วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บุคคลร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ(นอกอินเดีย)


วันนี้มีความคิด ยกเรื่องราวบนประวัติศาสตร์โลกสมัยพุทธกาล
ใครบ้างที่ได้อยู่ร่วมสมัยกับเจ้าชายสิทธัตถะ(นอกอินเดีย)

Nebuchadnezzar II  ผู้สร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน สิ่งมหัศจรรย์ของโลก สิ้นพระชนม์หลัง เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ 1 ปี
ไซรัสมหาราช กษัตริย์เปอร์เซีย
Servius Tullius กษัตริย์โรมัน สมัยก่อนสาธารณรัฐ
Amasis II ฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 26 แห่งอียิบต์
โจวจิ้งหวาง, กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวแห่งจีน
โจวหลิงหวาง กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวแห่งจีน ผู้สร้างสุสานทรงพีระมิดในจีน
อ๋อง 7 แคว้น ยุคชุนชิว
โซโรอัสเตอร์ ผู้ก่อตั้งความเชื่อแบบโซโรอัสเตอร์ในเปอร์เซีย
ขงจื๊อ เกิดหลังประกาศโอวาทปาติโมกษ์ 1 ปี
เล่าจื๊อ ผู้ตั้งลัทธิเต๋า
ซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม เกิดก่อนปรินิพพาน 1 ปี
Solon รัฐบุรุษ และกวีชาวกรีก
Thales นักปรัชญาชาวกรีกรุ่นแรก
Epicharmus  นักปราชญ์และนักประพันธ์(ดราม่า)ชาวกรีก
พีธากอรัส นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก
จักรพรรดิ Suizei แห่งญี่ปุ่น
Croesus กษัตริย์แคว้น Lydia เจ้าของวลี "Rich as Croesus" รวยอย่างครีซัส

รวบรวมจาก www.wikipedia.org

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พูดมาก ไม่ใช่อย่างเดียวกับคนพูดเก่ง

A man is not called wise
Merely because he speaks much.
Secure, hateless and fearless -
Such a man is called wise


เพียงแต่พูดมาก ไม่จัดว่าเป็นบัณฑิต

คนที่ประพฤติตนให้เกษม
ไม่มีเวร ไม่มีภัย
จึงควรจะเรียกว่า เป็นบัณฑิต

รวมสิ่งน่าสนใจ 13-11-12

เราจะมีโอกาสร้างบารมีได้ตอนมีชีวิตอยู่ พอถอดกายปั๊บ จะรวยสักแสนล้านหมดสิทธิ์ใช้ จะใช้ทำอะไรก็ทำ สร้างบารมีก็ต้องสร้างตอนที่ยังมีความพร้อมของกายมนุษย์ เพราะกายมนุษย์สำคัญมาก เป็นกายเดียวที่แข็งแกร่ง แรงกว่ากายอื่น ๆ ใดในภพสาม

อนุบาลฝันในฝันฯ (รอบทบทวนเอง)
 
 
 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=476267802416208&set=at.323668064342850.75456.100000989776536.1425657243&type=1&relevant_count=1&ref=nf
 
 
 
 

-การให้ผลของกรรม โดย...หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม-



กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาตินี้(ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม)
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติหน้า(อุปปัชชเวทนียกรรม)
กรรมบางอย่าง อาจจะให้ผลในชาติต่อๆไป(อปราปรเวทนียกรรม)


การปลูกพืชหรือต้นไม้ ไม่ใช่พอวางเมล็ดลงไปในดิน พืชหรือต้นไม้จะขึ้นและให้ผลทันที พืชบางอย่างก็ให้ผลเร็ว พืชบางอย่างก็ให้ผลช้าเป็นปีๆ เช่นข้าว เพียง ๔ - ๕ เดือนก็ให้ผล แต่ต้นมะพร้าวหรือทุเรียน กว่าจะให้ผลก็ใช้เวลาถึง ๕ ปี

การที่คนทำความชั่วยังได้ดีมีสุขอยู่ จึงเป็นเพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำยังเป็น อุปัตถัมภกกรรม คอยสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่กรรมดีอ่อนกำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเป็น อุปฆาตกรรม ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยนสภาพไปอย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเศรษฐีอาจจะต้องเป็นยาจก เคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจวาสนา อาจจะถูกฟ้องร้องต้องโทษจำคุก หรือต้องเที่ยวหลบหนีเร่ร่อนไม่มีแผ่นดินจะอยู่

คนที่ไม่เชื่อเรื่องของกรรม มักจะมองเห็นผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นผู้มีสายตามืดมัว มองไม่เห็นการให้ผลของกรรมชั้นศีลธรรม บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นคนไม่เชื่อในเรื่องตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมาเพียงชาตินี้ชาติเดียว ก็สิ้นสุดลง คนพวกนี้เมื่อทำความชั่วและความชั่วยังไม่ให้ผลก็คิดว่าตนเป็นคนฉลาด ดูถูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นคนโง่ งมงาย คนพวกนี้เหมือนคนที่กินขนมเจือยาพิษ ตราบใดที่ยาพิษยังไม่ให้ผลก็คิดว่าขนมนั้นเอร็ดอร่อย

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

rewrite asupa

23-8-2555

มาปลงอสุภะกันบ้างก็ดี



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๙. กายคตาสติสูตร (๑๑๙)

พิจารณาร่างกายเป็น ธาตุ ๔ 

[๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค ผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้วนั่งแบ่งเป็นส่วนๆ ใกล้ทางใหญ่ ๔ แยก ฉันใด





ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แล ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำรงอยู่ โดยธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม 




เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ





พิจารณาเป็น "นวสี" คือ ป่าช้าทั้ง ๙ 

๑. ศพที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลือเยิ้ม
[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็น "ศพ" ที่เขาทิ้งในป่าช้า อันตายได้วันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ที่ขึ้นพอง เขียวช้ำ มีน้ำเหลืองเยิ้ม จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ 









เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ




๒. ศพที่ถูกหมู่สัตว์กัดกิน
[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเห็นศพที่เขาทิ้งในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขป่ากัดกินอยู่บ้าง สัตว์เล็กสัตว์น้อยต่างๆ ชนิดฟอนกินอยู่บ้าง จึงนำเข้ามาเปรียบเทียบกายนี้ว่า แม้กายนี้แล ก็เหมือนอย่างนี้ เป็นธรรมดา มีความเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงอย่างนี้ไปได้ 






เมื่อภิกษุนั้นไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมละความดำริพล่านที่อาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความดำริพล่านนั้นได้ จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่ แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ภิกษุก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ ฯ





***********************

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

a well-thatched house,

Even as rain gets not into a well-thatched house,
Even so lust penetrates not a well-developed mind.
                                             --The Dhammapada (14)

เรื่อนที่มุงเรียบร้อย ฝนย่อมไหลเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี ราคะไม่มีวันเข้าครอบงำ
                                              พระธรรมบท -14-

ยถา อคารํ สฺุฉนฺนํ
วุฏฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ๑๔ฯ

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

132 happiness

Whoso, himself seeking happiness,
Harms not pleasure-loving beings -
He gets happiness
In the world to come.

สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องการความสุข
ผู้ที่ต้องการความสุขแก่ตน
ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น
ตายไปแล้วย่อมได้รับความสุข

สุขกามานิ ภูตานิ
โย ทณฺเฑน น หึสติ
อตฺตโน สุขเมสาโน
เปจฺจ โส ลภเต สุขํฯ ๑๓๒ฯ

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

“สัมมาอะระหัง”




คำว่า “สัมมาอะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์ “สัมมา” ศัพท์หนึ่ง “อะระหัง” ศัพท์หนึ่ง

“สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัมพุทโธเป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค ๘ ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น

ส่วนศัพท์ว่า “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น สัมมาอะระหัง ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรม “สัมมาอะระหัง” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสสติโดยแท้

บท “สัมมาอะระหัง” นี้ โบราณาจารย์สมัยก่อนท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณทีละอักษร ในบทภาวนานี้ มี ๕ อักษร คือ สัม, มา, อะ, ระ, หัง แต่ละอักขระหรือแต่ละอักษรไปนี้ ท่านโบราณาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้

(สัม)
สงฺขตาสงฺขเต ธมฺเม สมฺมา เทเสติ ปาณินํ
สํสารสฺส วิฆาเฏติ สมฺพุทฺธํปิ นมามิหํ ฯ

๑. พระพุทธองค์ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรม โดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย
๒. พระพุทธองค์ ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้
๓. พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ท่านบอกอุปเท่ห์ คือวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล

(มา)
มาตาว มานปาลิเต มานสตฺเต ปมทฺทิ โย
มานิโต เทวสงฺเฆหิ มานฆาตํ นมามิหํ ฯ

๑. พระพุทธองค์ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) ที่มานะ (ความถือตัว) เลี้ยงไว้ดุจมารดา
๒. พระพุทธองค์ อันหมู่ทวยเทพยอมรับนับถือ
๓. พระพุทธองค์ทรงทำลายมานะได้
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน หมายความว่า ถ้าบังเอิญท่านต้องเผชิญกับคนใจแข็ง ให้มีอันแข็งข้อ แข็งกระด้างเอากับท่านอย่างนี้แล้ว โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้ใช้คาถาบทนี้ แก้ไขเหตุการณ์

(อะ)
อนุสฺสาหสพฺพสตฺตานํ อนุสฺสาเหติ โย ชิโน
อนนฺตคุณสมฺปนฺโน อนฺตคามี นมามิหํ ฯ

๑. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนคนไม่มีอุตสาหะ ให้มีความอุตสาหะ
๒. พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมไม่สิ้นสุด
๓. พระพุทธองค์ทรงถึงที่สุดแห่งทุกข์
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้ หมายความว่า ถ้าท่านต้องเข้าป่าที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม หรือต้องลงน้ำในย่านที่มีสัตว์น้ำอันตราย ถ้าทำใจให้เป็นสมาธิ ภาวนาคาถาบทนี้ จะป้องกันสัตว์ร้ายได้

(ระ)
รโต นิพฺพานสมฺปตฺโต รโต โส สตฺตโมจโน
รมาเปติธ สตฺเต โย รมทาตํ นมามิหํ ฯ

๑. พระพุทธองค์ทรงยินดีในธรรม ได้ทรงบรรลุถึงพระนิพพาน
๒. พระพุทธองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์
๓. พระพุทธองค์ทรงยังสัตว์ให้ยินดีในพระนิพพาน
๔. พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงประทานให้ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ยินดี
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ ถ้าใครยึดมั่นท่องบ่นภาวนาเป็นนิจ สามารถป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวงได้

(หัง)
หญฺญติ ปาปเก ธมฺเม หํสาเปติ ปทํ ชนํ
หํสมานํ มหาวีรํ หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ

๑. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปธรรม
๒. พระพุทธองค์ยังชนให้ยินดี ซึ่งทางฆ่าบาปนั้น
๓. พระพุทธองค์ทรงร่างเริง
๔. พระพุทธองค์ทรงกล้าหาญยิ่งใหญ่
๕. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปได้แล้ว
ข้าพเจ้าขอนมัสการ

พระคาถาบทนี้ โบราณาจารย์ท่านแนะนำว่า ให้หมั่นเพียรภาวนาเมื่อจะเข้าสู่ณรงค์สงคราม ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้

พระคาถา แสดงความหมายว่า แต่ละอักขระของบท สัมมาอะระหัง ที่นำมาลงไว้พร้อมทั้งอุปเท่ห์ คือวิธีใช้นี้สำหรับผู้ที่นับถือและเชื่อมั่นภาวนาให้จริงจัง จนจิตเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมได้ผลจริงดังใจหมาย
ที่มา [http://www.watpaknam.org/meditation/page_07.php]

อุปกิเลส 16

เครื่องเศร้าหมอง อีกนัยหนึ่ง มีชื่อว่า อุปกิเลส มีจำนวน ๑๖ คือ

๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา กิเลสตระกูล โลภะ

๒. โทสะ ร้ายกาจ ทำลาย กิเลสตระกูล โทสะ

๓. โกธะ โกรธ เดือดดาล กิเลสตระกูล โทสะ

๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ กิเลสตระกูล โทสะ

๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน กิเลสตระกูล โมหะ

๖. ปลาสะ ตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน กิเลสตระกูล โมหะ

๗. อิสสา ริษยา กิเลสตระกูล โมหะ

๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ กิเลสตระกูล โลภะ

๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห์ กิเลสตระกูล โลภะ

๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด กิเลสตระกูล โมหะ

๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ กิเลสตระกูล โมหะ

๑๒. สารัมภะ แข่งดี กิเลสตระกูล โมหะ

๑๓. มานะ ถือตัว กิเลสตระกูล โมหะ

๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน กิเลสตระกูล โมหะ

๑๕. มทะ มัวเมา กิเลสตระกูล โมหะ

๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ กิเลสตระกูล โมหะ

Find ye refuge

Make a refuge unto yourself
Quickly strive and become wise.
Purge the taint and free from strain,
to heavenly state of the "Ariya" will you Attain.

เธอจงสร้างที่พึ่งแก่ตัวเอง
รีบพยายามขวนขวายหาปัญญาใส่ตัว
เมื่อเธอหมดมลทิน หมดกิเลสแล้ว
เธอก็จักเข้าถึงทิพยภูมิของพระอริยะ
--คัมภีร์พระธรรมบท ฯ๒๓๖ฯ

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติการพับดอกบัวของชมรมพุทธจุฬาฯ



ประวัติวัฒนธรรมการพับดอกบัวของชมรมพุทธจุฬาฯ ในความทรงจำของเจ้าของบล็อก


ย้อนไปตั้งแต่ชมรมพุทธจัดระเบียบตัวเองใหม่สมัยหลวงพี่ฐานะฯ กิจกรรมทุกๆอย่างถูกยกคุณภาพไป พร้อมๆกัน ในนั้นคือ การจัดดอกบัวถวายพระ ซึ่ง คาดว่าน่าจะเป็นอ.เสาวลักษณ์ ที่แนะนำใช้นิสิตชมรมพุทธฯจุฬา ได้รู้จักกับอาจารย์จุฬาท่านหนึ่งซึ่งรับใช้ใกล้ชิดกับวังสระปทุม ซึ่งท่านได้เมตตาสอนวิธีพับดอกบัวถวายพระในแบบชาววัง ซึ่งชมรมก็ได้ยึดถือแบบแผนนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หลายๆปีที่ผ่านมา เรื่องราวการจัดดอกบัวในชมรมถูกเล่ากันในแบบปากต่อปาก เรื่องราวจึงอาจจะเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันถึงความเป็นมาจริงๆได้ และชื่อของการพับดอกบัวก็หายไปด้วย แต่จากการหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ก็ได้ความว่าดังนี้

รูปแบบการพับดอกบัว







แบบที่ 1. แบบบัวบาน








2. แบบกุหลาบ หรือ



แบบมะลิ


*ความต่างอยู่ที่การดุนโคนกลีบให้โค้งเว้า ซึ่งไม่มีในแบบมะลิ





3. แบบดอกพุดตาน หรือ



แบบตรีมณี

*ต่างที่ลักษณะการพับจีบเข้ากลางกลีบ




4.แบบดาวกระจาย




5.ดอกบัวตูม


ลักษณะการจัดดอกบัวในแจกัน


เรียงตามความสูงและความละเอียดในการพับ โดยแบบที่ 1 จะเป็นดอกที่ก้านยาวที่สุด ซึ่งหมายความว่าเป็นดอกที่อยู่บนสุด และลดหลั่นลงมาเป็นดอกที่ 2,3,4,5









คติเกี่ยวกับการพับดอกบัว


คติทั่วไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.......

ได้เปรียบมนุษย์ดังดอกบัว 4 เหล่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธนำดอกบัวไปไหว้พระ หรือถวายพระ ก็เครื่องแสดงการสักการะว่าพร้อมที่จะเป็นบัวที่เบ่งบานพร้อมที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานบัวบานไปถวายพระ ***เน้นว่าเป็นดอกบัวบาน***เมื่อโลกเปลี่ยนไป การนำดอกบัวบานมาถวายพระทำได้ไม่สะดวกนักในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องการตลาด (สมัยก่อนไม่ต้องไปซื้อหาดอกบัวที่ไหน ก็เก็บเอาในหนองน้ำ ในบึงข้างบ้านก็ได้แล้ว) อีกทั้งดอกบัวบานจะมีเวลาในการคงอยู่น้อยกว่าดอกบัวตูมหลายๆ คนก็ไม่มีเวลามาเปลี่ยนดอกบัวบ่อยๆ จึงเป็นเหตุให้ดอกบัวตูมมาแทนที่ ดอกบัวบาน *** แล้วคนเราก็พับกลีบดอกบัว หรือจับจีบดอกบัว เพื่อให้เป็นดอกบัวบานไปแทน การพับดอกบัวที่ถูกตามคติธรรม จึงควรพับดอกบัวให้ถึงกลีบสุดท้าย ถึงใจเกสร***.....






คติในชมรม

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว น่าจะเกิดความสงสัยว่า ในเมื่อคติกล่าวเรื่องบัวสี่เหล่า ทำไมชมรมจึงจัดดอกบัวไว้ถึง 5 ดอก

เรื่องของเรื่องก็คือ โลกและจักรวาลที่เราท่านอยู่อาศัยนี้ เกิดดับขึันมากมายหลายครั้งนับไม่ถ้วน ตั้งแต่มหานรกยัน พรหมโลก ล้วนถูกทำลายล้างด้วย ไฟ น้ำ และลมบรรลัยกัลป์ทั้งสิ้น เมื่อเวลานั้นมาถึง (ตั้งแต่สุทธาวาส ถึงอรูปพรหมไม่บุบสลาย) และเมื่อถึงเวลาที่เกิดโลกและจักรวาลใหม่ ที่เรียกว่า ต้นกัป จะมีนิมิตที่บอกถึงความวิเศษ ของแต่ละกัปนั้น นั่นก็คือ การมี/ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น และจะมีทั้งหมดกี่องค์
และนิมิตบ่งบอกนั้นคือ จำนวนดอกบัวแห่งจักรวาลนั้นเอง




พระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า โลกยุคเรานี้ มีนิมิตดอกบัวบังเกิดขึ้นถึง 5 ดอก ซึ่งนับว่าเกิดขึ้นได้ยากที่สุด มีชื่อเรียกว่า ภัทรกัป เพราะนั่นหมายถึง โลกนี้จะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดถึง 5 พระองค์

ซึ่งรายพระนามของแต่ละพระองค์มีดังนี้

1.พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของภัทรกัปนี้

2.พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองของภัทรกัปนี้

3.พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สามของภัทรกัปนี้

4.พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สี่ของภัทรกัปนี้




5.พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ห้า หรือพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้

สำหรับในยุคปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในยุคของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงอันตรกัปที่ 12-และในอนาคตกาลอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ (กล่าวคือ...อีกเพียงอสงไขยปีเศษ)-พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลก ในช่วงอันตรกัปที่ 13)


โปรดอ่านเพิ่มเติ่มที่


http://www.dmc.tv



ดังนั้นการจัดดอกบัวห้าดอกนั้น ก็คือการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ เรียงตามความสำคัญ หรือ ลำดับการบังเกิดบนภัทรกัปนี้ ซึ่งทราบกันแล้วว่า พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นยุคที่สำคัญมากที่สุด เพราะมีสภาพเกื้อกูลต่อการเข้าถึงธรรมมากที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวพุทธมักอธิษฐานไปเกิดในยุค"พระศรีอาริย์" (อ่านว่า พระ-สี-อาน) ซึ่งก็คือยุคพระศรีอริยเมตไตรย์ นั่นเอง


อานิสงส์ของการจัดดอกบัวบูชาพระ

การพับดอกบัวเป็นงานละเอียดอ่อน ต้องอาศัยสมาธิที่ประกอบไปด้วยใจที่หยุดนิ่ง ผ่องใส ประณีต เบาสบาย จึงนับเป็นการฝึกสมาธิตื้นไปในตัว หรือ เจริญสติ ด้วย
...............................................................................
บุญถวายดอกบัวบูชาพระเจดีย์ มีอานิสงส์โดยย่อ คือ ทำให้เกิดในตระกูลสูง รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีกลิ่นกายหอมฟุ้ง เป็นต้น ดังเช่น พระอุบลวรรณาเถรี

(พระเทพญาณมหามุนี)



เรียงอานิสงส์ตามข้อ


1.ทำให้เกิด ในตระกูลบัณฑิตนักปราชญ์


2.เป็นที่สักการะ เคารพรัก เลื่อมใสของชนทั้งหลาย


3.ได้ทรัพย์สมบัติที่น่าปลื้มใจ


4.มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส กลิ่นกายหอม


5.จิตใจผ่องใส นึกถึงบุญได้ง่าย จึงทำให้ตัดโอกาสพลัดไปสู่อบายภูมิ มีแต่สุคติเป็นที่ไป


6.ได้เกิดในปฏิรูปเทส ดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง


7.ได้โอกาสพบ พระพุทธเจ้า พระอริยบคคล ได้ฟังธรรมและบรรลุธรรมโดยง่ายโดยทันที



................... ขออนุโมทนาบุญต่อทุกท่านผู้อ่านครับ ขอให้เจริญในธรรม บุญรักษาครับ


Thanaphol Bank Supruenruai

approved by Trenete S.Prime


แหล่งอ้างอิง

ที่มา http://www.kroobannok.com/blog/14112


http://www.dmc.tv



ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ

https://picasaweb.google.com/108547565457630251377


http://www.dmc.tv


วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โทษของกาม

ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเปรียบเทียบความสุข อันเกิดแต่กามไว้อย่างไรบ้าง ?
พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืนอยู่ใกล้เขียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึงโยนร่างกระดูที่เชือดชำแหลออกจนหมดเนื้อแล้วเปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข ฉันใด....



“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยวก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย หรือนกตะรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลายจะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด....

“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไปฉันใด.....


“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษหนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขนบุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด....


“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่ายเพลิง มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงฝันเห็นสวน อันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด....


“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ มีแก้วมณีและกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตนยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญบุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึงนำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ฉันใด....


“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง


“..... ดูก่อนคหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ที่ไม่ไกล บ้านหรือนิคม ต้นไม่ ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงมาเที่ยวเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่าต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลดก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม่นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เราขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่มและห่อพกไว้ ลำดับนั้นบุรุษคนที่สองต้องการผลไม้ ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้เขาแวะยังราวป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงตัดต้นไม้นี้แค่โคนต้นแล้วกินพออิ่ม และห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นนั้นแค่โคนต้น ฉันใด....


“..... ดูก่อนคหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง.....”

โปตลิยสูตร ม. ม. (๔๘-๕๓)