วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการตอบคำถามอัตนัย

จาก  ผู้เขียน: pratheepbu http://www.vcharkarn.com/vblog/39367




1.      ข้อสอบที่มุ่งให้อธิบาย
วัตถุประสงค์           มุ่งให้อธิบายวิธีการหรืออธิบายความรู้ในเรื่องต่างๆ
ลักษณะคำถาม       ให้คำจำกัดความ / ให้รายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริง / ให้เปรียบเทียบ
                              คืออะไร / มีความหมายว่าอย่างไร / จงอธิบาย / จงเปรียบเทียบ

ขั้นตอนการตอบ             
1)      พิจารณาลักษณะของคำถามว่ามุ่งให้ตอบในประเด็นใด
2)      รวบรวมความรู้ที่เป็นข้อมูลสำคัญซึ่งอาจได้จากการอ่าน การฟัง การสังเกต และการศึกษาค้นคว้า
3)      จัดระเบียบความรู้ความคิดให้เป็นหมวดหมู่แล้วเรียบเรียงความคิดนั้นตามลำดับ
4)      อาจมีตัวอย่าง เหตุผล หลักฐานอ้างอิง หรือการเปรียบเทียบตามความจำเป็น
5)      ต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้เข้าใจง่าย น่าสนใจ น่าอ่าน และลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน อย่าให้วกวนสับสน

แนวการตอบ
1)      การให้คำจำกัดความ อธิบายให้สั้นรัดกุมและชัดเจน
2)      การยกตัวอย่าง ช่วยให้การอธิบายชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น
3)      การเปรียบเทียบ ลักษณะที่เหมือนกันหรือลักษณะที่แตกต่างกัน บางครั้งอาจต้องบอกข้อดีข้อเสียของสิ่งที่นำมาเปรียบกันเพื่อให้คำ ตอบกระจ่างชัด ในบางกรณีสิ่งที่อธิบายนั้นมีลักษณะเข้าใจยาก ผู้ตอบอาจต้องเปรียบเทียบกับสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย
4)      การแสดงเหตุผล แสดงว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล อาจตอบอธิบายจากผลไปสู่สาเหตุหรือจากสาเหตุไปสู่ผลก็ได้
5)      การอธิบายตามลำดับขั้น ถามเกี่ยวกับกรรมวิธีหรือกระบวนการที่มีขั้นตอน

2.      ข้อสอบที่มุ่งให้แสดงความคิดเห็น
วัตถุประสงค์           ต้องการให้ผู้ตอบใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงประกอบ เพื่อให้การแสดงความคิดเห็นของตนน่าเชื่อถือหรือน่านำไปปฏิบัติได้
ลักษณะคำถาม       เห็นด้วยหรือไม่ / จงแสดงความคิดเห็น / ทำไม

องค์ประกอบของข้อสอบ
1)      เรื่อง อ่านคำถามให้เข้าใจและพยายามจับประเด็นให้ได้ว่า ต้องเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร แต่ถ้าลักษณะข้อสอบเป็นการตัดตอนข้อความหรือหยิบยกเรื่องราวมาประกอบคำถาม เพื่อให้อ่านและแสดงความคิดเห็น ผู้ตอบจำเป็นต้องจับใจความสำคัญและตีความเพื่อจับประเด็นสำคัญจากเรื่องให้ ได้ครบถ้วนก่อนแล้วจึงตอบคำถามหรือเสนอความคิดเห็นของตน
2)      ข้อมูลหรือความรู้ที่จำเป็น ต้องมีความรู้ความเข้าในในเรื่องที่ตนเสนออย่างแจ่มแจ้ง และสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม อาจจะเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์แล้วและข้อคิดเห็นของผู้ อื่นซึ่งผู้ตอบใช้อ้างอิง สิ่งสำคัญก็คือควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อได้ เพราะข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องถูกต้องและชัดเจน
3)      เหตุผล มุ่งให้เกิดความคล้อยตามและยอมรับ เหตุผลที่อ้างอิงอาจได้จากข้อเท็จจริงที่ศึกษามาหรือเป็นประสบการณ์ก็ได้ ควรจะมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่ควรปล่อยให้อารมณ์หรืออคติครอบงำ เพราะจะทำให้ข้อเขียนขาดความเที่ยงตรงได้
4)      หลักฐาน มี 2 ประเภท ได้แก่ หลักฐานทางตรง (ได้จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองจึงเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุด) และหลักฐานทางอ้อม (ได้จากเอกสารหรือคำบอกเล่าของผู้อื่น ซึ่งต้องอาศัยการตีความประกอบแต่ก็เป็นที่นิยมกันมาก) อาจปรากฏในรูปต่างๆ เช่น ข้อเท็จจริง สถิติ ตัวเลย ตัวอย่างเหตุการณ์






ขั้นตอนการตอบ
1)      สังเกตคำถามและพยายามจับประเด็นสำคัญจากคำถามว่า ข้อสอบมุ่งให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดในแง่มุมใดบ้าง
2)      ผู้ ตอบต้องบอกได้ว่าตนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องหรือข้อความที่ได้อ่านอย่าง ไร ต้องการสนับสนุน (ควรชี้ให้เห็นคุณประโยชน์หรือผลดี) หรือโต้แย้ง (ต้องชี้ข้อบกพร่องหรือผลเสีย) ก็เขียนให้ชัดเจน หากในข้อความที่อ่านมีการเสนอความคิดเห็นมาก่อน ผู้ตอบต้องพยายามสนับสนุนหรือหักล้างความเห็นเหล่านั้นด้วยเหตุผลและหลักฐาน ให้ความถ้วนทุกประเด็น กรณีที่ข้อความนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น ผู้ตอบอาจจะเห็นคล้อยตามความคิดเห็นบางประเด็นและขัดแย้งบางประเด็นก็ได้ ควรเขียนเสนอให้ชัดเจนว่าเห็นด้วยกับประเด็นใดและไม่เห็นด้วยกับประเด็นใด พร้อมทั้งชี้แจ้งเหตุผลด้วย
3)      เสนอ ความคิดเห็นใหม่ๆ ของผู้ตอบเอง เขียนได้อย่างอิสระ แต่ถ้าเป็นการกำหนดข้อความหรือเรื่องราวมาแล้ว สิ่งที่ผู้ตอบพึงระวังก็คืออย่าเสนอความคิดเห็นซ้ำซ้อนกับความคิดที่มีปรากฏ อยู่แล้วในคำถามโดยไม่ได้เสนอความคิดเห็นใหม่ๆ ที่เป็นของตนเพิ่มเติม ไม่เพียงแต่ต้องใช้เหตุผลและหลักฐานอ้างอิงเพื่อเสริมให้ความคิดเห็นนั้นน่า เชื่อถือเท่านั้น แต่ต้องจัดลำดับความคิด เพราะการรู้จัดจัดวางข้อมูล อ้างอิงเหตุผลและหลักฐานอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและเกิดความเห็นคล้อยตามได้ง่าย
4)      สรุป ประเด็นเกี่ยวกับความคิดเห็นที่สำคัญซึ่งต้องการเสนอไว้ตอนท้ายเรื่อง เพื่อให้คำตอบสมบูรณ์และยังเป็นการย้ำให้ผู้อ่านได้นำข้อคิดไปพิจารณาใคร่ ครวญต่อไป
5)      ผู้ ตอบสามารถเลือกตอบได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการเขียนความเรียง (คำนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป) ใช้ในกรณีที่เป็นการเขียนเสนอความคิดเห็นที่มีหลายประเด็น ต้องอ้างอิงเหตุผลหลายประการเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเห็นคล้อยตาม อีกลักษณะหนึ่งคือ การเขียนแสดงความคิดเห็นโดยตรง มุ่งตอบตำถามให้ตรงประเด็น เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วยต้องแสดงความเห็นให้ชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องมีอารัมภบท แต่ควรสรุปในตอนท้ายอีกครั้งเพื่อย้ำประเด็นสำคัญ





3.      ข้อสอบที่มุ่งให้อภิปราย
วัตถุประสงค์           ผู้ ตอบต้องแยกแยะประเด็นของเรื่องที่จะเขียนอภิปรายได้ชัดเจน และวิเคราะห์ได้ครบถ้วนทุกประเด็น ต้องชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย สาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์
ลักษณะคำถาม       จงอภิปราย

องค์ประกอบของข้อสอบ
1)      เรื่อง มี 2 ลักษณะ คือ
ก.      เรื่อง ที่เป็นข้อมูลทั่วๆ ไป เพื่อให้ผู้ตอบได้เสนอทัศนะและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวหลายๆ ด้านพร้อมทั้งเหตุผลประกอบ ในขณะเดียวกันการได้อ่านนานาทัศนะย่อมทำให้ผู้อ่านมีความรู้และมีทัศนะที่ กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ข.      เรื่อง ที่เป็นปัญหาในสังคม ซึ่งผู้ตอบต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนทัศนะหรือเปลี่ยนนโยบายใหม่ มักเป็นปัญหาส่วนรวมที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือแก้ไข ทั้งยังมุ่งพิจารณาปัญหาเรื่องนั้นๆ ทุกด้านเพื่อหาข้อสรุป และแนวทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลดี
2)      ข้อมูล หรือความรู้ที่ได้จากหลักฐานหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปราย
3)      ความคิดเห็นของผู้ตอบ ควรเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้อื่น
4)      ข้อเสนอแนะ เสนอแนวทางในการปฏิบัติ หรือวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าสนใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
5)      เหตุผล ช่วยเพิ่มน้ำหนักทำให้คำตอบน่าสนใจยิ่งขึ้น เหตุผลที่ใช้ในการเขียนอภิปรายจะมีทั้งเหตุผลประกอบความคิดเห็นและเหตุผลประกอบข้อเสนอแนะ
6)      หลักฐานอ้างอิง ใช้สนับสนุนการเสนอเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปรายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการตอบ
1)      อารัมภบท นำเข้าสู่เรื่อง เนื้อหาส่วนนี้จะเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ความสำคัญ หรือความเป็นมาของเรื่องที่จะเขียนอภิปราย ในกรณีที่เป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวมผู้ตอบอาจจะกล่าวถึงผลกระทบจาก ปัญหานั้น
2)      เนื้อเรื่อง ใน การนำเสนอผู้ตอบจำเป็นต้องแยกแยะประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน ถ้าเป็นการเขียนอภิปรายปัญหาส่วนรวม ควรเสนอสาเหตุของปัญหา วิธีแก้ไข รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ให้ครบถ้วน ควรพิจารณาปัญหาทุกด้านอย่างรอบคอบ การเขียนอภิปรายแต่ละประเด็นต้องละเอียดมีเหตุผลมีหลักฐานอ้างอิงเพื่อให้ ผู้อ่านเข้าใจปัญหาและรู้จักวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง ส่วนการใช้ข้อมูลประกอบอาจเขียนอ้างอิงโดยการให้รายละเอียด การยกตัวอย่าง หรือการเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความคิดเห็นคล้อยตามได้ง่าย
3)      ข้อเสนอแนะในช่วงท้ายของเนื้อเรื่อง  อาจ จะเป็นข้อคิดหรือแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม ในการเขียนอภิปรายมักมีประเด็นที่ต้องกล่าวถึงมากมาย ดังนั้นผู้ตอบจึงควรจัดลำดับข้อความให้เหมาะสมตามหลักการใช้เหตุผลและจัด เป็นประเด็นใหญ่ประเด็นย่อยให้ชัดเจน ประเด็นใดมีความสำคัญควรกล่าวถึงก่อน ส่วนประเด็นที่สำคัญรองลงมาก็กล่าวถึงในลำดับถัดไป ส่วนการเขียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาส่วนรวม มีวิธีจัดลำดับประเด็นที่น่าสนใจ 2 วิธี คือ วิธีแรก กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาทั้งหมด ต่อจากนั้นจึงเสนอวิธีแก้ไขปัญหานั้นทุกปัญหา ส่วนวิธีที่สอง เป็นการเสนอสาเหตุของปัญหากับวิธีแก้ไขปัญหาเป็นข้อๆ  ไปจนกระทั่งพิจารณาปัญหาได้ครบทุกข้อ การรู้จักลำดับประเด็นจะช่วยให้ผู้อ่านไม่สับสนและสามารถอ่านข้อเขียนได้เข้าใจยิ่งขึ้น
4)      บทสรุป ควรย้ำประเด็นสำคัญที่ต้องการเสนอหรือชี้ให้เห็นว่า ถ้าสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่เสนอแนะได้ย่อมก่อให้เกิดผลดี