วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดูกัลยาณมิตร ด้วยกัลยาณธรรม 7 ประการ





ท่านผู้อ่านคงได้พบกับเพื่อนมากมายหลายจำพวก และมีทั้งดีและไม่ดีในสายตาผู้อ่านใช่หรือไม่? บางคนเราอาจสงสัยว่าเพื่อนอย่างไหนที่ดี น่าคบ เป็นบัณฑิต คบแล้วเป็นมงคลแก่ตัว ในบทความนี้มีคำตอบให้  คำตอบนั้นคือ กัลยาณธรรม  7 ประการ




1.ปิโย         เป็นคนน่ารัก
เป็น บุคคลที่เห็นแล้วสบายใจ   ชวนให้เข้าใกล้ปรึกษา ไต่ถาม มีความผ่องใสร่าเริง เบิกบานอยู่เป็นนิจ  เสมือนพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ  มีความสว่างไสวชุ่มเย็น มองครั้งใดก็มีแต่ความชื่นใจ ลืมความอึดอัดขัดข้องทั้งปวง

          ผู้ที่ทรงคุณสมบัติเช่นนี้ได้ ต้องฝึกกิริยามารยาทให้เรียบร้อย นุ่มนวล สง่างามในทุกอิริยาบท ทุกบรรยากาศ มีความสะอาดทั้งกาย วาจา ใจ

          กายสะอาด   ไม่ได้หมายความเฉพาะร่างกายสะอาด นุ่งห่มเสื้อผ้าสะอาดเรียบร้อยเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงการไม่แปดเปื้อนด้วยอบายมุขทั้งหลาย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่เจ้าชู้ ไม่เสพสุรายาเมา ฯลฯ

        วาจาสะอาด   คือรู้จักสำรวมในคำพูด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ส่อเสียด ยกตนข่มท่าน พูดให้ถูกกาลเทศะ

        ใจสะอาด   เป็นความบริสุทธิ์ที่อยู่ภายใน ใจมีความสง่ายิ่งกว่าดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน แม้จะมองไม่เห็นแต่ก็รู้ได้จากกิริยาอาการที่สดชื่นแจ่มใส ร่าเริง ใบหน้าที่อิ่มเอม เบิกบานอยู่เป็นนิจ
         
          

2.ครุ          เป็นคนน่าเคารพ
          เป็นบุคคลที่อุดมด้วยปัญญาทั้งทางโลก และทางธรรมอย่างพร้อมมูล จนกระทั่งตระหนักและซาบซึ้งได้ดีว่า อะไรถูกอะไรผิด อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรอะไรไม่ควร อะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป แล้วดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง ที่เป็นบุญเป็นกุศลอย่างมั่นคงแน่วแน่

         ไม่หวั่นไหวต่อความยั่วยวนของสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ใจตกต่ำ เป็นคนรักความยุติธรรมเป็นที่สุด ไม่ว่าต่อหน้าอย่างไร ลับหลังต้องอย่างนั้น มีความเมตตากรุณาอยู่เป็นนิจกับทุกคนที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัตินี้จะหลอมให้กัลยาณมิตรเป็นที่น่าเคารพของชนทั้งหลาย


3.ภาวนีโย   เป็นคนน่าเจริญใจ น่าเทิดทูน
  เป็นบุคคลที่ทรงความรู้ มีภูมิปัญญาเป็นเลิศ ทั้งทางโลกและทางธรรม ความฉลาดปราดเปรื่องมีมากจนเป็นที่ยอมรับของทุกคนในวงการ เป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตนอยู่เสมอ สามารถอันยอดเยี่ยม ใครๆ ก็อยากจะฝากตัวเป็นศิษย์ มีความอาจหาญร่าเริงที่จะประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงคุณความดีของ กัลยาณมิตร
           แต่... คุณสมบัติของกัลยาณมิตรข้อนี้ แม้จะไม่ฉลาดปราดเปรื่องมาก แต่อย่างน้อยต้องมีความสามารถแก้ไขความเห็นผิดของศิษย์ได้ มีอุบายวิธีทำให้ศิษย์ตั้งตนอยู่ในสัมมาทิฐิได้ ทำให้ศิษย์เกิดความเลื่อมใสอย่างแท้จริง

4.วตฺตา   รู้จักพูดให้ได้ผล
คือ ฉลาดพูดแนะนำตักเตือน
          เป็นบุคคลที่รู้จักพูดชี้แจงให้เข้าใจ มีความสามารถพูดโน้มน้าวให้ทำตาม ในสิ่งที่ดีมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ กัลยาณมิตรจึงควรศึกษาหลักจิตวิทยา ในการเข้าถึงจิตใจของบุคคลต่างๆ

          หาโอกาสฝึกพูด ให้เหตุให้ผล ให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส เพราะกัลยาณมิตรต้องพบปะกับบุคคลทุกเพศ วัย หลายฐานะ กัลยาณมิตรต้องให้คำแนะนำปรึกษาที่ดีที่ควร อย่าให้ผู้ที่มาพบเราต้องจากไปด้วยความผิดหวัง

5.วจนกฺขโม  อดทนต่อถ้อยคำ
          เป็นบุคคลที่พร้อมจะรับฟังคำปรึกษาซักถามอยู่ เสมอ อดทนฟังได้แม้เรื่องไร้สาระ ไม่เบื่อหน่าย ไม่รำคาญ เราจึงต้องอดทนให้อภัย รักษาอารมณ์ให้เยือกเย็นอยู่เสมอ

6.คมฺภีรญฺจ  กถํ  กตฺตา         อธิบายแถลงเรื่องล้ำลึกได้
 เป็นบุคคลที่สามารถนำเรื่องที่ยากมาอธิบายให้เกิดภาพพจน์เข้าใจง่าย แม้เรื่องราวที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับชีวิต เกี่ยวกับหัวข้อธรรมะที่ยากๆ ก็สามารถหาเรื่องอุปมาอุปมัยให้เข้าใจอย่างง่าย

7.โน  จฎฺญาเน  นิโยชะเย  ไม่ชักนำไปในสิ่งที่เสื่อม
           เป็นบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในธรรม ไม่ยอมทำเรื่องที่เป็นการเสื่อมเสีย พูดอย่างไรทำอย่างนั้น ไม่มีเบื้องหน้า ไม่มีเบื้องหลัง ทุกกิจกรรมของกัลยาณมิตรต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง ใสสะอาด พร้อมที่จะประกาศให้ชาวโลกรับรู้ และท้าทายให้มาพิสูจน์ได้เสมอ

หากใครสำรวจตัวเองแล้วพบทั้ง 7 ข้อ ขอบอกได้เลยว่า เป็นยอดกัลยาณมิตร ที่พึ่งของชาวโลกและจักรวาลแน่นอน 

 

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

"มาฆบูชา" วันมหาสมาคมใหญ่ ครั้งแรก

"มาฆบูชา" มหาสมาคมใหญ่ ครั้งแรกของพระพุทธศาสนา


วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีที่แล้ว ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้




ความเป็นมาของวันมาฆบูชา



     เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" (จตุ+องฺค+สนฺนิปาต = สี่+ประการ+ประชุม = การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"นั่นก็คือ การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๑ แห่ง  ปีก่อนพุทธศักราช!" *(1)


เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ
1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ คือวันพระจันทร์เต็มดวง (บาลี=ปณฺณรสี) ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย กล่าวคือ รู้กันด้วยญาณทัศนะของท่าน แล้วก็ต่างองค์ก็ต่างมาจากแต่ละทิศ โดยพร้อมๆกัน ไม่มีการบอกกล่าวด้วยวาจา
3.ภิกษุ เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6*(2) ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา หมายถึงพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้ทั้งสิ้น
มีใครบ้างมาเข้าร่วมประชุม
     พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
     กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุบริวารของอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า จำนวน 1,000 รูป
     กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป
      การที่มีพระภิกษุจำนวนถึง 1,250 รูปมาเป็นองค์ประชุมสันนิบาตในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการปักหลักพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากแคว้นมคธ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่ เพราะเป็นแคว้นใหญ่ที่สุดในอินเดียสมัยก่อน เป็นแหล่งรวมความเจริญในทุกด้าน และมีเจ้าลัทธิต่างๆ แข่งขันกันเรียกความศรัทธา ความเชื่อ จากประชาชนอยู่มากมาย การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจึงต้องทำอย่างเต็มที่โดยอาศัยกำลังจากภิกษุผู้เป็นคน ท้องถิ่นของแคว้นนี้เป็นหลักก่อน ซึ่งภิกษุทั้ง 2 คณะนี้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม คือแรกเริ่มเดิมทีก็เคยเป็นนักบวชอาศัยในเมืองนี้อยู่แล้ว การแนะนำสั่งสอนพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์แก่ชาวชมพูทวีปจึง เป็นไปได้ง่าย การมาชุมนุมกันของพระอรหันตสาวกในครั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นมหาสาวกสันนิบาตที่ต้องเร่งทำให้เร็วที่สุด คล้ายๆ จะเป็นสิ่งที่มีอยู่ในพระทัยของพระพุทธองค์มาตั้งแต่ครั้งยังทรงเริ่มประกาศ ปฐมเทศนา เพียงแต่กำลังทรงรอคอยบุคคลผู้หนึ่ง ผู้ที่จะมาเติมเต็มความสมบูรณ์ของกองทัพธรรมอยู่ นั่นก็คือ พระสารีบุตร ซึ่งเมื่อท่านได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ถือได้ว่าพระธรรมเสนาบดีได้บังเกิดขึ้น ดุจขุนพลแก้วบังเกิดแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ โดยท่านจะมาเป็นหัวเรือใหญ่รับสนองนโยบายภารกิจนี้ โดยตรง เมื่อการรอคอยของพุทธองค์บรรลุผล จึงทรงทำการประชุมสาวกสันนิบาตทันทีในวันเดียวกันนั้นเอง โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า เพราะทรงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่กองทัพธรรมจะต้องเร่งรุดขยายให้ได้กว้างไกล ที่สุด ฉะนั้นจำต้องมียุทธศาสตร์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงได้ทรงประทาน "โอวาทปาฏิโมกข์" เพื่อไว้ใช้เป็นแม่บทในการประกาศพระศาสนา

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเพียงกลุ่มผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และที่อยู่ในอาณาบริเวณกรุงราชคฤห์ ในจำนวนนี้ไม่นับ พระอัครสาวกทั้งสอง และชฏิลทั้งสาม ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นกรรมการใหญในการประชุมครั้งนี้ โปรดอ่านในลิ้งก์ที่ไปเจอมาดังนี้  [มาฆบูชา] พระอรหันต์ 1250 รูปมีใครบ้าง?
 การประชุมมหาสาวกสันนิบาตนั้น ในยุคของพระพุทธเจ้าบาง พระองค์ มีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ดังเช่น ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้ทรงประชุมสาวกสันนิบาตถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีพระอรหันตสาวก 100,000 โกฏิ*(3) ครั้งที่ 2 มีจำนวน 90,000 โกฏิ ครั้งที่ 3 มีจำนวน 80,000 โกฏิ แต่ละครั้งก็จะทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเหมือนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประทานเอาไว้ทุกอย่าง

สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์     
      โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชา ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
 
 


หลักการ คือ หลักเกณฑ์สำคัญของชาวพุทธและของชาวโลก ในการตัดสินใจว่าต้องทำหรือห้ามทำอะไร ถ้าผิดหลักการก็ไม่ทำ แต่ถ้าไม่ผิดหลักการจึงค่อยทำ

       1. การไม่ทำบาปทั้งปวง
สพฺพปาปสฺส อกรณํ ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10*(4) ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

      2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม
กุสลสฺสูปสมฺปทา ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10*(4)เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

      3. การทำจิตให้ผ่องใส
สจิตฺตปริโยทปน ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์*(5)ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ
อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 4 ประการ ได้แก่



         1. ความอดทน นฺตี ปรมํ ตโป ตีติกข ได้แก่ ความอดกลั้น  ไม่ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ หมายถึง "ความอดทนเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสชั้นเยี่ยม"  "เกิดเป็นคนต้องดทนให้เป็นนิสัย"

      2. นิพพาน ิพพานปรมํ วทนฺติ พุทธา ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8      "พระพุทธศาสนา สอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ เป็นหลัก, อดทนปฏิบัติไปจะได้ถึงพระนิพพานไวๆ"

         3. ความไม่เบียดเบียน น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี   ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
  ได้แก่ การเคารพผู้อื่น งดเว้นจากการทำร้ายรบกวนผู้อื่น "รู้ว่าตนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมกฏแห่งกรรมด้วยกัน ก็ไม่ควรไปก่อเวรก่อกรรมไม่ดีเพิ่มอีก ถ้ายังทำอยู่ แสดงว่ายังไม่ชนะกิเลส ยังไมอดท"

         4. ความสงบ สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ  ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ  ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบและสันโดษทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีวินัยในตนเอง ไม่ทำตนักมาจนเป็นที่รำคาญของสาธุชนทั้งหลาย "คนที่ไม่รู้จักความสันโดษ ไม่รู้ประมาณ ไม่รู้จักฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ ย่อมเบียดเบียนผู้อื่นเป็นธรรมดา"
       
วิธีการ คือ แนวทางปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 6 ประการ คือ 

      1. อนูปวาโท ไม่ไปว่าร้ายกัน ผู้เผยแผ่คำสอนจะต้องไม่โจมตี ไม่นินทาใคร
      2. อนูปฆาโต ไม่ไปล้างผลาญกัน ไม่เผยแผ่ศาสนาด้วยการฆ่า และต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

      3. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ *(6) เว้นข้อที่ได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่ทรงอนุญาต

      4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ต้องรู้จักประมาณในการกิน การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง

      5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ เลือกที่นั่งที่นอนในที่สงบ เพื่อให้ตนเองมีโอกาสในการบำเพ็ญเพียรเต็มที่

      6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค ประกอบความเพียรในการทำใจหยุดนิ่งอยู่เสมอ มุ่งทำตนให้หลุดพ้นจากกิเลส
 โอวาทปาฏิโมกข์ทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นหลักปฏิบัติและนโยบายในการเผยแผ่ของพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทานให้แก่พระอรหันต์ชุดแรกที่ได้ออกไปประกาศพระศาสนาในโอกาสที่ได้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน เพื่อให้ถือเป็นนโยบายและหลักปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทาง เดียวกัน การประชุมพระอรหันตสาวกเช่นนี้ เพื่อประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ได้มีแต่ในยุคของพระสมณโคดมพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ในกัปนี้เท่านั้น แต่ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ในอดีตก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์  แต่จำนวนครั้งในการประชุมภิกษุสาวกและจำนวนพระอรหันตสาวกที่เข้าร่วมประชุม ต่างกัน จะเห็นได้ว่า วิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ เมื่อทรงฝึกพระอรหันต์ชุดแรก สำหรับเป็นครูและเป็นต้นแบบให้กับชาวโลกได้จำนวนมากพอสมควรแล้ว ก็ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา และเมื่อคราวที่พระอรหันตสาวกเหล่านั้น มาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน พระพุทธองค์ก็ทรงประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อจะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทะเลแห่งทุกข์ ไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน  
วันมาฆบูชา เป็นวันแห่งความรักของชาวพุทธ เพราะเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงออกซึ่งความรักต่อมวล มนุษชาติอย่างแท้จริง ความรักของพระองค์เป็นความเมตตา ความปรารถนาดีต่อทุกสรรพชีวิตด้วยความจริงใจ ทรงลำบากพระวรกายเผยแผ่พระศาสนาจนตลอดพระชนม์ชีพ ยาวนานถึง 45 ปี เพราะอยากจะให้มวลมนุษยชาติได้เข้าถึงหนทางแห่งความสุขภายในอันประเสริฐ คือหนทางสายกลางภายในดวงใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย 
 
 
  ดังนั้น หัวใจแห่งพระพุทธศาสนา หรือ "โอวาทปาฏิโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้ในวันมาฆบูชา เป็นแม่บทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น เมื่อใครได้นำหลักการเหล่านี้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ย่อมสามารถสัมผัสได้ถึงความเมตตา อันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านทางพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่ไม่เคย เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา


อ้างอิงที่มาจาก วันมาฆบูชาคืออะไร ประวัติความสำคัญ กิจกรรมวันมาฆบูชา 2556 ผสมกับ http://www.dmc.tv/pages/buddha_biography/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D.html
 (*)=หมายเหตุ

1. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการตรัสรู้ 9 เดือน 45 ปี ก่อนพุทธปรินพพาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dhammathai.org/buddha/g54.php
3. โกฏิ   ---- โกฏิ เท่ากับ สิบล้าน
4.  อกุศลกรรมบถ 10/ กุศลกรรมบถ 10 http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=321
6. พระปาฏิโมกข์   คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ[1] บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์





"Magha Puja" The First Assembly Day


Magha Puja Day
The First Assembly Day
 
      Magha Puja Day has been announced to be one of the most important holy days in Buddhism because there were four marvelous events happening over 2,500 years ago.  This day is an important Buddhist holy day because of Dhamma.  The Lord Buddha taught the Dhamma Principles and his teachings for the assembled arahants in that day to disseminate and save the beings from sin.



      Magha Puja Day is the special holy day which usually falls on the full moon day of the 3rd lunar month, sometimes the Buddhists call “the day which the moon is occupying the Magha auspicious time”.   The Buddhists usually do the activities and ceremonies on Magha Puja Day in the middle of the 3rd lunar month, but if there is 2 times of the 8th lunar month, the activities will delay to do in the middle of the 4th lunar month.  The Magha Day is important because it is the meeting anniversary of the arahants who assembled without any schedule.  This day is also called to be “The Day of Four Marvelous Events” which occurred at the Veluvana Maha Vihara after the Lord Buddha had enlightened for 9 months.


      On that Day the Lord Buddha taught “Ovadapatimokha” which is the Heart of Buddhism.  This teaching consists of the goals, principles and procedures of Buddhism completely.

1.    The Goal of Buddhism is Nirvana.
2.    The Principles of Buddhism are the practitioners have to be patient in self-cultivation to achieve goal which are consists of
a.    Not to commit any kind of sins
b.    Do only good things
c.    Purify one’s mind.
3.    The procedure is the practitioners have to cultivate themselves continuously until their Eightfold Path occurs or until they have precepts, meditation and knowledge well.  The Eightfold Path is similarly to the 8-strand rope.  The precepts, meditation and knowledge are similarly to the 3-strand rope.  They develop their actions, speeches and mind to do, say or think only good things.  They should not fall in the power of defilements which are greed or lust, anger, and delusion.  They should not fall in the power of defilements or passions such as sexual desire, foolish aspiration to receive something, foolish aspiration not to receive something, example – not want to lose their fortune, rank, praise or happiness, etc.

What were the Four Marvelous Events on Magha Puja Day?
1.    It was the full moon and holy day.  The moon occupied the Magha Auspicious Time.
2.    All 1,250 monks gathered there without any schedule.
3.    All assembled monks were arahants.
4.    All assembled monks were ordained by the Lord Buddha.


      Now the government has announced that Magha Puja Day is the official Thai holiday.  On this day there will be many activities and ceremonies, example, offering the morning alms round, listening to Dhamma, doing the candle light procession, etc to worship and remind the Triple Gems and the important events mentioned above.
     In 2006 Thai government had appointed Magha Puja Day as “The National Grateful Day” because in the current Thai society Thai teenagers often make love on Valentine Day. So many organizations have made the campaign Magha Puja Day to be the Pure Love Day.

-------------------------------------------------------------------------
Refhttp://www.dmc.tv/pages/en/scoop/Magha-Puja-Day.html

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

รวมภาพเคลื่อนไหวGIF เด็ดๆ จาก G+

ขอขอบคุณผู้แชร์ภาพเหล่านี้ผ่าน Google+



มันใช่ส้มหรือไม่


ทำเขา โดนซะเอง


โต๊ะนี้ดีไซน์เลิศมาก!


ทำไปเพื่ออะไร


เจอเต่ากัดลิ้นเข้าให้


มันคือขวดน้ำ จริงๆนะ


หลุมมันต้องลึกโครตๆ



ใสปิ๊งอะำไรจะขนาดนั้น



รวมภาพดี ดี มีความหมาย







เคยเผลอขับรถชนน้องหมาตายไหม?







ขับรถชนสุนัข
(คำถามจากสมาชิกเพจ www.facebook.com/ThanavuddhoStory)
นมัสการพระอาจารย์ : ผมมีเรื่องไม่สบายใจ คือ เมื่อวานผมเผลอขับรถชนสุนัขตายโดนไม่ตั้งใจ ผมจะบาปมากมั้ยครับ ผมตั้งใจจะใส่บาตรอุทิศส่วนบุญและขออโหสิกรรมกับเค้า แต่ว่าภาพมันยังติดตาอยู่ครับ ต้องคิดหรือทำอย่างไรดีครับถึงจะเบาใจลงได้...กราบขอบคุณพระอาจารย์ล่วงหน้าครับ (-/\-)

ตอบ
เราอย่าไปเสียเวลากังวลใจเลยนะ ใจจะเศร้าหมองเปล่า ๆ ว่ากันโดยศีล เราไม่มีเจตนาจะฆ่า ศีลก็ไม่ได้ขาดอะไร และเพื่อความสบายใจก็ควรทำบุญ ไม่ว่าจะเป็นให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ รวมทั้งขออโหสิกรรมด้วยก็ช่วยได้มาก
ลองนึกกันเล่น ๆ ดูสิว่า ตลอดการเวียนว่ายตายเกิดที่ผ่านมา เราเคยทำกรรมชั่วมามากน้อยกันขนาดไหน ถ้าเราเอาแต่จำเรื่องเหล่านี้เอาไว้ ใจของเราจะไม่มีเวลาเป็นสุขเลยแม้ครู่เดียว ดังนั้น ดีที่สุดคือเมื่อทำความผิดใดไป ให้รู้ตัว ระมัดระวัง แล้วรีบแก้ไขอย่าให้พลาดอีก จากนั้นก็ตั้งหน้าตั้งตาทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป แล้วก็หมั่นนึกถึงบุญที่ทำไปบ่อย ๆ ใจจะได้ผ่องใส ชีวิตก็มีความสุขนะ
บุญรักษา

สติปัฏฐาน 4 เบื้องต้นและเบื้องลึก

ขอเสนอสติปัฏฐาน 4, 2 นัย ดังต่อไำปนี้

สติปัฏฐาน 4 ตามพจนานุกรมฉบับประมวลธรรม

1. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณากายให้รู้เห็น ตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ) ท่านจำแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ 1 อิริยาบถ กำหนดรู้ทันอิริยาบถ 1 สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง 1 ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ 1 ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็น ธาตุแต่ละอย่างๆ 1 นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น 1
2. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ) คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ) คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ
4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน (การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา) คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ.





สติปัฏฐาน ตามนัยของคำสอนพระมงคลเทพมุนี

1.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน "กาเย กายานุปัสสี" คือตามเห็นกายในกายและ"อาการ"ของกายในกายเหล่านั้นเข้าไป เพราะในกายเรานี้ ใช่จะมีแต่กายเนื้ออย่างเดียว

2.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน "เวทนาสุ เวทนานุปัสสี" คือตามเห็นการเสวยสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ของกายในกายนั้น

3.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน "จิตเต จิตตานุปัสสี" คือตามเห็นจิตในจิต จิตของกายแต่ละกาย จิตโดยย่อ ๘๙ โดยพิสดาร ๑๒๑ ดวง ดวงไหนมีกิเลส ดวงไหนไม่มี ดูให้หมด

4.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน "ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี" คือเห็นตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เห็นกันเข้าไปเป็นชั้นๆ อย่างนี้ ตามเห็นเข้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเห็นดวงธรรมที่ทรงรักษากายธรรมเอาไว้ ที่มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม สรุปคือ ดูเหตุในเหตุ ไปถึงที่สุดเป้าหมายใจดำ