วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ความสำคัญของการปรนนิบัติพระสงฆ์อาพาธ (บทกล่าวนำถวายปานะของชมรมพุทธฯ)



" โย โว ภิกฺขเว มํ อุปฏฺฐเหยฺย  โส คิลานํ อุปฏฺฐเหยฺย "

" ผู้ใดปรารถนาจะอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงอุปัฏฐากภิกษุผู้อาพาธเถิด "

 *สำหรับน้องนิสิตชมรทพุทธจุฬาฯ ที่นำกล่าวคำถวายปานะ ให้นำเรื่องใน [1] เล่าประกอบบทนำ





 เรื่องมีอยู่ว่า

เรื่องที่ 1 [1] สมัย หนึ่ง พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปตามเสนาสนะต่าง ๆ กับท่านได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุอาพาธรูปหนึ่ง นอนจมกองมูตรกองคูถ(อุจจาระ ปัสสาวะ) ของตนอยู่จึงเสด็จเข้าไปใกล้ตรัสถามว่า เป็นโรคอะไร? ทำไม ไม่มีใครพยาบาล?ภิกษุ นั้นทูลว่าเป็นโรคท้องร่วง ที่ไม่มีผู้พยาบาลก็เพราะท่านไม่ได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลายไว้ เมื่อทรงทราบดังนั้นจึงรับสั่งให้ท่านพระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย แล้วพระองค์ทรงรดน้ำอาบให้ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระพุทธองค์ทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้า แล้ววางให้นอนบนเตียง

และ ในวันนั้นเองพระพุทธองค์จึงรับสั่งท่านพระอานนท์ให้เรียกประชุมสงฆ์ ตรัสปรารภข้อที่ไม่มีใครพยาบาลภิกษุผู้อาพาธรูปนั้นเป็นต้นเหตุ แล้วทรงเทศนาว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธเถิด" [1]

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
  "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอก็ไม่มี. ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา ก็พึงพยาบาลภิกษุไข้เถิด. ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลเธอตลอดชีวิตจนกว่าจะหาย. ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ผู้ร่วมอุปชฌายะ หรือผู้ร่วมอาจารย์ สงฆ์พึงพยาบาลเธอ. ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ. วินัยปิฎก ๕/๒๒๖
 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  เรื่องที่ 2 ครั้ง หนึ่ง ท่านพระผัคคุณะอาพาธเป็นไข้หนัก ท่านพระอานนท์ได้ทราบจึงกราบทูลเชิญให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเยี่ยมท่าน ผัคคุณะ พระพุทธองค์ก็เสด็จไปเยี่ยม ตรัสถามถึงอาการป่วยไข้ของท่านผัคคุณะท่านพระผัคคุณะจึงทูลว่า ท่านมีอาพาธแรงกล้ามาก ไม่อาจอดทนได้มีทุกขเวทนาจัด ลมเสียดแทงศีรษะเจ็บปวดเหมือนคนมีกำลังเอามีดโกนอันคมมาเฉือนศีรษะ ปวดท้องเหมือนบุรุษฆ่าโคเอามีดชำแหละโคที่คมมาชำแหละท้องโค เจ็บปวดเร่าร้อนทั่วกาย เหมือนคนมีกำลัง ๒ คน จับแขนคนละข้างดึงไปลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉะนั้น

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรม ทำให้ท่านพระผัคคุณะสำเร็จเป็นพระโสดาบัน  
+++++++++++++++++++++++++++++++
"ดูกรผัคคุณะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ
พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำ
วัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใด จักษุนั้น
ไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้
เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพาน
ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นไม่มีเลย ฯ"
++++++++++++++++++++++++++++ 


เรื่องที่ 3 ครั้ง หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารใกล้นครสาวัตถี ท่านพระอานนท์ได้ทราบว่า ท่านพระคิริมานันทะอาพาธหนัก จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จไปเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสใช้ให้ท่านไปเยี่ยมแทน และรับสั่งให้ท่านเรียนสัญญา ๑๐ ประการ เพื่อนำไปสวดให้ท่านพระคิริมานันทะฟัง เมื่อท่านเรียนจนจำคล่องแคล่วขึ้นใจแล้ว จึงทูลลาไปหาท่านพระคิริมานันทะ สวดสัญญา ๑๐ประการ ให้ฟัง ครั้นท่านคิริมานันทะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการ อาพาธของท่านก็สงบระงับลงทันที


รูปนี้คือเหตุการณ์ที่มีมาในพระสูตร กล่าวคือพระพุทธองค์ทรงดูแลพระอาพาธที่มีอาการเนื้อตัวเปื่อยเน่า (ฝีตามตัวแตกเน่าเหม็น) อีกทั้งกระดูกในตัวก็แตกหัก
สรุปทั้งหมดทั้งสิ้นจัดได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงดูแลพระภิกษุผู้อาพาธด้วยพระองค์เอง
แต่ ในเวลาจะสร้างเป็นพระพุทธรูปปางพยาบาลภิกษุอาพาธนั้น ช่างโดยมากจะสร้างในรูปแบบที่ดูแลพระติสสะ คือเป็นรูปที่พระติสสะนอนอยู่บนตักของพระพุทธเจ้า (ซึ่งพระองค์แสดงโพชณงคปริตรให้ฟัง)


“ 1.อนิจจสัญญา และ
“ 2.อนัตตสัญญา...ขันธ์5 “

ขันธ์5
1.รูปขันธ์ : คือก้อน ทุกข์ก้อนหนึ่ง  ซึ่งประกอบขึ้นจาก ธาตุทั้ง4 กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ….เป็นไปโดยจักร4คือ ยืน เดิน นั้ง นอน อันรวมเรียกว่า อิริยาบถ , มีทวารทั้ง9 คือ ตา2…หู2…จมูก2…ปาก1…ทวารหนัก1…ทวารเบา1…อันเป็นที่หลั่งไหลออกแห่งตัวปลวก คือสิ่งโสโครกต่างๆ  ( ขี้ตาไหลออกจากตา ขี้หูไหลออกจากหู และ… ) ทั่วสารภางอันมีรูเล็กเป็นที่ไหลหลั่งออกแห่งสิ่งสรกปกอันหมักหมมอยู่ภายใน ร่างกาย พระศาสดาจึงเปรียบรูปขันธ์นี้ เหมือนจอมปลวกบ้าง เหมือนหม้อดินบ้าง

2 เวทนาขันธ์ : คือการเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เฉยๆบ้าง

3.สัญญา : คือความทรงจำได้ หมายรู้ ซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส และ โภ-ทะ-ภะ-รมณ์ ( คือสิ่งทุกถูกต้องได้ด้วยกาย )
( ความทรงจำต่างๆ...ตั้งแต่ อดีต-ปัจจุบัน-และเรื่องที่คิดถึงในอนาคตด้วย )
( ความทรงจำต่างๆ...ในสิ่งที่เราได้ทำมา...ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และเรื่องที่อยากจะทำในอนาคตด้วย )
( ความทรงจำต่างๆ... ในสิ่งที่เราเป็นมา...ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และความอยากจะเป็น(ใดๆ ) ในอนาคตด้วย , รวมทั้งความทรงจำต่างๆ ในความอยากได้ อยากเป็น อยากมี ต่างๆ ในทุกกาลด้วย

4.สังขาร : คือสภาพปรุงแต่งจิตให้เป็น กุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆบ้าง

5.วิญญาณ : คือการรับรู้อารมณ์ อันผ่านมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ( โภ-ทะ-ภะ ...ภายใน )

ทั้ง หมดนี้อันรวมเรียกว่าขันธ์5 ล้วนมีสภาพเป็นทุกข์ เพราะ ทนอยู่ไม่ได้ ไม่เที่ยง เพราะปรวนแปรไปตามเหตุและปัจจัยต่างๆอยู่เสมอ เป็นอนัตตาเพราะฝื่นไม่ได้  ไม่สามารถกำหนดให้เป็นไปตามปรารถนาได้ว่า จงเป็นอย่างนี้เถิดอย่าเป็นไปอย่างนั้นเลย  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้พระผู้มีพระภาค เรียกว่า อนิจจสัญญา และ อนัตตสัญญา

3.อสุภสัญญา = อะ สุ ภะ สัญญา
เพื่อให้สัญญาทั้งสองประการคืออนิจจสัญญาและ อนัตตสัญญาได้รับการอุปถัมป์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณา ถึง "อสุภสัญญา" คือความไม่งามแห่งกายนี้โดยอาการว่า " กาย นี้ตั้งแต่ปลายผมลงไปและตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมา เป็นไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ กล่าวคือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น น้ำมันเหลว น้ำตา  น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูก อาการหรือสิ่งดังการมานี้ ย่อมให้ทุกข์ให้โทษ เมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงแล้วจะเป็นบ่อเกิดแห่งโลกนานาชนิด เช่น โรค โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
4.อาทีนวสัญญา = อา ที นะ วะ สัญญา

คือการพิจารณาว่ากายนี้เป็นบ่อเกิดแห่งโรคต่างๆ เช่น โรค ตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง โรคเกี่ยวกับอุจจระ โรคปัสสวะ...การพิจารณาว่ากายนี้เป็นบ่อเกิดแห่งโรค รังของโรคต่างๆนั้นแล เรียกว่า อา-ที-นะ-วะ- สัญญา


5.ปหานสัญญา ปะ หา นะ สัญญา

ร่างการนี้เป็นที่นำมา คือเป็นสื่อแห่งการ ตรึกใน ( เรื่องกามบ้าง พยาบาทบ้าง เรื่องเบียดเบียนบ้าง ) วิตกทั้ง3นี้เมื่อจะตั้งลงก็ตั้งลงในกายนี้ การกำหนดใจเพื่อประหาร กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก เรียกว่า " ปา-หา-นะ สัญญา ...เมื่อประหารได้แล้วความกำหนัดพอใจในอันสิ่งในเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดพอใจก็คลายลง


6.วิราคะสัญญา
คือความพอใจ...ในการที่จะสำรอกราคะอกกจากจิตเสีย เรียกว่า วิ-รา-คะ สัญญา


7.นิโรธสัญญา
ความพอใจใน นิโรธ...คือการดับกิเลสทั้งมวลให้ประสบความสงบเยือกเย็นได้
การดับกิเลสทั้งมวลให้ประสบความสงบเยือกเย็นได้เรียกว่า ( " นิโรธ " )


8.สัพพโลเกอนภิรตสัญญา = สัพ พะ โล เก อะ นะ ภิ ระ ตะ สัญญาณ
คือความรู้สึกว่าโลกนี้เป็นที่ตั้งที่เกิดแห่งความวุ่นวาย นานาประการ หาความสงบสุขได้โดยยาก ไม่เพียงแต่ในโลกนี้เท่านั้นแม้โลกทั้งปวงก็ตกอยู่ในสภาพเช่นเดียวกัน ร้อนระอุอยู่ด้วยเพลิงภายในคือ กิเลส แล้วไม่ ปรารถนา โลกไหนๆอีก


9.สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา = สัพ พะ สังขา เร สุ อนิจ จะ สัญญา
คือ การกำหนดใจไม่ ปรารถนาใน สังขารทั้งปวง ( คือสภาพปรุงแต่งจิตให้เป็น กุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆบ้าง ) ไม่ ว่ามีใจครองหรือไม่มีใจครอง ไม่ยึดมั้นถือมั่น ปล่อยวางซึ่งสิ่งที่เคยยึดถือไว้ ยอมประสบความเบากายเบาใจ เหมือนคนปลงภาระหนังลงเสียได้



10 .อานาปานสติ = อา นา ปะ นะ สติ
คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยมีสติตั้งไว้ที่ลมหายใจ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ว่าสั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทา กามราคะ และความหลงไหล นานาประการ


 ++++++++++++++++++++++++

ากที่ได้อ่านจากทั้ง 3 เรื่องแล้ว จะเห็นได้ว่า การให้การพยาบาลหรือบำบัดโรคภัยไข้เจ็บของพระสงฆ์ เท่ากับการได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์เลยทีเดียว
ตามความเชื่อผู้คนส่วนมากแล้วมึความเชื่อและศรัทธาว่า " ถ้าหากผู้ใดที่ได้ถวายอาหารหรือสิ่งของต่อพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญที่เกิดจากการถวายทานนั้น มีอานิสสงส์มากจริงๆ ถึงขนาดผู้นั้นตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ได้เป็นสาวก หรือ อัครสาวก หรือ ปราถนาพุทธภูมิ ก็ได้สมดังใจปรารถนาเลย"

ตามพระพุทธดำรัสที่กล่าวมาข้างต้นนั้น การที่เราดูแลช่วยเหลือปรนิบัติต่อพระภิกษุผู้อาพาธ เท่ากับว่าเราได้สร้างกุศลต่อพระพุทธองค์โดยตรงเลยทีเดียว ดังนี้ ผลบุญมหาศาลจักบังเกิดขึ้นแก่เราผู้ได้ปรนนิบัติอุปัฏฐากพระภิกษุสงฆ์ผู้ อาพาธ เปรียบเสมือนเราได้ถวายทานต่อพระพุทธเจ้านั่นเอง

ดังนั้น การที่เรามีโอกาสหรือตั้งใจที่จะปรนิบัติดูแลช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์ที่ป่วย ไข้ อาพาธ แล้วเราน้อมจิตของเราระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะส่งผลต่อจิตใจอันเป็นกุศลเป็นอย่างมาก และอานิสสงส์ดังกล่าวนั้น บุญจากการอุปัฏฐากพระพุทธองค์ย่อมมีกำลังกุศลมหาศาล หากตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้เราเจริญในธรรมในพระศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว กำลังแห่งความตั้งใจนั้นก็ย่อมมีมากมาย และส่งผลให้เราก้าวหน้าในธรรม มีพละและอินทรีย์ เพื่อความหลุดพ้นในโอกาสภายหน้าได้เป็นแน่แท้ เหตุดังนั้น พวกเราอย่ามัวประมาทอยู่เลย พึงกระทำมหากุศลดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง ครอบครัว และสหธรรมิกของเราโดยพลัน ฯ

 อานิสงส์การบริจาคบำรุงภิกษุสามเณรอาพาธ

    ๑. ชื่อว่าเสมือนอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดต้องการอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นจงไปอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด"
    ๒. อกุศลกรรมในอดีตชาติ จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
    ๓. คู่กรรมคู่เวรในอดีตชาติ เมื่อได้รับส่วนบุญนี้จะเลิกจองเวรจองกรรม ช่วยให้พ้นเวรพ้นกรรม
    ๔. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง เทวดารักษา สรรพวิญญาณเมตตาปราณี
    ๕. เหล่าวิญญาณร้ายไม่อาจเบียดเบียนบีฑาได้
    ๖. จิตใจสงบร่มเย็น ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี มีสง่าราศีผ่องใส สุขภาพเเข็งเเรง กิจการงานเป็นมงคลแก่  ตัว อายุยืนยาว ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
    ๗. คุณธรรมเจริญมั่นคง ปฏิบัติธรรมก้าวหน้า ปัญญาเกิด
    ๘. ไม่พลัดพรากจากคนรัก ของรัก ก่อนเวลาอันควร
    ๙. ชื่อว่าได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ยั่งยืน
    ๑๐. ถือเป็นการทำสังฆทานอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการถวายการอุปัฏฐากบำรุงแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
    ๑๑. จะไม่ไร้ญาติขาดมิตร เวลาแก่ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจะมีคนคอยดูเเล ไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว
    ๑๒. มีเดชบารมีมาก มียศวาสนา เป็นใหญ่เป็นโต ไม่มีใครข่มขี่เบียดเบียนได้
    ๑๓. จะเป็นที่รักแก่คนทั้งปวง ไปที่ใดจะมีผู้คอยช่วยเหลือเกื้อหนุน ไม่ถูกปล่อยให้ขัดข้องในเรื่องทั้งปวง
    ๑๔. จะมีสมบัติมาก และสมบัติจะไม่ถูกทำลายโดยราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
    ๑๕. จะได้พบพระอริยสงฆ์ ได้พบพระอรหันต์ ได้พบพระดี  ไม่เจอพระปลอม ไม่เจอพระเก๊ พระทุศีล
    ๑๖. จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า และเข้าถึงธรรมได้โดยง่ายดาย
    ๑๗. จะได้เจอครูบาอาจารย์และเพื่อนที่ทรงคุณธรรม
    ๑๘. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้จะเป็นปัจจัยแก่สวรรค์และนิพพาน
    ๑๙. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้ สามารถอธิษฐานให้เป็นปัจจัยแก่การบรรลุเป็นพระมหาสาวก พระอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาลได้


 +++++++++++

บทนำรวมใจถวายน้ำปานะพระภิกษุอาพาธของชมรมพุทธ




"ขอให้ทุกคนมายืนรวมใจกันรอบๆรถปานะกันก่อนนะครับ/คะ"
วันนี้เราได้มาดูแลช่วยเหลือ,ปรนนิบัติต่อพระภิกษุผู้อาพาธ,ด้วยการถวายน้ำปานะ เท่ากับว่า, เราได้สร้างกุศล, ต่อพระพุทธองค์, โดยตรงเลยทีเดียว  ซึ่งมีเรื่องราวในพระไตรปิฎกดังนี้ ครับ

(เล่าเรื่อง [1] )

จากเรื่องที่ได้ฟังไปแล้ว จะเห็นได้ว่า

หากเป็นตามพุทธดำรัส, ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น, การที่เราดูแลช่วยเหลือ,  ปรนนิบัติต่อพระภิกษุผู้อาพาธ, เท่ากับว่า, เราได้สร้างกุศล, ต่อพระพุทธองค์, โดยตรงเลยทีเดียว  ดังนี้ ผลบุญคงจะมหาศาล, ดังกับว่าเราได้ถวายทาน, ต่อพระพุทธเจ้า ,   มีอานิสงส์อันไม่มีประมาณ, ถึงขนาดผู้นั้นตั้งจิตอธิษฐาน, ขอให้ได้เป็นสาวก, หรือ อัครสาวก,  หรือ ปราถนาพุทธภูมิ, ก็ได้สมดังใจปรารถนา

ทุกท่านครับ/คะ, การที่เรา, ได้มาร่วมกัน, ถวายน้ำปานะ, แด่พระภิกษุสงฆ์ ผู้อาพาธ, ด้วยจิตที่เลื่อมใสกันในวันนี้, ย่อมส่งผลให้เรา, มีร่างกาย ที่สดชื่นแข็งแรง ,  ห่างไกล จากโรคภัยต่างๆ, มีอายุยืนยาว, ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน...

ดังนั้น, ขอให้ทุกท่าน, ยังจิตของตนให้สดใส, ปลื้มปีติในบุญ, ที่เรากำลังจะได้ทำกันในวันนี้,
และนึกอธิษฐานจิต,  และแผ่เมตตา
เป็นการส่วนตัวนะครับ/คะ (ประมาณ 2 นาที)
ร่วมตั้งจิตอนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันนะครับ/คะ