" โทษของกาม "
1. กามทำให้อยากไม่รู้จบ แม้ได้แล้วก็ยังอยากได้อีกต่อไปเรื่อยๆ ไม่เคยพอ
2. กามให้แค่ความเพลิน เพลีย ละเหี่ยใจเท่านั้น
3. กามทำให้จิตใจเร่าร้อน นอนไม่หลับ กระสับ
กระส่าย เพราะอยากได้
เอามาเป็นของตนเอง
4. กามทำให้คนหน้ามืด
ตามัวและหลงยึดติดคิดว่าสิ่งนั้น สวยหรู ดูดี
มีความสุข แต่ความจริง
กลับตรงกันข้าม
5.กามทำให้เสียเวลา
เพราะต้องทุ่มเทไปกับ
สิ่งที่ยึดติดเอาไว้
6. กามทำให้เสียทรัพย์
ไปโดยเปล่าประโยชน์
7. กามทำให้ใจหวาด
ระแวง และหึงหวงกลัวว่า
จะมีคนมาแย่งชิงเอาของ
ตนเองไป
8.กามเป็นเหตุให้เกิด
การทะเลาะวิวาทแย่งชิงสิ่งที่หมายปองกันเอาไว้
9. กามเป็นเหตุให้ชีวิต
พินาศ เพราะแรงอาฆาต
หึงหวง
10. กามทำให้คนเป็นบ้า เพราะผิดหวังหรือพลัด
พรากจากสิ่งที่รัก
11. กามทำให้เกิดโรคร้าย
ต่างๆ ตามมา เช่น...กามโรค หรือโรคเอดส์ เป็นต้น
12. กามนำความทุกข์มา
ให้มากมาย เช่น...ทุกข์จากการพลัดพราก ทุกข์จากความไม่สมหวัง หรือทุกข์จากความหึงหวง เป็นต้น
13. คนมักมากในกาม
ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวแตกแยก
*** ตัวอย่างอานิสงส์ (หรือ...สิ่งที่เราจะได้รับ) จากการออกจากกาม ***
1. การออกจากกาม
ทำให้ใจปลอดโปร่ง สุขใจ และปลอดภัย จากภัย
หลายๆอย่าง เพราะไม่ต้อง
หวาดระแวงกลัวว่า
คนอื่นจะมาแย่งชิงของ ของตนไป
2. การออกจากกาม ทำ
ให้มีชีวิตเป็นอิสระและมี
เวลาสั่งสมบุญ สร้างบารมี และประพฤติปฏิบัติธรรมได้อย่างเต็มที่เต็มกำลังเพราะ
ไม่มีห่วงกังวลที่เหนี่ยวรั้ง
ทั้งกายและใจเอาไว้
3. การออกจากกาม
ทำให้เกิดความสงบทางใจ ใจย่อมผ่องใส และ
สามารถที่จะมุ่งไปสู่ความ
หลุดพ้นจากความทุกข์
ทรมานของชีวิตได้ เป็นต้น
4. เมื่อใจไม่เกาะเกี่ยว
ในกาม ก็ไม่ไปสร้างความ
เสียหายเดือดร้อนให้แก่
ตนเองและผู้อื่น ทำให้
ไม่ต้องทุกข์ใจเพราะความยึดมั่นถือมั่น หึงหวง หรืออยากที่จะได้ของคน
อื่นมาครอบครอง เป็นต้น
๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)
พิจารณาร่างกายเป็น ธาตุ ๔
[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
พิจารณาเป็น "นวสี" คือ ป่าช้าทั้ง ๙
๑. ศพที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลือเยิ้ม[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็น "ศพ" ที่
เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง
เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล
ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ
๒. ศพที่ถูกหมู่สัตว์กัดกิน[๓๐๐]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า
อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง
หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง
สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง
จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา
มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้
เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้
ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ