ถึงผู้มีบุญที่รักในการออกบวชทุกท่าน
ในสักช่วงชีวิตหนึ่งของชาวพุทธทุกคน การบวชเพื่อศึกษาคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง อย่างที่รู้ๆกัน แต่ใช่ว่าเส้นทางสู่การเป็นบรรชิตของผู้ชายแท้ชาวพุทธจะถูกโปรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไปไม่
ท่านผู้เคยออกลุยชวนบวชน่าจะเคยทราบอุปสรรคต่างๆดังกล่าวมาหลายกรณี โดยเฉพาะที่เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยๆ คือ พ่อแม่ไม่อนุญาตให้บวช
ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างซึ่งเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลและวิธีเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวด้วยตัวเอง เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อผู้ใคร่จะออกบวชสืบไป
พระรัฏฐปาลเถระ(พระรัฐบาล)
ท่านได้บำรุงพระดาบส ผู้ได้อภิญญารูปหนึ่ง บุญนั้น จึงส่งให้ท่านเป็นใหญ่ ในเทวโลก ท่านบำเพ็ญบุญทั้งหลายจนตลอดชีวิตแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้ไปเกิดเป็นเทวดา ครองเทวราชสมบัติ ในเทวโลกนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
สมัยพุทธกาล
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านพระรัฏฐปาล เป็นบุตรของรัฏฐปาลเศรษฐี ผู้เป็นหัวหน้าในหมู่ชน ชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ
สมัย หนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ชาวนิคมได้ทราบว่า พระบรมศาสดาเสด็จมา จึงพากันมาเข้าไปเฝ้า บางพวกถวายบังคม บางพวกเป็นแต่พูดจาปราศรัย บางพวกเป็นแต่ประนมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อ และโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่ ทุกหมู่นั้น พากันนั่งอยู่ ณ ที่อันสมควรแห่งหนึ่ง
อดอาหารประท้วงเพื่อต้องการบวช
พระ บรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้เกิดความเลื่อมใสแล้ว คนเหล่านั้นก็ทูลลากลับไป ส่วนรัฏฐปาละ ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว เกิดความเลื่อมใส ใคร่จะบวช พอพวกชาวนิคมนั้นกลับไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอบรรพชา
ครั้นได้ทราบว่าพระบรมศาสดา ไม่ทรงบวชกุลบุตร ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต รัฏฐปาละ ก็พูดอ้อนวอนเป็นหลายครั้ง มารดาบิดาไม่ยอม รัฏฐปาละเสียใจ ลงนอนไม่ลุกขึ้น อดอาหารเสียไม่กิน คิดว่าจักตายในที่นี้ หรือจักบวชเท่านั้น
มารดา บิดา ปลอบให้ลุกขึ้นกินอาหาร รัฏฐปาละก็นิ่งเสีย มารดาบิดา จึงไปหาสหายรัฏฐปาละ ขอให้ช่วยห้ามปราม สหายเหล่านั้น ก็ไปช่วยห้ามปราม เมื่อเห็นว่ารัฏฐปาละไม่ยอม จึงคิดว่า ถ้ารัฏฐปาละ ไม่บวชจักตายแล้ว หาเกิดคุณอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ ถ้ารัฏฐปาละ ได้บวช มารดาบิดาและเราจักได้เห็นรัฏฐปาละ ตามเวลาที่สมควร อนึ่ง เมื่อรัฏฐปาละบวชแล้ว หากเบื่อหน่าย ในการประพฤติเช่นนั้น ก็จักกลับมาที่นี้อีก ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าไปหามารดาบิดาของรัฏฐปาละ ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง
มารดาบิดาของ รัฏฐปาละ เห็นด้วยแล้ว ก็ยอมตาม แต่ว่าบวชแล้ว ขอให้กลับมาเยี่ยมบ้าง สหายเหล่านั้น ก็กลับไปบอกความนั้น แก่รัฏฐปาละ ๆ ทราบว่า มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ดีใจลุกขึ้นเช็ดตัว แล้วอยู่บริโภคอาหารพอร่างกาย มีกำลังไม่กี่วันแล้ว ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลว่าบิดามารดาอนุญาตแล้ว พระองค์ก็โปรดให้บวช เป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา
บรรลุอรหัตตผล
ครั้ นพระรัฏฐปาละ บวชแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระบรมศาสดา เสด็จจากถุลลโกฏฐิตนิคม ไปประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ส่วนพระรัฏฐปาละ ตามเสด็จไปด้วย ท่านตั้งอยู่ในความไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จพระอรหัตผล ถึงที่สุดของพรหมจรรย์แล้ว ถวายบังคมลา ออกจากสาวัตถี เที่ยวจาริกไปถึงถุลลโกฏฐิตนิคม พักอยู่ที่มิคจิรวัน พระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินกุรุ
ในเวลา เช้า ท่านเข้าไปบิณฑบาตในนิคมนั้น จนถึงที่ใกล้เรือนของท่าน นางทาสีเห็นท่านแล้ว ก็จำได้ จึงบอกเนื้อความนั้น ให้แก่มารดาบิดาของท่านทราบ มารดาบิดาของท่าน จึงได้นิมนต์ท่านไปฉันในเรือน ในวันรุ่งขึ้น แล้วอ้อนวอน ให้ท่านกลับมาครอบครองสมบัติอีก ท่านก็ไม่สมประสงค์ เมื่อท่านรัฏฐปาละ ฉันเสร็จแล้วก็กล่าวคาถาอนุโมทนา พอเป็นทางให้เกิดสังเวชในร่างกาย แล้วจึงกลับมิคจิรวัน
ความเสื่อมมี ๔ อย่าง ทำให้คนออกบวช
ส่วน พระเจ้าโกรัพยะ เสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นรัฏฐปาละ ทรงจำได้ เพราะทรงรู้จักแต่เดิมมา เสด็จเข้าไปใกล้ ตรัสปราศรัยและประทับ ณ ราชอาสน์ ตรัสถามว่า รัฏฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมมี ๔ อย่าง ที่คนบางจำพวก ต้องประสบเข้าแล้ว จึงออกบวช คือ แก่ชรา, เจ็บ, สิ้นโภคทรัพย์, สิ้นญาติ ความเสื่อม ๔อย่างนี้ ไม่มีแก่ท่าน ท่านรู้เห็น หรือได้ฟังอย่างไร จึงได้ออกบวช
ธรรมุทเทศ ๔ ประการ
ท่านทูลว่า มหาบพิตร มีอยู่ ธรรมุทเทศ (ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อสี่ข้อ) ที่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงแสดงขึ้นแล้วจึงออกบวช ธรรมุทเทศ ๔ ข้อนั้น คือ
ข้อที่หนึ่ง ว่า โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นตัวนำเข้าไปใกล้ความตาย ไม่ยั่งยืน
ข้อที่สอง ว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตน
ข้อที่สาม ว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
ข้อที่สี่ ว่า โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา
ครั้น ท่านพระรัฏฐปาละ ทูลเหตุที่ตนออกบวช แก่พระเจ้าโกรัพยะอย่างนี้แล้ว พระมหากษัตริย์ ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสอนุโมทนาธรรมีกถา แล้วเสด็จกลับไป ส่วนท่านพระรัฏฐปาละ เมื่อพำนักอาศัยอยู่ในนิคมนั้น พอสมควรแล้ว ก็กลับมาอยู่ในสำนักของพระบรมศาสดา
เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
อาศัย คุณที่ท่าน เป็นผู้บวชด้วยศรัทธามาแต่เดิม และกว่าจะบวชได้ ก็แสนยากลำบากนัก พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้บวชด้วยศรัทธา (สทฺธาปพฺพชิตานํ).
ที่มา https://sites.google.com/site/xsitimhasawk80xngkh/phra-ratth-pal-thera