วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ศีล ในไตรสิกขา และบุญกิริยาวัตถุ



ความแตกต่างระหว่าง ศีล ในไตรสิกขา และบุญกิริยาวัตถุ

       ศีล ในความหมายของสองหัวข้อธรรม คือ ไตรสิกขา 3 และบุญกิริยาวัตถุ มีความแตกต่างกันในส่วนของความหมาย ซึ่งสามารถอ่านดูได้จากเนือหาจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ และอรรถกถาในพระไตรปิฎกได้ดังนี้

ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์

(๑๒๓) สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Training)
๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)
D.III.220; A.I.229.    ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๒๑/๒๙๔.

(๘๗) บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี — bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)
๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)
D.III.218; A.IV.239; It.51.     ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘/๒๗๐.

            จากข้อความข้างต้นจะพบว่า ศีลในไตรสิกขา หรือ อธิศีลสิกขา นั้น หมายถึง ข้อปฏิบัตืเกี่ยวกับศีล เพื่อการฝึกอบรมจิต ในขณะที่ สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ นั้น  หมายถึง การรักษาศีลใดๆ ในฐานะการกระทำที่เป็นความดี เป็นการสั่งสมบุญ
ความหมายตามอรรถกถา
อรรถกถาเกี่ยวกับไตรสิกขา
            ข้อความบางตอนจาก อรรถกถามานกามสูตร
         เมื่อศีลมี   ก็ชื่อว่ามีอธิศีล    เมื่อจิตมีก็ชื่อว่ามีอธิจิต   เมื่อปัญญามีก็ชื่อว่า

มีอธิปัญญา      เพราะฉะนั้น   ศีล ๕ ก็ดี    ศีล ๑๐  ก็ดี      จึงชื่อว่าศีล    ในที่นี้. 
ปาฏิโมกขสังวร พึงทราบว่าชื่อว่า  อธิศีล.  สมาบัติ  ๘ ชื่อว่า  จิต.  ฌานอันเป็น
บาทแห่งวิปัสสนา   ชื่อว่า  อธิจิต.  กัมมสัสกตญาณ  ชื่อว่า  ปัญญา.   วิปัสสนา
ชื่อว่า  อธิปัญญา.
         จริงอยู่     ศีลที่เป็นไปในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่เกิด     ฉะนั้น    ศีล 
ศีล ๑๐  ชื่อว่า      ศีลเท่านั้น.   ปาฎิโมกขสังวรศีลย่อมเป็นไปในกาลที่พุทธเจ้า
ทรงอุบัติขึ้น   ฉะนั้น  จึงชื่อว่า  อธิศีล.    แม้ในจิตและปัญญา  ก็นัยนี้เหมือนกัน. 
         อีกอย่างหนึ่ง   แม้ศีล ๕  ศีล ๑๐    อันผู้ปรารถนาพระนิพพาน    สมาทาน
แล้วก็ชื่อว่า   อธิศีลเหมือนกัน.   แม้สมาบัติ    ที่เข้าถึงแล้ว    ก็ชื่อว่า    อธิจิต
เหมือนกัน.
         หรือว่า      โลกียศีลทั้งหมด       ชื่อว่า     ศีล    เหมือนกัน      โลกุตรศีล
ชื่อว่า   อธิศีล.   แม้ในจิตและปัญญา    ก็นัยนี้เหมือนกัน.      ท่านประมวลสิกขา
   มากล่าวศาสนธรรมทั้งสิ้นไว้   ด้วยพระคาถานี้   ด้วยประการฉะนี้แล.

อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร
 
  พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 386

                             อิติวุตตกะ  ติกนิบาต  วรรคที่ 

              พึงทราบวินิจฉัยใน      ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่      แห่ง   วรรคที่ ๒
ดังต่อไปนี้ :-
             
บทว่า  ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ  ความว่า  กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพ
ที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น   จึงชื่อว่าบุญ   บุญเหล่านั้น
ด้วย  ชื่อว่า  เป็นกิริยา  เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย  เพราะ
ฉะนั้น     จึงชื่อว่า   บุญกิริยา.     และบุญกิริยานั่นเอง    ชื่อว่า  บุญกิริยาวัตถุ
เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้นๆ.
           
      จากข้อความในอรรถกถาข้างต้นนั้นจะพบว่า ศีลในไตรสิกขา มุ่งเอาแต่เฉพาะ การรักษาศีลเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือ โลกุตรศีล ซึ่งจะมีเฉพาะเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วเท่านั้น แต่ศีลในบุญกริยาวัตถุ มีความหมายถึงการรักษาศีล เพื่อให้เกิดผลดีในอนาคต เช่น การไปสู่สุคติโลกสวรรค์ การดัดนิสัยตนเอง ซึ่งก็หมายความได้ทั้งทางโลกและทางธรรม
           
สรุป
        ศีลในไตรสิกขา คือ อธิศีล หรือ โลกุตรศีล ซึ่งผู้ปรารถนาฝึกอบรมจิตตรเพื่อพระนิพพานย่อมสมาทานเป็นปกติเท่านั้น
        ต่างกับ ศีล ในบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งหมายถึงศีลทุกรูปแบบ ทั้งโลกียศีล สำหรับผู้มุ่งปรารภนาเสวยภพภูมิที่ดี และ โลกุตรศีล สำหรับผู้มุ่งดับทุกข์