"มาฆบูชา" มหาสมาคมใหญ่ ครั้งแรกของพระพุทธศาสนา
วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญอย่างยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีที่แล้ว ดังจะกล่าวดังต่อไปนี้
ความเป็นมาของวันมาฆบูชา
เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" (จตุ+องฺค+สนฺนิปาต = สี่+ประการ+ประชุม = การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ)
อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง
ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก
เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ
และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
"นั่นก็คือ การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๑ แห่ง ๔๕ ปีก่อนพุทธศักราช!" *(1)
เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ
1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ คือวันพระจันทร์เต็มดวง (บาลี=ปณฺณรสี) ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )
2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย กล่าวคือ รู้กันด้วยญาณทัศนะของท่าน แล้วก็ต่างองค์ก็ต่างมาจากแต่ละทิศ โดยพร้อมๆกัน ไม่มีการบอกกล่าวด้วยวาจา
3.ภิกษุ
เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6*(2) ทั้งหมด
ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี
พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้
4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา หมายถึงพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้ทั้งสิ้น
มีใครบ้างมาเข้าร่วมประชุม
พระอรหันต์จำนวน 1,250 รูป ที่เข้าร่วมสันนิบาตในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
กลุ่มที่ 1 คณะพระภิกษุบริวารของอดีตชฏิล 3 พี่น้อง มีท่านอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า จำนวน 1,000 รูป
กลุ่มที่ 2 คณะที่เป็นบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ มีจำนวน 250 รูป
มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า ผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเพียงกลุ่มผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และที่อยู่ในอาณาบริเวณกรุงราชคฤห์ ในจำนวนนี้ไม่นับ พระอัครสาวกทั้งสอง และชฏิลทั้งสาม ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นกรรมการใหญในการประชุมครั้งนี้ โปรดอ่านในลิ้งก์ที่ไปเจอมาดังนี้ [มาฆบูชา] พระอรหันต์ 1250 รูปมีใครบ้าง?
การประชุมมหาสาวกสันนิบาตนั้น ในยุคของพระพุทธเจ้าบาง
พระองค์ มีการประชุมมากกว่า 1 ครั้ง ดังเช่น
ในสมัยของพระปทุมุตตรพุทธเจ้าได้ทรงประชุมสาวกสันนิบาตถึง 3 ครั้ง ครั้งที่
1 มีพระอรหันตสาวก 100,000 โกฏิ*(3) ครั้งที่ 2 มีจำนวน 90,000 โกฏิ ครั้งที่ 3
มีจำนวน 80,000 โกฏิ แต่ละครั้งก็จะทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ซึ่งมีเนื้อหาสาระเหมือนที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงประทานเอาไว้ทุกอย่าง
สาระสำคัญของโอวาทปาฏิโมกข์
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนอันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานในวันมาฆบูชา ประกอบด้วย หลักการ 3
อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6
หลักการ คือ หลักเกณฑ์สำคัญของชาวพุทธและของชาวโลก
ในการตัดสินใจว่าต้องทำหรือห้ามทำอะไร ถ้าผิดหลักการก็ไม่ทำ
แต่ถ้าไม่ผิดหลักการจึงค่อยทำ
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง สพฺพปาปสฺส อกรณํ ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10*(4) ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
1. การไม่ทำบาปทั้งปวง สพฺพปาปสฺส อกรณํ ได้แก่การงดเว้น การลดละเลิก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10*(4) ทางแห่งความชั่วมี 10 ประการ อันความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม กุสลสฺสูปสมฺปทา ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10*(4)เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 ประกาศอันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ
3. การทำจิตให้ผ่องใส สจิตฺตปริโยทปนํ ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์*(5)ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ
อุดมการณ์ คือ เป้าหมายสูงสุดในการดำเนินชีวิต มี 4 ประการ ได้แก่
3. ความไม่เบียดเบียน น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ได้แก่ การเคารพผู้อื่น งดเว้นจากการทำร้ายรบกวนผู้อื่น "รู้ว่าตนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมกฏแห่งกรรมด้วยกัน ก็ไม่ควรไปก่อเวรก่อกรรมไม่ดีเพิ่มอีก ถ้ายังทำอยู่ แสดงว่ายังไม่ชนะกิเลส ยังไม่อดทน"
4. ความสงบ สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบและสันโดษทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีวินัยในตนเอง ไม่ทำตนมักมากจนเป็นที่รำคาญของสาธุชนทั้งหลาย "คนที่ไม่รู้จักความสันโดษ ไม่รู้ประมาณ ไม่รู้จักฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ ย่อมเบียดเบียนผู้อื่นเป็นธรรมดา"
1. ความอดทน ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกขา ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ หมายถึง "ความอดทนเป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสชั้นเยี่ยม" "เกิดเป็นคนต้องอดทนให้เป็นนิสัย"
2. นิพพาน นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทธา ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 "พระพุทธศาสนา สอนเรื่องทุกข์ และการดับทุกข์ เป็นหลัก, อดทนปฏิบัติไปจะได้ถึงพระนิพพานไวๆ"
3. ความไม่เบียดเบียน น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ได้แก่ การเคารพผู้อื่น งดเว้นจากการทำร้ายรบกวนผู้อื่น "รู้ว่าตนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมกฏแห่งกรรมด้วยกัน ก็ไม่ควรไปก่อเวรก่อกรรมไม่ดีเพิ่มอีก ถ้ายังทำอยู่ แสดงว่ายังไม่ชนะกิเลส ยังไม่อดทน"
4. ความสงบ สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบและสันโดษทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีวินัยในตนเอง ไม่ทำตนมักมากจนเป็นที่รำคาญของสาธุชนทั้งหลาย "คนที่ไม่รู้จักความสันโดษ ไม่รู้ประมาณ ไม่รู้จักฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ ย่อมเบียดเบียนผู้อื่นเป็นธรรมดา"
วิธีการ คือ แนวทางปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาตนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 6 ประการ คือ
1. อนูปวาโท ไม่ไปว่าร้ายกัน ผู้เผยแผ่คำสอนจะต้องไม่โจมตี ไม่นินทาใคร
2. อนูปฆาโต ไม่ไปล้างผลาญกัน ไม่เผยแผ่ศาสนาด้วยการฆ่า และต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน
3. ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ *(6)ฉ เว้นข้อที่ได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ต้องรู้จักประมาณในการกิน การใช้เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่าง
5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ เลือกที่นั่งที่นอนในที่สงบ เพื่อให้ตนเองมีโอกาสในการบำเพ็ญเพียรเต็มที่
6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค ประกอบความเพียรในการทำใจหยุดนิ่งอยู่เสมอ มุ่งทำตนให้หลุดพ้นจากกิเลส
โอวาทปาฏิโมกข์ทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นหลักปฏิบัติและนโยบายในการเผยแผ่ของพระพุทธศาสนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงประทานให้แก่พระอรหันต์ชุดแรกที่ได้ออกไปประกาศพระศาสนาในโอกาสที่ได้มาประชุมพร้อมเพรียงกัน
เพื่อให้ถือเป็นนโยบายและหลักปฏิบัติในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นแนวทาง
เดียวกัน การประชุมพระอรหันตสาวกเช่นนี้
เพื่อประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ได้มีแต่ในยุคของพระสมณโคดมพุทธเจ้า
ซึ่งอยู่ในกัปนี้เท่านั้น แต่ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์ในอดีตก็ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
แต่จำนวนครั้งในการประชุมภิกษุสาวกและจำนวนพระอรหันตสาวกที่เข้าร่วมประชุม
ต่างกัน จะเห็นได้ว่า
วิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์ทรงปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ เมื่อทรงฝึกพระอรหันต์ชุดแรก
สำหรับเป็นครูและเป็นต้นแบบให้กับชาวโลกได้จำนวนมากพอสมควรแล้ว
ก็ส่งออกไปประกาศพระพุทธศาสนา และเมื่อคราวที่พระอรหันตสาวกเหล่านั้น
มาประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานนโยบายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เพื่อจะนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทะเลแห่งทุกข์
ไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพาน
วันมาฆบูชา
เป็นวันแห่งความรักของชาวพุทธ
เพราะเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงออกซึ่งความรักต่อมวล
มนุษชาติอย่างแท้จริง ความรักของพระองค์เป็นความเมตตา
ความปรารถนาดีต่อทุกสรรพชีวิตด้วยความจริงใจ
ทรงลำบากพระวรกายเผยแผ่พระศาสนาจนตลอดพระชนม์ชีพ ยาวนานถึง 45 ปี
เพราะอยากจะให้มวลมนุษยชาติได้เข้าถึงหนทางแห่งความสุขภายในอันประเสริฐ
คือหนทางสายกลางภายในดวงใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ดังนั้น หัวใจแห่งพระพุทธศาสนา หรือ "โอวาทปาฏิโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงประทานไว้ในวันมาฆบูชา เป็นแม่บทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น เมื่อใครได้นำหลักการเหล่านี้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ย่อมสามารถสัมผัสได้ถึงความเมตตา อันบริสุทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านทางพระธรรมคำสอนของพระองค์ที่ไม่เคย เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา
อ้างอิงที่มาจาก วันมาฆบูชาคืออะไร ประวัติความสำคัญ กิจกรรมวันมาฆบูชา 2556 ผสมกับ http://www.dmc.tv/pages/buddha_biography/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D.html
(*)=หมายเหตุ
1. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการตรัสรู้ 9 เดือน 45 ปี ก่อนพุทธปรินพพาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dhammathai.org/buddha/g54.php
3. โกฏิ ---- ๑ โกฏิ เท่ากับ สิบล้าน
4. อกุศลกรรมบถ 10/ กุศลกรรมบถ 10 http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=321
6. พระปาฏิโมกข์ คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ[1] บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์