[ก๊อบเก็บไว้ เผื่ออนาคตจะเอามาแชร์]
ฮอร์โมนคงไม่ใช่ละคร
เรื่องเดียวที่ถูก"ผู้ใหญ่" เพ่งเล็ง
และอาจจะถูกแบนได้หากผู้ใหญ่พิจารณาแล้วว่าเนื้อหา "ไม่เหมาะสม"
ยังมีละครและหนังอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่ถูกแบนถูกเซ็นเซอร์อยู่เนืองๆ
ในสังคมที่มี"ผู้ใหญ่"
ที่ใช้ตัวเองเป็นมาตรวัดทางศีลธรรมและใช้ตัวเองตัดสินว่าเรื่องนั้นดีงาม
เรื่องนี้ไม่ดีงามอยู่เสมอๆ
ในมุมมองของ"ผู้ใหญ่" เด็กก็ยังเป็นเด็กอยู่วันยันค่ำหากอยากให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ก็ต้องป้อนแต่สิ่งดีๆ ให้พวกเขา
"เด็ก" ที่ว่านี้ไม่ได้หมายความถึงเยาวชนเท่านั้น แต่หลายครั้งที่"เด็ก" ในนิยามของ "ผู้ใหญ่" หมายถึงประชาชนในวงกว้าง
"ผู้ใหญ่"ใน
สังคมไทยมักมองว่าประชาชนเป็นเด็กที่รู้น้อยกว่าตัวเอง
มีสำนึกทางศีลธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงต้องคอยควบคุมสื่อต่างๆ
ให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องดีงามมีคำสอนหรือบทสรุปท้ายรายการให้กระจ่างชัด
"เด็ก"จะได้ไม่นำไปเลียนแบบ
แต่"ผู้ใหญ่" คงลืมไปว่า "เด็ก"
มีศักยภาพที่จะเติบโตทางความคิดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ผ่านการลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง ผ่านการคิดวิเคราะห์ด้วยสมองที่มี
และผ่านตัวอย่างทั้งร้ายดีผสมกัน
สิ่งเลวร้ายและสิ่งดีซึ่งมีอยู่ในโลกความจริง
หาก
เรายอมรับความจริงเราก็จะได้เรียนรู้จากความจริงแต่หากเราหลอกตัวเอง
นั่งฝันว่าบ้านเมืองและสังคมเราสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย
ไม่มีเด็กนักเรียนมีเซ็กส์กันไม่มีเด็กนักเรียนทำแท้ง
ไม่มีพระที่หลุดออกนอกกรอบพระวินัยไม่มีสิ่งที่ไม่ดีงาม
และทำละครหรือหนังเพื่อบอกเล่าแต่"ตัวอย่าง" ที่ดี
เราจะได้เรียนรู้โลกความจริงได้อย่างไร
บ่อยครั้งในชีวิตที่เราเรียน
รู้จากความผิดพลาดของผู้อื่น บ่อยไปที่เราคิดได้จากการอ่าน ฟัง ดู
ชีวิตของตัวละครในโลกจินตนาการที่สมจริง
และความ"คิดได้"
นี้จะยิ่งฝังลึกในสมอง หากมันผ่านการคิดใคร่ครวญ คิดวิเคราะห์ ด้วยตัวเอง
ไม่ต้องให้พระเอก นางเอก ครู พระ หรือฮีโร่คนไหนในละครมาพูดสอนตอนอวสาน
แต่"ผู้ใหญ่"
ทั้งหลายไม่เชื่อใน "ศักยภาพในการคิดเป็น"ของประชาชน ที่เขามองเห็นว่าเป็น
"เด็ก" อยู่เสมอ กลัวว่าหากได้เห็นตัวอย่างที่ไม่ดีแล้วจะนำไปเลียนแบบ
เป็นไปได้ไหมว่า"ผู้ใหญ่"
ที่ปรารถนาดีทั้งหลายอาจเข้าใจว่าประชาชนไทยไม่มีความสามารถในการอ่าน
"การ
อ่าน" ที่ไม่ได้หมายความว่าสะกดคำและอ่านออกเสียงได้เท่านั้น
แต่ยังหมายถึงการ "อ่าน" ความหมายที่สอดแทรกอยู่ระหว่างเนื้อหา"อ่าน"
แล้วคิดวิเคราะห์ ถกเถียง เชื่อมโยง คิดค้านคิดโต้ คิดต่อ ซึ่งนำมาซึ่งการ
"คิดเอง"
การเรียนแบบท่องจำในโรงเรียนจนเคยชินอาจทำให้"ผู้ใหญ่"
หลงคิดไปว่า เวลาบอกให้อ่านอะไรแล้วเด็กจะไม่คิดต่อคิดโต้เลย
เด็กจะท่องจำไปทำต่อโดยอัตโนมัติ
อ.นิธิเอียวศรีวงศ์
เพิ่งเขียนถึงเรื่อง "อ่านหนังสือ"
โดยบอกว่า"การอ่านเป็นวัฒนธรรมที่ผูกพันกับวิถีชีวิตทั้งหมด
ไม่ใช่ช่วงเวลาหนึ่งที่คนเอาตาจ้องตัวอักษร"
การที่คนเราจะ"อ่าน
หนังสือเป็น" นั้นต้องผ่านการฝึก เพราะถ้าไม่ผ่านการฝึก เราก็จะเป็นแค่คน
"อ่านหนังสือออก"คือเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน
แต่ไม่ได้ความคิดจากการอ่าน
อ.นิธิเปรียบว่าเหมือนการอ่านป้ายเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด
"เราไม่ได้อ่าน
หนังสือเพื่อรับรู้ประสบการณ์ของคนอื่น
แต่อ่านหนังสือเพื่อทำให้เเรามองเห็นประสบการณ์ของเราเองจากอีกมิติหนึ่ง
ซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อน คิดสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรือคิดต่าง
คิดลึกไปกว่าเดิมรวมทั้งเหลาความสามารถที่จะรู้สึกของเราให้แหลมคมขึ้น"
--วรรคนี้อ่านแล้วพยักหน้าหงึกหงัก
แต่สังคมไทย(ตั้งแต่ในโรงเรียน)
เราถูกฝึกให้ "อ่านออก" ไม่ใช่"อ่านเป็น"
การอ่านจึงไม่สนุกโดยสิ้นเชิงเพราะอ่านแล้วไม่ได้คิด ไม่ได้ถกกัน
ครูไม่ได้เอามาชวนวิเคราะห์ต่อกันในห้องเมื่อไหร่ที่พูดถึง
"การอ่านหนังสือ" จึงกลายเป็นเรื่องที่เด็กๆ(รวมถึงคนที่โตแล้ว)
เบื่อหน่ายและส่ายหน้า
เราไม่ใช่สังคมที่อ่านหนังสือไม่ออกแต่เราขี้
เกียจอ่าน หนัง ละคร วรรณกรรมหรือบทกวีที่ไม่ได้บอกกันตรงๆ
จึงขายได้น้อยกว่าฮาวทูที่บอกทางลัดเป็นข้อๆ ให้ทำตาม
และละครที่มีคำสอนท้ายเรื่อง ตัวละครขาวจัดดำจัด ชั่วก็ชั่วสุดๆ
ดีก็ดีเลิศอย่างกับนางฟ้า จึงยังได้รับความนิยมมาโดยไม่เคยเปลี่ยนแปลง
แต่
นิสัยขี้เกียจอ่านของเราก็เกิดจากการที่"ผู้ใหญ่" ไม่ปล่อยให้เรา "อ่าน"
สิ่งต่างๆ ไม่ปล่อยให้คนในสังคมได้คิดวิเคราะห์ ถกเถียง
จากสื่อที่นำเสนอเรื่องราวที่หลากหลายเสนอแง่มุมความจริงบางอย่างของสังคม
มิใช่โลกในนิยายที่มีแต่คุณชายหน้าตาดี
และผู้หญิงที่ปลอมตัวเป็นผู้ชายเพื่อมาทวงสมบัติเจ้าคุณปู่คืนด้วยการโชว์
ปานรูปแมวน้ำที่แก้มก้นข้างซ้าย หรืออะไรทำนองนั้น
ถ้า
ใช้ชีวิตอยู่ห่างจากความจริงและถูก"ผู้ใหญ่" ริบเอา "สิ่งที่จะอ่าน"
สิ่งที่จะทำให้คิดเองได้แบบนี้ไปตลอดเวลา
แล้วเมื่อไหร่ที่คนในสังคมจะได้เติบโตทางความคิดไปพร้อมๆ กัน
ไม่แน่
ใจเหมือนกันว่า"ผู้ใหญ่" ที่ไม่ยอมปล่อยให้ประชาชนได้ฝึกการอ่านสิ่งต่างๆ
จากสื่อที่มีเนื้อหาหลากหลาย
เขาหวังดีกับประชาชนและสังคมอย่างที่กล่าวอ้างหรือเปล่าหรือเขาอาจ "ใหญ่"
และมีอำนาจจนเคยตัวและคิดว่ายิ่งประชาชนอ่านไม่เป็น คิดไม่เป็น
ก็ยิ่งเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทปกครองง่าย ไม่หือ ไม่อือ
ไม่คิดตั้งคำถามกระทั่งว่าเกณฑ์ในการตัดสินว่าละครหรือหนังเรื่องไหน
"เหมาะสม"นั้นอยู่ในกำมือของ "ผู้ใหญ่" แค่ไม่กี่คนเท่านั้นเองหรือ
หาก"เด็กๆ" ไม่เติบโต "ผู้ใหญ่" ก็จะมีอำนาจ ใช้อำนาจและควบคุมตัดสินสิ่งที่จะป้อนให้เด็กๆ ได้อย่างเต็มที่ต่อไปตราบชั่วกาลนาน
แต่สังคมที่ดีและมีความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ควรเต็มไปด้วย"เด็ก" ที่คิดไม่เป็น และยิ่งไม่ควรเต็มไปด้วย "ผู้ใหญ่"ที่คิดไม่เป็น
ปล่อยให้พวกเราได้"อ่าน" กันบ้างเถิดครับ
ไม่
ควรรณรงค์เรื่องเมืองหนังสือโลกกันด้วยการแขวนโปสเตอร์"อ่านกันสนั่นเมือง"
เท่านั้นแต่ควรปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านทุกสิ่ง อ่านชีวิตอ่านโลก อ่านสังคม
อ่านการเมือง อ่านหนัง อ่านละคร อ่านฮอร์โมน อ่านดาว อ่านไผ่ อ่านสไปรท์
อ่านเต้ย ให้เกิดขึ้นด้วย
เพราะหากเรามีนิสัยของการ"อ่าน" ติดตัว
สิ่งเลวร้ายทั้งหลายก็จะทำร้ายเราได้ยาก
เพราะเราจะไม่ท่องจำและเลียนแบบเหมือนนกแก้วนกขุนทองอีกต่อไป
แต่เราจะ"อ่าน" และ "คิด" กับทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต
ปล่อยให้
พวกเรา"อ่าน" และคิดเองบ้างเถิดครับ
"ผู้ใหญ่"แล้วงานของพวกท่านจะเบาลงอีกเยอะ
เอาเวลานั่งแบนหนังแบนละครไปคิดอะไรที่มีประโยชน์ให้บ้านเมืองได้อีกมาก
ยิ่งแบนหนังแบนละครก็ยิ่งทำให้สังคมได้ประชาชนแบนๆ มากขึ้นทุกวัน
สังคมแห่งการอ่านจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีสิ่งต่างๆ ให้อ่านอย่างเสรีและหลากหลายเท่านั้น