"ออกไปสร้างความดีให้มากมาย แล้วกลับมานั่งทำใจนิ่งสบายๆ ในอาศรม" รวบรวมธรรมะและข้อคิดดีๆ จากการฟังธรรม อ่านธรรมะ แล้วนำมาแชร์ให้พี่น้องสาธุชน
วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556
อนุพุทธประวัติ ภาควังสะ 2 ตอนพระเจ้าอุเทน
พระเจ้าอุเทน
พระ เจ้าอุเทน(Udena) ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตเรียกว่า พระเจ้าอุทยัน (Udayan) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์วัตสะ (Vatsa Dunasty) ทรงปกครอง แคว้นวังสะ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองโกสัมพี (Kosambi) หรือเกศัมพี (Kaushambi) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใกล้เมืองอัลลาหบาดหรือประยาคในปัจจุบัน พระบิดานามว่าปรันตปะ
พระ เจ้าอุเทนประสูติในป่าเพราะพระมรดาถูกนกหัสดีลิงค์โฉบไปสู่ป่า แต่ได้รับการช่วยเหลือจากดาบสอัลลกัปปะ พระนางประสูติพระโอรสตอนใกล้รุ่ง จึงตั้งนามว่า อุเทน โดยได้รับการดูแลจากดาบสผู้เป็นพระบิดาเลี้ยง และพระมารดา เจ้าชายอุเทนได้ศึกษามนต์ฝึกช้างจนช่ำชอง และสามารถควบคุมช้างเป็นจำนวนมากได้ด้วยมนต์ที่ศึกษามาและยึดราชบัลลังก์นคร โกสัมพีจนสำเร็จ ด้วยการยกทัพช้างล้อมพระนคร
มี พระมเหสี ๓ พระองค์ คือ ๑.พระนางสามาวดี ๒.พระนางวาสุลทัตตา ๓. พระนางมาคันทิยา ต่อมาพระมเหสีทั้งสอง คือพระนางสามาวดีก็สิ้นพระชนม์จากการลอบวางเพลิงของพระนางมาคันทิยา ส่วนพระนางมาคันทิยาผู้อิจฉาก็ถูกราชอาญา เพราะทำผิดร้ายแรงด้วยการถูกเผาทั้งเป็นเช่นกัน
ใน ตำนานฝ่ายเชนกล่าวว่าพระองค์มีพระโอรสพระองค์เดียวจากพระนางวาสวทัตตา คือเจ้าชายโพธิ (Prince Bodhi) ซึ่งต่อมาได้ปกครองราชบัลลังก์โกสัมพีแทนพระบิดา
ได้หันมา นับถือพุทธศาสนาเพราะพระนางสามาวดีพุทธสาวิกาที่มั่นคงพระองค์มีความสนิทสนม กับพระปิณโฑลภารทวาชะมาก จนต่อมาโกสัมพีก็กลายเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ครั้งสมัยพุทธกาลเป็นต้นมา พระอารามใหญ่ ๆ ในเมืองนี้คือ ๑. โฆสิตาราม สร้างโดยโฆสิตเศรษฐี(โฆสกะเศรษฐี) ๒. กุกกุฏาราม สร้างโดย กุกกุฏเศรษฐี และ ๓. ปาวาริการามโดยเศรษฐีปาวริกะ
เนื้อเรื่องเต็ม
สองกษัตริย์บวชฤาษี
กษัตริย์ ๒ สหาย
ในกาลล่วงมาแล้ว พระราชา ๒ องค์ เหล่านี้ คือในแคว้นอัลลกัปปะ พระราชาทรงพระนามว่าอัลลกัปปะ, ในแคว้นเวฏฐทีปกะ พระราชาทรงพระนามว่าเวฏฐทีปกะ เป็นพระสหายกัน ตั้งแต่เวลายังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยล่วงไปแห่งพระราชบิดาของตนๆ ทรงเป็นพระราชาในแคว้น มีประมาณแคว้นละ ๑๐ โยชน์. พระราชา ๒ พระองค์นั้น เสด็จมาประชุมกันตลอดกาลตามกาล (ตามกาลอันสมควร) ทรงยืน, นั่ง, บรรทมร่วมกัน ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนตายมากมาย จึงทรงปรึกษากันว่า “ชื่อว่า ผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี, โดยที่สุดถึงสรีระของตน ก็ตามไปไม่ได้; ต้องละสิ่งทั้งปวงไป, ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา, เราจักบวช” ดังนี้แล้ว ทรงมอบรัชสมบัติให้แก่พระโอรสและพระมเหสี ออกผนวชเป็นพระฤษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ได้ทรงปรึกษากันว่า “พวกเราไม่อาจเพื่อเป็นอยู่ จึงละราชสมบัติออกบวชก็หาไม่, เราเหล่านั้น เมื่ออยู่ในที่แห่งเดียวกัน ก็จักเหมือนกับผู้ไม่บวชนั้นเอง, เพราะฉะนั้น เราจักแยกกันอยู่: ท่านจงอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น, เราจักอยู่ที่ภูเขาลูกนี้; แต่จักรวมกัน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน.”
ครั้งนั้น พระดาบสทั้งสองนั้นเกิดมีความดำริขึ้นอย่างนี้ว่า “แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคลุกคลีด้วยคณะเทียว จักมีแก่เราทั้งหลาย, ท่านพึงจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของท่าน, เราก็จักจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของเรา; ด้วยเครื่องสัญญานั้น เราทั้งหลายก็จักรู้ว่าเรายังมีชีวิตอยู่.”
กำเนิดมนต์และพิณสะกดช้าง
ต่อมาในกาลอื่น เวฏฐทีปกดาบส ตายไป บังเกิดเป็นเทพเจ้าผู้มีศักดิ์ใหญ่. หลังจากนั้นพอถึงกึ่งเดือน อัลลกัปปดาบส พอแลไม่เห็นไฟ ก็ทราบได้ว่า “สหายของเรา ทำกาละเสียแล้ว” แม้เวฏฐทีปกดาบสตรวจดูทิพพสิริของตนในขณะที่เกิด ใคร่ครวญถึงกรรม เห็นกิริยาที่ตนกระทำ จำเดิมแต่ออกบวชแล้ว คิดว่า “บัดนี้ เราจักไปเยี่ยมสหายของเรา” ในขณะนั้น จึงแปลง เป็นเหมือนคนหลงทาง ไปยังสำนักของอัลลกัปปดาบสนั้น ไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ตรงนั้น.
ลำดับนั้น อัลลกัปปดาบสนั้นจึงกล่าวถามบุรุษนั้นว่า “ท่านมาจากไหน?”(สำนวนในคัมภีร์)
บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ผมเป็นคนหลงทาง เดินมาจากที่ไกลเหลือเกิน, ก็พระผู้เป็นเจ้าอยู่รูปเดียวเท่านั้น ในที่นี้ หรือ? มีใครอื่นบ้างไหม?
อัลละ. มีสหายของเราอยู่ผู้หนึ่ง.
บุรุษ. ผู้นั้น ไปอยู่ที่ไหนหรือ?
อัลละ. เขาอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น. แต่วันอุโบสถ เขาไม่จุดไฟให้โพลง, เขาจักตายเสียแล้วเป็นแน่.
บุรุษ. เป็นอย่างนั้นหรือ ขอรับ?
อัลละ. ผู้มีอายุ เป็นอย่างนั้น.
บุรุษ. กระผมคือผู้นั้น ขอรับ.
อัลละ. ท่านเกิดที่ไหน?
บุรุษ. กระผมเกิดเป็นเทพเจ้า ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในเทวโลกขอรับ, มาอีก ก็ด้วยประสงค์ว่า ‘จักเยี่ยมพระผู้เป็นเจ้า’ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในที่นี้ อุปัทวะอะไรมีบ้างหรือ?
อัลละ. เออ อาวุโส, เราลำบาก เพราะอาศัยช้าง.
บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ก็ช้างทำอะไรให้ท่านเล่า?
อัลละ. มันถ่ายคูถลงในที่กวาด, เอาเท้าประหารคุ้ยฝุ่นขึ้น; ข้าพเจ้านั้นคอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ก็ย่อมลำบาก.(ช้างชอบมาขี้ที่อาศรม ทำให้ต้องคอยขนขี้ช้างและปัดกวาดลานบ่อยๆ)
บุรุษ. พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาจะไม่ให้ช้างเหล่านั้นมาไหมเล่า?
อัลละ. เออ อาวุโส.
บุรุษ. ถ้ากระนั้น กระผมจักทำไม่ให้ช้างเหล่านั้นมา ได้ถวายพิณสำหรับให้ช้างใคร่ และสอนมนต์สำหรับให้ช้างใคร่ แก่พระดาบสแล้ว: ก็เมื่อจะให้ ได้ชี้แจงสายพิณ ๓ สาย ให้เรียนมนต์ ๓ บท แล้วบอกว่า “เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว, ช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับแลดู ย่อมหนีไป; เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจะกลับเหลียวดูเบื้องหลังพลางหนีไป: เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างนายฝูงย่อมน้อมหลังเข้ามาหา”, แล้วกล่าวว่า “สิ่งใด อันท่านชอบใจ, ท่านพึงทำสิ่งนั้นเถิด”. ไหว้พระดาบสแล้ว ก็หลีกไป.
พระดาบสร่ายมนต์บทสำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง แล้วช้างก็หนีไปจริงๆ.
กำเนิดพระเจ้าอุเทน
ฤดูหนาววันหนึ่งพระราชบิดากับพระราชมารดาประทับนั่งตากแดดอยู่ตรงระเบียง
ปราสาท วันนั้นพระมเหสีห่มผ้ากัมพลสีแดง
บังเอิญนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง (นกยักษ์มีกำลังเท่าช้างสาร)
บินผ่านมาเจอเห็นผ้าสีแดงนึกว่าชิ้นเนื้อเลยลงโฉบจับพระมเหสีพร้อมเจ้าชายน้อยไป
กล่าวถึง ฤาษีอัลละที่ได้วาไล่ช้างมานี้ กำลังไปเก็บกระดูกสัตว์
ที่นกกินเหลือเอามาต้มดื่ม เมื่อนกบินไปถึงรังขณะกำลังจะลงมือกินแม่ลูก
พระมเหสีสติดีได้ร้องตะโกนขึ้นเพื่อไล่นกหนีไป(น่าจะกรีดร้องให้นกตกใจมากกว่า)
(ไม่ตะโกนตอนอยู่บนอากาศเดี๋ยวตกมาตาย) ฤาษีได้ยินเสียงคนเสียงเด็กร้อง
จึงปีนขึ้นไปรับลงมาพาไปอยู่อาศรมของตน
ฝ่ายมเหสีเพื่อความมั่นคงของชีวิต
ก็ใช้มายาหญิงยั่วฤาษีจนตบะแตกอยู่เป็นผัวเมียกัน ฤาษีได้สอนมนต์พิณพระกุมาร
ที่สามารถควบคุมช้างทั้งฝูงให้อยู่ในอำนาจได้
หลังจากที่ฤาษีรู้ในญาณว่า พระบิดาของพระเจ้าอุเทนสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ส่งเจ้าชายอุเทนไปทวงราชสมบัติตามคำขอของมเหสี
เจ้า ชายอุเทนใช้มนต์เรียกกองทัพช้างย่ำเข้ามาในพระนครโกสัมพีจำนวนมาก คนในแคว้นวังสะล้วนชื่นชมในพลังอำนาจวิเศษและเข้าร่วมทัพ จนประชิดโกสัมพี เจ้าชายส่งสาสน์ขู่เอาราชสมบัติ คนในวังตอบว่า รับแต่เชื้อสายพระเจ้ากรุงโกสัมพี ซึ่งหายสาปสูญไปนานแล้ว เจ้าชายจึงแสดงแหวนราชวงศ์ ผ้ากัมพลแดงและประกาศสิทธิ์เหนือเศวตฉัตร เมื่อเห็นดังนั้นทั่วทัั้งพระนครจึงยอมรับเจ้าชายอุเทนเป็นพระราชาแห่งแคว้น วังสะ
หลังจากที่ราชสมบัติเป็นของพระเจ้าอุเทนแล้ว ข่าววิชาพิณเรียกช้างได้ไปเข้าหูราชาเมืองอุชเชนีคือ พระเจ้าจัณฑปัชโชต***
พระ เจ้าจันฑปัชโชต หรือ ปรัทโยตะ (Pradyota) ในภาษาสันสกฤตเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์อวันตี (Avaanti Dynasty) โดยมีเมืองหลวงชื่อเมืองอุชเชนี (Ujjeni) หรืออุชชายินี (Ujjayini) ในภาษาสันสกฤต เมืองนี้อยู่ทางตอนกลางของประเทศอินเดีย พระองค์มีนิสัยดุร้ายจนมีคำว่า จัณฑะ (ดุร้าย) นำหน้าทรงเอาแต่ใจตัวเอง มีทรัพย์สมบัติที่มั่นคั่งเมืองหนึ่ง ในสมัยนั้นเป็นมิตรสหายของพระเจ้าปรันตปะแห่งเมืองโกสัมพี ครั้งหนึ่งพระองค์ประชวรอย่างหนัก หมอทั่วราชอาณาจักรเข้ารักษาก็ไม่มีใครรักษาสำเร็จ จนได้หมอชีวกโกมารภัจจ์จากรุงคฤห์มาช่วยรักษาอาการจึงหายเป็นปกติ พระองค์มีพระธิดาที่เลอโฉมนาว่าวาสุลทัตตา หรือ วาสวทัตตา (Vasavadatta) มีพาหนะวิเศษ5อย่างได้แก่ พังภัททวดี เดินทางได้วันละ50โยชน์(33.33กิโล/ชม.) นายกาก(กากะ)60โยชน์ต่อวัน(40กิโล/ชม.) ม้าเวลกังสิและม้ามุญชเกสิ100โยชน์ต่อวัน(66.67กิโล/ชม.)และพลายนาฬาคีรี 120โยชน์ต่อวัน(80กิโล/ชม.)
(สงสัยเพราะมีช้างคุมยากอย่างนาฬาคีรี เลยอยากเรียนมนต์สะกดช้าง)
พระราชาจึงส่งคนไปลักพาตัวพระเจ้าอุเทนมาสอนวิชาให้ แต่แม้จะถูกจับ ก็ไม่ยอมเสียหลี่ยม ตั้งกฎกติกาว่า
คนจะเรียนวิชาด้วยต้องทำความเคารพเชื่อฟังตนจึงจะสอนวิชาให้(แล้วค่อยสั่งให้ปล่อยตัวเขาหนีไป)
ด้วยความรู้ทันเหลี่ยม พระราชาไม่ยอมไปเรียนเองเลยส่งพระราชธิดาไปแทน(วาสุลทัตตาผู้เลอโฉม)
ด้วยการให้นั่งเรียนกั้นผ้าม่านไว้ไม่ให้คนทั้งสองเห็นกันและกัน ป้องกันปัญหาชู้สาว
แล้วบอกพระธิดาว่าอาจารย์ที่สอนเป็นโรคเรื้อนขี้เรื้อน
บอกเจ้าชายว่าคนที่มาเรียนเป็นหญิงสามัญหน้าตาน่าเกลียด
วันหนึ่งพระเจ้าอุเทนสอนคาถาบทหนึ่งแก่พระธิดา พระธิดาก็จำไม่ได้สักที
พระองค์โมโหเลยด่าว่าหน้าตาอุบาทว์ไม่พอยังโง่อีกต่างหาก
เจ้าหญิงพอได้ฟังโกรธมากโต้ตอบกลับว่าแกเป็นใครมาว่าคนอย่างข้า ไอ้ขี้เรื้อน
พระเจ้าอุเทนเลยกระชากผ้าม่านออกพอเห็นหน้าตาอันสวยงามหล่อเหลาของกันและกัน
ทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกันทันที
อยู่ต่อมาออกอุบายพาเจ้าหญิงขี่ช้างพังภัททวดีหนีไปโดยพาพระเจ้าอุเทนไปด้วย อ้างว่าพระบิดาสั่งให้ทั้งคู่ไปเฝ้า
แต่เมื่อถึงทางแยกก็เลี้ยวไปทางโกสัมพี(ของพระเจ้าอุเทน)แทนที่จะไปเมืองอุชเชนี(ของพระบิดา)
พอทหารติดตามมาเจ้าชายก็หว่านเงินทองลงให้พวกที่ติดตามหยุดก้มเก็บเงิน จนตามช้างไม่ทัน
จนช้างเข้าเขตเมืองโกสัมพี และได้อภิเษกกับพระธิดาเป็นพระมเหสีเอกนับแต่นั้น
(เป็นอันว่าพระเจ้าจันฑปัชโชตเสียหน้า เสียช้าง แถมเสียลูกสาวอีก สามต่อ...)
*เพิ่มเติม* พระเจ้าอุเทนภายหลังได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง โดยจะสังเกตว่า
ลาย ในสัญลักษณ์คือ คนดีดพิณ หมายถึงพระเจ้าอุเทนดีดพิณเรียกช้าง เหมือนเรียกคนมาจ่ายภาษีให้รัฐ อีกอย่างหนึ่งคือ ชื่อและสัญลักษณ์ของ มทร.อุเทนถวาย ตามประวัติของสถาบัน และยังคงเรียกรุ่นในสถาบันตนว่า "ลูกพระอุเทน" จนถึงทุกวันนี้