัดเป็นกรรมชั่ว

กรรมชั่วแม้เล็กน้อยเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ ย่อมนำไปสู่การละเมิดเบญจศีล ส่วนกรรมดีกลับตรงกันข้าม ย่อมนำไปสู่เบญจธรรมและความดีที่ยิ่งๆ ขึ้นไป

ธรรมะย่อๆจากหลวงพ่อทัตตชีโว