วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

เมนูอาหารพิสดารสมัยพุทธกาล


ก็อบจากบล็อกตัวเอง ในไฮไฟว์

วันนี้ขอเสนอเมนู พิสดารสมัยพุทธกาลมาให้อ่านกัน ข้าวมธุปายาส พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์

หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้


“ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค 500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศ จนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8ตัว ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ

นาง สุชาดาเห็นดังนั้นก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง

เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิ ราช(ท้าวสักกะเทวราช ประมุขแห่งดาวดึงส์) ก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตรมากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะ ด้วยเมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี

ครั้นสำเร็จ เสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์

เมื่อ นั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์” ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาลเป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่มมีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะความข้นพอที่จะปั้นให้ เป็นคำได้

อาหารพิสดารอีกอย่าง แต่จนปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่า เป็นอาหาร หรือยาพิษกันแน่ เพราะอาหารนี้คือ สูกรมัททวะ กระยาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง สูกรมัททวะคืออะไร ในหนังสือชั้นอรรกถาชื่อ 'สุมังคลวิลาสินี' รจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ได้ประมวลการตีความไว้ ๓ ทรรศนะด้วยกันดังนี้

(๑)  ปวัตตะมังสะ (เนื้อที่ขายตามตลาด) ของสุกร ที่เจริญเต็มที่ ซึ่งไม่หนุ่มเกินไป ไม่แก่เกินไป
ทรรศนะ นี้บอกว่าเป็นเนื้อหมู และอธิบายเพิ่มเติมว่า เนื้อสุกร ที่ไม่แก่เกินไป ไม่หนุ่มเกินไป นุ่มสนิทดี ปรุงอาหารอร่อย นายจุนทะนำเนื้อชนิดนี้มาปรุงอาหารถวายพระพุทธเจ้า

(๒) สูกรมัททวะ หมายถึงชื่อแห่งวิธีการปรุงข้าวอ่อน ด้วยเบญจโครสเหมือนชื่ออาหารที่ปรุงด้วยควปานะ
มตินี้ตรงข้ามมติแรก คือแทนที่จะเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ กลับเป็นอาหารประเภทพืชไป คือข้าวหุงด้วยนมโค

(๓) รสายนวิธีชื่อว่าสูกรมัททวะ รสายนวิธีนั้นมาในคัมภีร์รสายนศาสตร์ นายจุนทะตกแต่งอาหาร ตามคัมภีร์รสายนศาสตร์ เพื่อมิให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน (ยาบำรุงกำลัง)  และจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้เพิ่มเติมก็คือ
ข้อความแวดล้อมในมหาปรินิพพานสูตรบอกว่า
       ๑. นายจุนทะเตรียมขาทนียะ โภขนียะ (ของเคี้ยว ของฉัน) เพียงพอ และเตรียมสูกรมัททวะเพียงพอ
       ๒. นายจุนทะเตรียมอาหารนั้นทั้งคืน
       ๓. นายจุนทะถวายของเคี้ยวของฉันแก่พระสงฆ์ ถวายสูกรมัททวะแด่พระพุทธองค์
       ๔. พระพุทธองค์ตรัสว่า ไฟธาตุของพระองค์เท่านั้นที่ย่อยสูกรมัททวะนี้ได้ แล้วให้นำเอาที่เหลือจากที่เสวยไปฝังดินเสีย

ข้อมูล เหล่านี้ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าอะไรที่ใช่สูกรมัททวะ แต่ที่แน่ๆ เมนูนี้่ไม่มีในในภพสามฉันได้นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีกายมหาบุรุษ เพียงพระองค์เดียวในโลกเท่านั้น