จาก http://www.unigang.com/Article/1082
ก่อนจะลงสนาม
(ไม่นับเรื่องในชั่วโมงเรียนนะคะ อันนั้นตัวใครตัวมัน กรณีนี้จะกล่าวถึงช่วงเตรียมตัวและอ่านหนังสือสอบค่ะ)
1. เอาให้ครบ
อย่าคิดประมาณว่า "เฮ้ยยยยยย แค่นี้หมูๆ กูไปซุยในห้องสอบเอาก็ได้" เด็ดขาด
โอ
เคค่ะ ถ้าคุณเก่งระดับมหาเทพ
ข้อมูลผ่านหูตอนฟังในห้องแบบปรื๊ดเดียวก็บันทึกเป็นRead only
memoryประหนึ่งไรท์ลงซีดีก็เชิญทำไป แต่ถ้าไม่ใช่
อ่านหนังสือให้ครบถ้วนกระบวนความเถอะนะคะ
ข้อสอบอัตนัยเป็นข้อสอบที่มีคำตอบเปิด
กว้าง(มาก) ยิ่งกับวิชาสังคม สมมุติว่าเนื้อหาคุณเกือบสองร้อยหน้า
แต่ข้อสอบหยิบมาถามยี่สิบข้อ คุณจะมั่นใจได้ยังไง
ว่าไอ้ส่วนที่คุณบอกว่า"ทิ้งได้"มันจะไม่ออกข้อสอบ
ยังไงเหลือก็ดีกว่าขาด
อ่านเผื่อเอาไว้ดีกว่า อย่างน้อยก็เป็นเรื่องที่เรียน
มันมีสิทธิ์ออกข้อสอบได้ทุกเรื่องอยู่แล้ว อ่านผ่านตาแค่รอบเดียว
เอาให้คุ้นๆก็ยังดีค่ะ ดีกว่าเห็นแค่รอบสองรอบในห้องเรียน
2. ชัวร์ไว้อุ่นใจกว่า
ข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันกับข้อบนค่ะ
พยายามเอาเนื้อหา ชื่อเฉพาะ และวันเดือนปีให้แม่นเข้าไว้
อย่าคิดว่าปีพ.ศ.เป็นแค่เลขสี่หลักที่ไม่สำคัญ เพื่อนๆเม่ยหลายคน
รวมทั้งเม่ยเอง ตกม้าตายเพราะเจ้านี่มาแล้วค่ะ
เวลาเขียนอธิบาย ยิ่งพวกลำดับเหตุการณ์
จะมาบอกว่าประมาณปี1900กว่าๆ อะไรแบบนี้ไม่ได้เด็ดขาดเลยนะคะ
อาจารย์ให้ไข่ต้มสองใบตามจำนวนเลขท้านศตวรรตประมาณที่ใส่แน่ค่ะ
อย่าง
สงครามโลกครั้งที่สองเกิดเมื่อไหร่ อเมริกาประกาศอิสระภาพปีไหน
ปฏิวัติฝรั่งเศส ปฏิวัติรัสเซียปีอะไร สงครามเย็นสิ้นสุดปีไหน จะมาบอก
ราวๆปลายคริสต์ศตวรรตที่18 อะไรแบบนี้ไม่ได้นะคะ 1776คือ1776ค่ะ
(อ่า ยกเว้นพวกยุคสมัย/เหตุการณ์ที่กินเวลานานๆ อย่างยุคปฏิวัติคอมพิวเตอร์ ปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนั้นใส่เป็นทศวรรตที่****ได้ค่ะ)
ดังนั้น ชัวร์ไว้อุ่นใจกว่า ทำให้เป็นนิสัยค่ะ ยิ่งตรงไหนสำคัญๆควรจะสามารถเขียนหรือพูดคอนเซ็ปต์ได้แบบไม่ติดขัดเลยยิ่งดี
เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบนเจ้ากระดาษชีชะตาพวกนั้น เน้~
3. Why How สูเจ้าตอบได้บ่
เกร่อไปนิด แต่เท่าที่สุมหัวติวกันมา เจ้านี้เวิร์คมากค่ะ
ข้อสอบบรรยาย น้อยมากที่จะถามว่าWhat
เพราะอะไร เพราะมันง่ายไปน่ะซี่~ อะไร เกิดอะไร ปีไหน จำไปใครๆก็ตอบได้
แต่ถ้าถามว่า"อย่างไร" หรือ"ทำไม"
อันนั้นต้องคิดแล้วประมวลข้อมูลก่อนอธิบายสักนิดค่ะ
อย่าง สมมุติว่า เกิดมีคำถาม"กำแพงเบอร์ลินมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อย่างไร"
เจออย่าง
นี้ โฟ่กันยาวเลยค่ะ เล่าตั้งแต่อักษะสงครามโลกแพ้
เยอรมนีโดนพันธมิตรเข้าไปควบคุมดูแล บลา บลา บลา จบลงที่ว่า
เป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น การพังกำแพงเบอร์ลินจึงเป็นการแสดงถึงว่า
สงครามเย็นยุติลงแล้ว
การตั้งคำถามพวกฮาวแอนด์วายจึงเป็นการซ้อมมือตัวเองอย่างหนึ่งก่อนทำสอบค่ะ
ยิ่ง
เด็กทุมวันตอนมอสาม(จะมีรุ่นน้องหลงมาอ่านมั้ยนะ//หัวเราะ)
ข้อสอบสังคมเป็นที่ขึ้นชื่อว่าตกกันครึ่งห้อง
เพราะว่าสอบชอยส์ยี่สิบข้อก็จริง แต่ตอบแล้วต้องอธิบายไอ้พวกอย่างไร
ทำไม ไม่ตรงคีย์เวิร์ดก็ไม่ได้คะแนน ถ้าตอบชอยส์แต่ไม่อธิบายก็เจอศูนย์
เพราะงั้นฝึกมือไว้บ่อยๆเป็นดีค่ะ
ของแบบนี้ ก็เหมือนเลขเหมือนฟิสิกส์ที่ต้องหัดทำบ่อยๆเหมือนกันแหละ~
4. เก็ง เกร็ง เก็ง
อาศัยวิชามาร+เซนส์กันนิดหน่อย แต่ขอเน้นว่า ถ้าอ่านทัน ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้หรอกค่ะ
โอเค หลายคนคงมีเพื่อนที่ชอบทำตัวแบบนี้
"ไอ้เนี่ย ออกชัวร์" "ชัวร์ป้าบ" "เฮ้ยยย ออกแน่ๆ" "เราว่า
นี่มีโอกาสเยอะนะ"(เม่ยเองก็อีกราย ฮา)
ถ้าเกิดเวลากระชั้นชิดมาก
อ่านหนังสือไม่ทันแล้ว การอ่านแบบโฟกัสเฉพาะจุดจะช่วยได้เยอะมากค่ะ แต่
เน้นนะ ว่าต้องโฟกัสให้ดี ไม่งั้นผิดที่
เบลอว่าตกล่ะแถบกันได้เลยล่ะพี่น้อง
หลักการง่ายๆ
ลองสมมุติตัวเองว่าเป็นอาจารย์ดู ว่าถ้าเราจะออกข้อสอบให้ทรมานเด็ก
เราจะออกอะไรบ้าง และดึงเนื้อหาอะไรมาออกสอบ (เวลาตอบ
อย่าเข้าข้างตัวเองด้วยการคิดว่า เฮ้ย
เรื่องนี้ออกแน่เพราะมันง่ายแก่การจำสำหรับฉันเชียวนะคะ)
ถ้ามันกว้างไป บีบเข้ามาอีกนิด
"ทั้งหมดนี้ มีส่วนไหนที่สำคัญ ควรค่าแก่การอยากให้เด็กรู้บ้าง"
อันนี้ก็จะต้องนึกๆย้อนนิดนึง ว่าอาจารย์เน้นอะไรตอนเรียน
ย้ำนักย้ำหนาตรงส่วนไหน มีมั้ย ที่จะบอกว่า"ยากนะครับนักเรียน จำนะ จำ"
อะไรแบบนี้
ข้อเสียของวิธีนี้มีอย่างเดียวค่ะ เก็งพลาดคือจบ โฟกัสผิดก็เบลอว่าตกล่ะแถบ แบบว่าตกล่ะเธอกันไปเลย
เพราะงั้น อ่านให้ทันจะดีกว่าน่อ
ได้เวลาออกรบ
5. กวาดให้ครบ
กวาดในที่นี้หมายถึงกวาดตาดูข้อสอบให้ทั่วเด้อเอื้อย
อันดับแรกที่คิดว่าเทคนิกการทำข้อสอบทุกที่ต้องพูดแน่นอน แต่ก็ยังมีคนลืมทำ
เม่ยล่ะอีกเสียงที่ขอย้ำไว้ล่ะ ว่าอ่านสักรอบก็ดีนะเธออออว์
อย่างที่บอกไปค่ะ ว่าข้อสอบเป็นอะไรที่เราเดาใจคนออกไม่ได้
คุณมีสิทธิ์เจอข้อสอบยวงใหญ่ ที่คำสั่งสุดท้ายบอกว่าเลือกทำเฉพาะข้อที่เป็นเลขคู่/คี่ตามเลขประจำตัวเรา(อันนี้พี่สาวโดนมาที่มหาลัย)
หรือ
บอกว่า ให้เลือกทำแล้วบวกคะแนนที่กำกับข้อให้ได้ครบสิบคะแนน
ส่วนเกินกว่านั้นจะไม่คิดคะแนนทั้งข้อ(ฟิสิกส์เสริมก็มีกรณีนี้แล้วเช่นกัน)
เพราะงั้น การอ่านคำสั่งและข้อสอบหนึ่งรอบก่อนทำก็เป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งในการทำให้เราประสบความสำเร็จ เน้~
อีกอย่าง การอ่านข้อสอบแบบคร่าวๆ จะทำให้เราคำนวณเวลาการทำได้ถูก และสามารถวางแผนได้ว่า จะทำข้อไหนก่อน ข้อไหนหลังด้วยค่ะ
6. ตีให้แตก
ตีความโจทย์ให้แตก ว่าเขาต้องการถามหาอะไร มีอะไรเป็นคีย์เวิร์ดที่เราควรต้องเขียนลงไปบ้าง
เรื่อง
คีย์เวิร์ดนี่สำคัญมากค่ะ
ชนิดที่ว่าคงเขียนเต็มทุ่งสักสองเอฟสี่แต่คียเวิร์ดขาดไปตัวนึง
กับครึ่งหน้าเอสี่แต่มีครบกระบวนความ คะแนนก็ต่างกันเยอะแยะเลยล่ะ
วิธีที่จะช่วยไม่ให้พลาดแบบสมควรเอาหัวไปยัดส้วมก็คือการขีดเส้นใต้ค่ะ (คิดว่าพี่ๆที่สอบแกะมาแล้วน่าจะเคยใช้กันนะ)
ขีดเส้นใต้ วงกลมกระเด็นสำคัญๆของโจทย์ไว้ ว่าเขาอยากได้อะไรบ้าง แล้วเราค่อยโฟ่ไปตามนั้น
อีกอย่าง มันเป็นการป้องกันการลืมระหว่างเขียน หรือเขียนแล้วออกแปซิฟิกด้วยค่ะ ประมาณว่า เหลือบตาขึ้นมา อ๊ะ ตรงนี้ต้องเขียนด้วยนะ
7. What is the main point!!!
ประโยคนี้ขออนุญาติยืมมาจากอาจารย์ชาวตปท.ก่ะ
สำคัญน้า เรื่องนี้ อาจเนื้อหาคล้ายๆข้อบน แต่รู้สึกอยากเน้นให้เห็นชัดๆอีกรอบ
หลังอ่านโจทย์แล้วควรตอบได้ค่ะ ว่าคำถามเขาถามถึงอะไร เมนพอยท์ หลักใหญ่ใจความที่ควรต้องตอบมีอะไรบ้าง
เปรียบเทียบง่ายๆ อย่างพิชัยยุทธ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
สมมุติตัวเองอีกรอบก็ดี ว่าถ้าเป็นคนตรวจข้อสอบ คำถามแบบนี้อยากได้อะไรกลับมาบ้าง (และ เช่นกันกับข้อสี่ อย่าเข้าข้างตัวเองเด็ดขาด)
ยิ่ง
ถ้าเราค่อนข้างสนิทกับอาจารย์ท่านนี้ หรือเรียนกันมานานจนรู้นิสัย
ก็ย่อมจะรู้ว่า การจะเขียนตอบนั้น เขียนยังไงให้ถูกใจ
ตรงประเด็นสำหรับเขาด้วยค่ะ
หัวใจสำคัญของการตอบพวกนี้อยู่ที่เมนพอยท์นั่นแล ถ้าหลุดก็ปิ๋วไปเลย
8. ประมวลสมอง คิดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
พอได้คีย์เวิร์ดที่จะตอบแล้วว่าคืออะไร ทีนี้ก็ถึงเวลาที่จะได้ใช้ความรู้ที่อุตส่าห์ลำบากยัดเข้ามาในหัวแล้วค่ะ
เรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะว่าไงดี
ไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เท่าที่เรียนในวิชานั้น ความรู้ทั่วไป
เกร็ดเสริมก็เขียนได้ แต่อย่าออกทะเล
แล้วก็มีอะไรที่โยง/อธิบายร่วมแล้วคิดว่าสามารถช่วยดึงคะแนนได้
ใส่มาให้หมดเลยค่ะ
อาจไม่มีผล เพราะเป็นข้อมูลประกอบ แต่ก็ช่วยได้เยอะเหมือนกันสำหรับส่วนนี้
(แอบกระซิบ
บอก เพราะเขียนเรื่องอิทธิพลของศาสนาฮินดูที่มีต่อวัฒนาธรรมไทย
ลงไปในข้อสอบพระพุทธที่ถามเรื่องในสมัยพุทธกาล
เลยทำให้ได้ท็อปชั้น(คะแนนเต็ม)มาด้วยล่ะ อรั๊ง)
9. Note it
ส่วนใหญ่ในระดับมัธยมข้อสอบมักไม่ได้มี
ข้อเดียว(ส่วนมหาลัยไม่แน่ใจว่าข้อเดียวเล่มเดียว หรือเล่มเดียวหลายข้อ)
ทำให้เมื่อทำไปสักระยะ หลายคนจะประสบสถานการณ์ "เฮ้ย
เมื่อกี้คิดได้ทำไมมันลืมวะ" >>> ตกม้าตายกลางสนามรบล่ะ
หรือ ตอนอ่านข้อสอบสมองแล่นฉิวเลย
คิดๆๆๆๆๆ ได้ไอ้โน่นไอ้นี่ออกมาเพียบ แต่พอจรดปากกาลงมือจริงๆก็ถึงกับอุทาน
"_า เมื่อกี้คิดว่าอะไรนะ"/"จะเริ่มยังไงดีหว่า"
ก็แล้วทำไมคุณไม่จดไว้ละค๊า คุณท่าน
ของ
พวกนี้เวลาคิดได้ โน้ตไว้ก่อนปลอดภัยกว่าค่ะ ไม่ต้องใช้ปากกาก็ได้
ดินสอก็พอ เขียนสั้นๆข้างๆข้อก็ได้ ที่ว่างน่าจะพอหาได้อยู่ เอาแค่คำสำคัญ
กับสิ่งที่เราอยากเขียน เพราะไม่งั้น ถ้าเกิดไม่โน้ต นอกจากจะลืมแล้ว
เราอาจจะหลุดคอนเซ็ป ออกแปซิฟิกไปแอตแลนติกทะลุคลองสุเอซแน่ๆ
เผื่อเหนียวไว้ เขียนเสร็จก็ลบออกได้ สบายแฮ นะจ๊ะ
10. แผนนั้นสำคัญไฉน + ดูเวลาอย่าสบายใจ
ข้อนี้ขอควบสองเลยค่ะ
เวลาทำข้อสอบ
อัตนัยบรรยายเยอะก็เหมือนเขียนเรียงความขนาดสั้นที่ต้องมีคำนำ เนื้อหา สรุป
หลายคนเวลาเขียนจะเขียนก็แบบเบลอๆมึนๆ หรือเขียนไปแล้วตัน ต่อไม่ได้
เพราะงั้น ต้องวางแผนค่ะ
โน้ตแบบข้อบน หรือทำพร้อมๆกับข้อบนเลยก็ได้ เขียนโยงเป็นลูกศร ว่าจะเอาเรื่องไหนต่อเรื่องไหน มีประเด็นอะไรที่ต้องกล่าวถึงบ้าง
พอวางแผนการเขียนเสร็จให้วางแผนเรื่อง
เวลาต่อ ว่าเขียนข้อนึงกี่นาที จะใช้เวลาทั้งหมดเท่าไหร่ เผื่ออ่านทวน
ตรวจทานด้วยมั้ย หรือจะฟาดให้หมดในเวลาสอบเลย
อยากออกไปอ่านวิชาต่อไปด้วยหรือเปล่า
หมดนี่ต้องคิด แล้ววางแผนการทำข้อสอบออกมาค่ะ
ซีเรียสนะ ทำข้อสอบไม่ทันเพราะไม่วางแผนก็มีตัวอย่างมาให้เห็นกันเยอะแล้ว
อ้อ แนะทริกอีกอย่างค่ะ อันนี้ต่างคนต่างความเห็น
ถ้า
เกิดว่าเวลาไม่ทันจริงๆ แล้วมีข้อสอบข้อใหญ่
กับข้อสอบข้อย่อยที่คะแนนไม่เท่ากันอยู่
ถ้าหากว่าข้อย่อยเขียนเสร็จเร็วกว่า แต่ได้คะแนนน้อยกว่า แนะนำให้ทำข้อย่อย
อย่าง สมมุติข้อใหญ่ห้าคะแนน ข้อย่อยหนึ่งจุดห้า แต่มีสี่ข้อ
แล้วคำนวณแล้ว ข้อใหญ่เขียนไม่ต่ำกว่าเจ็ดหน้าที เหลือเวลาสอบห้านาที
ถ้าไปโฟ่ข้อย่อยน่าจะได้อย่างน้อยสองถึงสามข้อ แต่ถ้าไปงมกับข้อใหญ่ เผลอๆ นอกจากจะปิ๋วห้าแล้ว ไอ้หกก็จะปิ๋วตามไปด้วย
แต่ก็ ต่างคนต่างความเห็นนะคะ เม่ยสอบเม่ยก็มองแบบนี้แหละค่ะ
อ้อ ใช่ หมั่นดูนาฬิกาด้วยนะคะ อย่าเมามันกับการเขียนมากเกินไป เดี๋ยวล่มค่ะ
11. เอาใจใส่ในการเขียน
อันนี้เริ่มจะเป็นเรื่องส่วนตัวแล้ว
เวลาเขียน เครื่องเขียนควรพร้อม วางในจุดที่คว้ามาได้แบบไม่ต้องเงยหน้า ทุกนาทีมีความหมายหมดแหละค่ะ
ปากกา แนะนำหัวเล็กๆ แล้วก็ไม่เยิ้ม
ลิควิด เปิดฝาทิ้งไว้เลยถ้าไม่กลัวแห้ง เอาแบบสะดวกที่สุดเท่าที่ทำได้
แล้วก็ ใส่ใจลายมือนิดนึง
ไม่ต้องสวยขนาดคัดอาลักษณ์ประกวดก็ได้ค่ะ แต่เอาให้อ่านออก
อย่าไก่เขี่ยจนไม่รู้ว่าที่เขียนนั่นวงๆหมึกหรือคำตอบ
เคยมีคนที่อาจารย์โยนข้อสอบทิ้งเพราะว่าอ่านไม่ออกมาแล้วนะเออ
การสะกดคำก็ควรระวังค่ะ ผิดนิดเดียวความหมายไปไกลเลย อาจารย์บางท่านไม่หยวนกับเรื่องพวกนี้ด้วยนะ ขอบอกๆ
(กรณีศึกษา
เหตุเกิดเมื่อราวๆยี่สิบปีกว่าปีก่อน สมัยคุณพ่อของจขบ.เป็นอาจารย์หมอ
อาจารย์รุ่นพี่พูดให้ฟังว่า มีนศพ.เขียนคำตอบมาส่งว่า "อาการเลือดคลั่งในสมอง" ผมเลยคลุ้มคลั่ง ให้0ข้อนั้นไปเลย
เด็ดมั้ยละคะ แต่ตรงนี้ผิดแล้วความหมายผิดไปเลยจริงๆนั่นแหละ)
แล้วก็
ถ้าอยากให้คนตรวจตรวสบายๆ(เอาอกเอาใจเขานิดนึง ยังไงเราก็ง้อคะแนนเขาอยู่)
ขีดเส้นใต้ตรงประโยคที่เขียนคีย์เวิร์ดไว้ด้วยก็ดีค่ะ
เวลาสอบบรรยายแบบเป็นสองสามหน้ากระดาษเม่ยก็ทำแบบนี้ ไม่งั้นคนตรวจเองก็อาจจะเผลออ่านข้ามไปก็ได้
การตรวจข้อสอบเยอะๆก็ปวดหัวใช่เล่นนะ
12. ข้อมูลนั้นสำคัญไฉน
หลายครั้งมีโอกาสได้เจอข้อสอบที่ถามความ
เห็นค่ะ หลายคนเข้าใจว่าเป็นข้อแจกคะแนน ตอบไปยังก็ได้ แต่ความจริงแล้ว
มันไม่ใช่อย่างนั้นน่ะสิกิ๊ฟท์!!!
ข้อสอบที่ถามความคิดเห็นเหล่านั้น
มีไว้เพื่อวัดกึ๋นเราค่ะ ใช่ เขาอยากรู้ ว่าเราคิดยังไง
แล้วอะไรที่เราจะพูดและโน้มน้าวให้เขาเชื่อตามที่เราคิดได้บ้าง ถ้าแถมั่ว
ตอบไม่ถูกใจ คะแนนก็ไม่ได้นะเออ
อาวุธของการทำข้อสอบแบบนี้คือข้อมูลค่ะ ถ้าเรามีข้อมูลซะอย่าง จะชักแม่น้ำทั้งห้าดั่งเซลล์ขายสินค้าหรือตัวแทนขายประกันก็ย่อมได้
รู้เยอะกว่าย่อมได้เปรียบ
เวลาอ้างน่ะ อ้างเข้าไปเลย ข้อมูลอะไรที่รู้แล้วเกี่ยวข้อง เน้นด้วยว่าเกี่ยวข้องและใช้ได้ เขียนถึงไปให้หมด
อย่าง สดๆร้อนๆ เม่ยเจอข้อสอบค่ะ "คุณคิดเห็นอย่างไรกับการซื้อวิตามินสังเคราะห์มารัปประทานเอง"
อัน
นี้นี่ตอบได้เยอะมาก แต่เราก็ไม่รู้ด้วยว่า
แนวทางที่ถูกต้องที่อาจารย์ต้องการอ่าน คือคำตอบว่าอะไร ดังนั้น
การแสดงความคิดเห็นโดยการอ้างอิงด้วยข้อมูลปลอดภัยที่สุดค่ะ
(ซึ่ง
ส่วนตัวก็อ้างไป ตั้งแต่การดูดซึมวิตามิน การสะสมในไขมัน/ขับออกทางปัสสาวะ
ความคุ้มค่าของเงิน พิษสะสม บลาบลาบลา สุดท้ายบอกว่า
ปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อยามารับประทาน)
13. ไม่ชัวร์ อย่าโฟ่
อันนี้ย้ำจริงๆค่ะ ไม่ชัวร์ อย่าซ่าเขียนไป ไม่งั้น จากที่จะได้เต็ม คะแนนจะโดนหักเสียเปล่าๆ
เจอกับตัวเอง เหตุการณ์นี้
ตอนที่เขียนเรื่องพื้นที่เพาะปลูกของสหรัฐอเมริกา
มันมีสองลุ่มน้ำคือมิสซิสซิปปี้กับมิสซูรีใช่มั้ยคะ เม่ยเผลอค่ะ จำพลาด
ไปเขียนเซนต์ลอเรนซ์เพิ่มอีกตัวนึง(แม่น้ำสายนี้ผ่านแคนาดาจ้ะTTwTT)
จากที่จะได้เต็มยี่สิบ ได้สิบเก้าจุดหกเจ็ดค่ะ(คะแนนดิบ59/60เลยล่ะ
โซกรี๊ดมากๆ) จากท็อปชั้นก็เลยแค่ท็อปห้อง เสียดาย+เสียใจ
ชนิดว่าอาจารย์ยังบอกว่า ถ้าเธอไม่พลาดข้อนั้นข้อเดียว
ฉันก็ให้เธอเต็มไปแล้ว
ดังนั้น อะไรที่ไม่ชัวร์ อย่าลงรายละเอียดค่ะ กล่าวภาพรวม เล่าข้างๆ อ้อมนิดอ้อมหน่อยได้จะดีกว่า
อาจารย์แต่ละท่านเฮี้ยบไม่เหมือนกัน เขียนอ้อมคุณอาจจะได้4/5 แต่ถ้าผิด มันอาจกลายเป็น3.5/5แทนได้
อย่างถ้าให้เขียน ในกรณีนี้อาจบอกว่า
เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนกลางของประเทศ เช่น
ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี้เป็นต้น อะไรแบบนี้ค่ะ
ก็ อย่างที่บอกไปตั้งแต่ก่อนเขียนนะคะ ว่าทั้งหมดนี้เขียนจากประสบการณ์
บางส่วนก็โฟ่ความเห็นส่วนตัวลงไปบ้าง เพราะงั้น ขัดๆตรงไหน
หรืออยากเพิ่มเติมอะไร บอกกันได้ค่ะ
อ่า แล้วก็ นิดนึง ถ้าอ่านแล้วถูกใจ ขอดาวแดงสักดวงจักเป็นพระคุณค่ะ//อาย
ปีนี้อยากติดฮอตสักเอนทรี่จัง//หัวเราะ
..........................................................................................................................................................
คุณดิต
- แอร๊ง เมาดิบจนได้ ขอโทษค่ะ ตอนแรกที่ร่างไว้มีสิบสองวิธี แต่เขียนไปเขียนมาได้สิบสาม แก้หัวเอนทรี่แต่ลืมแก้หัวข้อ OTL
คุณดิต๒
- ขอบคุณสำหรับดราก้อนบอลทุกลูกค่ะTTwTT ติดฮ็อตครั้งแรก ส่งท้ายปีนี้แล้ว งื๊ด
- ค่ะ ที่เขียนมานี่ก็ประสบการณ์ตรงหมดเลยTTwTT ตอนมอสองปลายๆเจออัตนัยเยอะ แต่ก็พลาดเยอะเช่นกัน//หัวเราะ
วิธีที่เขียนก็ได้มาจากตอนเรียนมอสามมอสี่เนี่ยแหละค่ะ ลองผิดลองถูก พยายามกับข้อสอบพวกนี้ไปเรื่อยจนจับทริกได้
- เสริมจากคุณ HeDw!g
อันนี้เห็นด้วยค่ะ ข้อไหนคะแนนมากกว่าควรทำก่อน แต่ว่าต้องพิจารณาระดับความยากง่ายด้วย
ถ้า
หากข้อคะแนนถูก ง่าย แต่มีหลายข้อ แล้วทำเสร็จได้เร็วกว่า
เม่ยก็ยังเชียร์ให้ทำข้อง่ายก่อนอยู่ดี เล็กๆแต่มาก ถ้าเวลาน้อย
มันให้ผลเร็วกว่าใหญ่ๆก้อนเดียวค่ะ =w=
- แอบอธิบายซุยกับโฟ่สักนิด
เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าเป็นศัพท์ค่อนข้างเฉพาะในวง
ซุย กริยานี้น่าจะพอเดาๆกันได้
ไม่แน่ใจว่ามันเกิดจากการผสมของคำว่าอะไรบ้างค่ะ
แต่ไอ้รุ่น54ด้วยกันนี่แหละเป็นตัวครีเอตจากตอนเล่นSF
ความหมายกลางๆคือ ลุย+มั่วซั่ว+สั่วๆ+ฯลฯ (อธิบายยากพอๆกับAKYเลยว่ะค่ะ= =''')
ตอนแรกๆความหมายที่ใช้กันในรุ่นค่อนข้างจะลบมากกว่าบวก แต่หลังๆกลายเป็นคำติดปากเวลาสอบกันไปแล้ว
"เฮ้ยยยย มึง อ่านไปก็เท่านั้น ซุยกันเหอะว่ะ" <<< วิทย์บันเทิงพูดกันประจำเวลาเจอฟิสิกส์ = ='''
โฟ่ อันนี้ไม่แน่ใจว่าศัพท์จากห้อง1หรือว่าโอก้าซัง(เพื่อนในกลุ่มคิดเอง)
แปลได้ราวๆว่าการพูด+เขียน+พล่าม+เว่ายืดเยื้อ อะไรทำนองนี้ค่ะ ส่วนมากเวลาพูดกันในกลุ่มคือ
"อย่ามัวแต่โฟ่ รีบๆกินดิจะได้รีบไปติว" <<< วันสอบเป็นงี้ทุกที กินข้าวกลางวันไปโวยวายใส่กันไปน่ะค่ะ=w='''
ประมาณนี้ล่ะค่ะ~
UniGang Talk ขอขอบคุณบทความดีดีจาก blackwave.exteen.com หวังว่าจะมีประโยชน์กับน้องทุกคน ที่กำลังเตรียมสอบ Onet และก็ Gat-Pat นะครับ