วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรื่องของคนนอนดึก







นพ.กฤษดา ศิรามพุช, พบ.(จุฬาฯ) ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ อายุรวัฒน์นานาชาติ American Board of Anti-aging medicine ได้เขียนคู่มือดูแลร่างกายของ "คนนอนดึก" ไว้อย่างน่าสนใจ ตามนี้ :- สมัยที่ผมเป็นหมออยู่แผนกมะเร็ง มีหลายท่านมาถามว่าถ้าต้องทำงานดึก นอนดึกแล้วจะดูแลสุขภาพอย่างไรดี เพราะเห็นหมอก็นอนดึกแล้วจะมีเวลาดูแลสุขภาพตัวเองหรือ?ผมก็เลยให้วิธีที่ผม ทำอยู่กับเขาไปคำแนะนำสำหรับคนนอนดึกและทำงานกลับกลางวันเป็นกลางคืน ต้องพิเศษหน่อยครับ เพราะอาชีพนอนดึกคืออาชีพที่ เอาชีวิตในอนาคตมาแลกเอาสุขภาพแลกเงินนั่นละครับไม่ว่าจะเป็นงาน ดีเจ,พิธีกร,นักแสดง,คุณหมอ,ขายของ
ฯลฯ อาชีพเหล่านี้เสี่ยงต่อสุขภาพทั้งสิ้น เพราะลงถ้าต้องนอนดึกแล้วหรือต้องทำงานในเวลาที่ร่างกายต้องพักผ่อนร่างกาย มันก็จะย้อนมาฟ้องด้วยอาการผิดปกติต่าง ๆ อาทิเช่นมึนศีรษะ, เวียนหัว, คลื่นไส้, เป็นหวัดง่าย, ภูมิแพ้กำเริบ น้ำมูกหยดติ๋งๆเป็นสิ่งที่เรียกอาการ “น้ำจิ้ม” ของคนนอนดึกครับ แต่ถ้ายังอดนอนต่อไปอีก น้ำจิ้มก็จะเปลี่ยนเป็นจานหลักมื้อใหญ่จัดหนักครับ ทั้งปวดหัวบ่อย,ประจำเดือนไม่มา,อ้วนลงพุงและซึมเศร้าได้ คนที่ไม่ได้นอนเป็นเวลาเท่ากับพาร่างกายเข้าสู่ “หลุมดำ” ที่รวมโรคไว้ไม่คุ้มเลยแม้แต่นิด
3ความเชื่อเมื่อนอนดึกมีความเชื่อเรื่องคนนอนดึกอยู่หลายข้อที่ทำให้สับสน และกลายเป็นความเชื่อที่ผิดจนเสียสุขภาพไปได้ดังจะขอยกง่ายๆที่ได้ยินบ่อย สัก2-3ตัวอย่างนะครับ


💤💤💤💤💤💤💤

 1. นอนดึกจะไม่อ้วน ตรงกันข้ามเลยครับ ยิ่งนอนดึกยิ่งเสี่ยงอ้วนได้มาก หากไม่อยากอ้วนควรเข้านอนตั้งแต่หัว
ค่ำจะดีที่สุด

2. นอนดึกแล้วนอนชดเชยได้ การอดนอนไม่อาจชดเชยได้เหมือนกันการนอนในเวลานั้น ๆ ครับเหมือนกับเวลาทองที่ผ่านแล้วผ่าน
เลยอาจนอนเพิ่มได้บ้างแต่ไม่ดีทั้งร้อย
แน่ครับ

3. นอนดึกแล้วต้องกิน คนที่กินตอนดึกเพราะเชื่อว่าต้องกินนั้นส่วนใหญ่มาจากความหิวยามวิกาลที่ทน ทานไม่ไหว ยิ่งกินดึกไปจะยิ่งอ้วนง่ายขึ้นครับ“ถั่ว,ปลา,ไข่” ทำงานดึกต้องเลือกกินเมื่อทราบแล้วว่าการนอนดึก ไม่ดีนักต่อร่างกายแต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้ผมก็เข้าใจมาก ๆครับ เพราะทำงานที่ต้องแข่งกับเวลาเช่นเดียวกันกับหลายท่าน



เลยหาเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์คนทำงานดึกได้และไม่เสียสุขภาพมากมาฝากกันครับ เป็นโปรแกรมจัดชีวิตยามวิกาล ด้วยการเลือกทานเพื่อบำรุงสุขภาพอาหารเฉพาะสำหรับมนุษย์นอนดึกมีดังต่อไปนี้ ครับ
1) เนื้อสีขาว หาเนื้อปลา อกไก่ ไข่ขาว เต้าหู้ ทานบ้างครับ เพราะสร้าง “เคมีสมอง” ที่จำเป็นสำหรับคนนอนดึก ได้แก่โดพามีน,เอพิเนฟริน 2) กาบ้า (GABA) เป็นสารช่วยสื่อประสาทสมองทำให้ความจำดีคิดอ่านได้
ว่องไวมีมากในข้าวกล้องงอก,มอลต์,ข้าวบาเลย์,ถั่วแดง,ถั่วดำ,ลูกเดือยและธัญพืชอื่น ๆ ครับ
3) โคลีน (Choline) มีมากในถั่วเหลือง,ไข่แดง เป็นเคมีที่ช่วยสร้างความปรองดองเชื่อมโยงถึงกันในสมอง ป้องกันความจำเสื่อม ช่วยให้สมาธิและความจำ ไม่สะดุดลงด้วยอาการอดนอนครับ
4) ช็อกโกแลตดำ(Dark Chocolate) ท่านที่อยากหาเครื่องดื่มชูกำลังเสริมขอให้เลือกเป็น “โกโก้ร้อน” แทนเพราะมี “ฟลาโวนอยด์” ช่วยให้เลือดไหลลื่นในสมองป้องกันเส้นเลือดอุดตันครับ5) โอเมก้า(Omega fatty acid) เลือกหาจากเนื้อปลาแต่ว่าลดการบริโภคน้ำมันพืชให้น้อยลงครับ ให้รับประทานปลาทูวันละ 2 ตัวหรือ ทูน่ากระป๋อง ก็ยังได้ครับ
6) ไบโอติน(Biotin) กินได้จาก “ไข่แดง” อย่างน้อยวันละ 1 ฟองปลอดภัยทานได้ครับ ไบโอตินช่วยบำรุงสมองและเส้นผมได้ดี เหมาะกับท่านที่อยู่ดึกและใช้สมองมาก
7) ใบบัวบก(Centella asiatica) เป็นคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติและ ยังมีสารช่วยลดการอักเสบของร่างกายจากภาวะนอนดึก หาบัวบกรับประทานสดหรือเอามาปั่นเป็นน้ำคั้นสีเขียวดื่มบ่อยๆ ช่วยให้สดชื่นตื่นตัวดีครับ
8) ใบแปะก๊วย(Ginkgo biloba) ย้ำว่าเป็นส่วนของ “ใบ” นะครับไม่ใช่เม็ดแปะก๊วยที่เอามาใส่นมสดซดเล่น ในใบของแปะก๊วยมีสารสำคัญ ที่ช่วยป้องกันสมอง สามารถหาทานได้ในรูปแบบอาหารเสริมครับ
9) วิตามินบี(B Vitamin) ของดีที่ช่วยเส้นประสาททั้งร่างกายอีกทั้งสมองให้ตื่นตัวได้แม้ในยามอดนอน วิตามินบีมีดีแทบทุกตัวครับทั้ง บี1,บี2,บี6,บี12 และอีกหลายๆบี มีผลกระตุ้นสมองป้องกันอาการง่วงมึนซึมครับ
10) ดื่มน้ำให้มาก(Hydration) สุดท้ายนี้ง่ายๆที่สุดแต่มักถูกมองข้ามคือการ “ดื่มน้ำสะอาด” ครับ น้ำเปล่าธรรมดานี่เองครับที่ดีต่อสมองเป็นที่สุดเพราะก้อนสมอง ต้องอาศัยน้ำในการบำรุงเช่นเดียวกับร่างกายที่นอนดึก ท่านที่รักลองสังเกตว่านอนดึกแล้วปากแห้งเพราะร่างกายคนนอนดึกไม่ได้พักจึง มีการสูญเสียน้ำไปจนปากคอ
เป็นผง

💤💤💤💤💤💤💤💤💤💤

 ส่วนสิ่งที่ควรเลี่ยงในผู้ใช้ชีวิตยามรัตติกาลเป็นอาจิณก็คือ
1) กาแฟและชา
2) ของหวาน
3) อาหารเค็ม
4) ออกกำลังตอนดึก
5) ยานอนหลับ

ทั้ง5อย่างนี้จะยิ่งรบกวนการนอนทำให้เกิดโรคจากการ
นอนหลับผิดปกติและทำให้เมื่อถึงเวลาหลับจริงๆอย่าง
ตอนกลางวันไม่สามารถจะหลับได้เต็มตาพาให้สุขภาพย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วครับ

สำหรับเวชศาสตร์อายุรวัฒน์แล้วการได้หลับตาลงพร้อมกับร่างกายที่ได้อาหาร บำรุงถูกจุดจะเป็นคำตอบของท่านที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำครับนอนดึกก็มี ทางออกนะครับ

 


ศีล ในไตรสิกขา และบุญกิริยาวัตถุ



ความแตกต่างระหว่าง ศีล ในไตรสิกขา และบุญกิริยาวัตถุ

       ศีล ในความหมายของสองหัวข้อธรรม คือ ไตรสิกขา 3 และบุญกิริยาวัตถุ มีความแตกต่างกันในส่วนของความหมาย ซึ่งสามารถอ่านดูได้จากเนือหาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ และอรรถกถาในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์

(๑๒๓) สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Training)
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)
D.III.220; A.I.229.    ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๒๑/๒๙๔.

(๘๗) บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี — bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)
๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)
D.III.218; A.IV.239; It.51.     ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘/๒๗๐.

            จากข้อความข้างต้นจะพบว่า ศีลในไตรสิกขา หรือ อธิศีลสิกขา นั้น หมายถึง ข้อปฏิบัตืเกี่ยวกับศีล เพื่อการฝึกอบรมจิต ในขณะที่ สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ นั้น  หมายถึง การรักษาศีลใดๆ ในฐานะการกระทำที่เป็นความดี เป็นการสั่งสมบุญ
ความหมายตามอรรถกถา
อรรถกถาเกี่ยวกับไตรสิกขา
            ข้อความบางตอนจาก อรรถกถามานกามสูตร
         เมื่อศีลมี   ก็ชื่อว่ามีอธิศีล    เมื่อจิตมีก็ชื่อว่ามีอธิจิต   เมื่อปัญญามีก็ชื่อว่า

มีอธิปัญญา      เพราะฉะนั้น   ศีล ๕ ก็ดี    ศีล ๑๐  ก็ดี      จึงชื่อว่าศีล    ในที่นี้. 
ปาฏิโมกขสังวร พึงทราบว่าชื่อว่า  อธิศีล.  สมาบัติ  ๘ ชื่อว่า  จิต.  ฌานอันเป็น
บาทแห่งวิปัสสนา   ชื่อว่า  อธิจิต.  กัมมสัสกตญาณ  ชื่อว่า  ปัญญา.   วิปัสสนา
ชื่อว่า  อธิปัญญา.
         จริงอยู่     ศีลที่เป็นไปในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่เกิด     ฉะนั้น    ศีล 
ศีล ๑๐  ชื่อว่า      ศีลเท่านั้น.   ปาฎิโมกขสังวรศีลย่อมเป็นไปในกาลที่พุทธเจ้า
ทรงอุบัติขึ้น   ฉะนั้น  จึงชื่อว่า  อธิศีล.    แม้ในจิตและปัญญา  ก็นัยนี้เหมือนกัน. 
         อีกอย่างหนึ่ง   แม้ศีล ๕  ศีล ๑๐    อันผู้ปรารถนาพระนิพพาน    สมาทาน
แล้วก็ชื่อว่า   อธิศีลเหมือนกัน.   แม้สมาบัติ    ที่เข้าถึงแล้ว    ก็ชื่อว่า    อธิจิต
เหมือนกัน.
         หรือว่า      โลกียศีลทั้งหมด       ชื่อว่า     ศีล    เหมือนกัน      โลกุตรศีล
ชื่อว่า   อธิศีล.   แม้ในจิตและปัญญา    ก็นัยนี้เหมือนกัน.      ท่านประมวลสิกขา
   มากล่าวศาสนธรรมทั้งสิ้นไว้   ด้วยพระคาถานี้   ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร
 
  พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 386

                             อิติวุตตกะ  ติกนิบาต  วรรคที่ 

              พึงทราบวินิจฉัยใน      ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่      แห่ง   วรรคที่ ๒
ดังต่อไปนี้ :-
             
บทว่า  ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ  ความว่า  กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพ
ที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น   จึงชื่อว่าบุญ   บุญเหล่านั้น
ด้วย  ชื่อว่า  เป็นกิริยา  เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย  เพราะ
ฉะนั้น     จึงชื่อว่า   บุญกิริยา.     และบุญกิริยานั่นเอง    ชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุ
เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้นๆ.
           
      จากข้อความในอรรถกถาข้างต้นนั้นจะพบว่า ศีลในไตรสิกขา มุ่งเอาแต่เฉพาะ การรักษาศีลเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือ โลกุตรศีล ซึ่งจะมีเฉพาะเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ศีลในบุญกริยาวัตถุ มีความหมายถึงการรักษาศีล เพื่อให้เกิดผลดีในอนาคต เช่น การไปสู่สุคติโลกสวรรค์ การดัดนิสัยตนเอง ซึ่งก็หมายความได้ทั้งทางโลกและทางธรรม
           
สรุป
        ศีลในไตรสิกขา คือ อธิศีล หรือ โลกุตรศีล ซึ่งผู้ปรารถนาฝึกอบรมจิตตรเพื่อพระนิพพานย่อมสมาทานเป็นปกติเท่านั้น
        ต่างกับ ศีล ในบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งหมายถึงศีลทุกรูปแบบ ทั้งโลกียศีล สำหรับผู้มุ่งปรารภนาเสวยภพภูมิที่ดี และ โลกุตรศีล สำหรับผู้มุ่งดับทุกข์