วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติการพับดอกบัวของชมรมพุทธจุฬาฯ



ประวัติวัฒนธรรมการพับดอกบัวของชมรมพุทธจุฬาฯ ในความทรงจำของเจ้าของบล็อก


ย้อนไปตั้งแต่ชมรมพุทธจัดระเบียบตัวเองใหม่สมัยหลวงพี่ฐานะฯ กิจกรรมทุกๆอย่างถูกยกคุณภาพไป พร้อมๆกัน ในนั้นคือ การจัดดอกบัวถวายพระ ซึ่ง คาดว่าน่าจะเป็นอ.เสาวลักษณ์ ที่แนะนำใช้นิสิตชมรมพุทธฯจุฬา ได้รู้จักกับอาจารย์จุฬาท่านหนึ่งซึ่งรับใช้ใกล้ชิดกับวังสระปทุม ซึ่งท่านได้เมตตาสอนวิธีพับดอกบัวถวายพระในแบบชาววัง ซึ่งชมรมก็ได้ยึดถือแบบแผนนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หลายๆปีที่ผ่านมา เรื่องราวการจัดดอกบัวในชมรมถูกเล่ากันในแบบปากต่อปาก เรื่องราวจึงอาจจะเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงไม่สามารถยืนยันถึงความเป็นมาจริงๆได้ และชื่อของการพับดอกบัวก็หายไปด้วย แต่จากการหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ก็ได้ความว่าดังนี้

รูปแบบการพับดอกบัว







แบบที่ 1. แบบบัวบาน








2. แบบกุหลาบ หรือ



แบบมะลิ


*ความต่างอยู่ที่การดุนโคนกลีบให้โค้งเว้า ซึ่งไม่มีในแบบมะลิ





3. แบบดอกพุดตาน หรือ



แบบตรีมณี

*ต่างที่ลักษณะการพับจีบเข้ากลางกลีบ




4.แบบดาวกระจาย




5.ดอกบัวตูม


ลักษณะการจัดดอกบัวในแจกัน


เรียงตามความสูงและความละเอียดในการพับ โดยแบบที่ 1 จะเป็นดอกที่ก้านยาวที่สุด ซึ่งหมายความว่าเป็นดอกที่อยู่บนสุด และลดหลั่นลงมาเป็นดอกที่ 2,3,4,5









คติเกี่ยวกับการพับดอกบัว


คติทั่วไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.......

ได้เปรียบมนุษย์ดังดอกบัว 4 เหล่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธนำดอกบัวไปไหว้พระ หรือถวายพระ ก็เครื่องแสดงการสักการะว่าพร้อมที่จะเป็นบัวที่เบ่งบานพร้อมที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานบัวบานไปถวายพระ ***เน้นว่าเป็นดอกบัวบาน***เมื่อโลกเปลี่ยนไป การนำดอกบัวบานมาถวายพระทำได้ไม่สะดวกนักในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องการตลาด (สมัยก่อนไม่ต้องไปซื้อหาดอกบัวที่ไหน ก็เก็บเอาในหนองน้ำ ในบึงข้างบ้านก็ได้แล้ว) อีกทั้งดอกบัวบานจะมีเวลาในการคงอยู่น้อยกว่าดอกบัวตูมหลายๆ คนก็ไม่มีเวลามาเปลี่ยนดอกบัวบ่อยๆ จึงเป็นเหตุให้ดอกบัวตูมมาแทนที่ ดอกบัวบาน *** แล้วคนเราก็พับกลีบดอกบัว หรือจับจีบดอกบัว เพื่อให้เป็นดอกบัวบานไปแทน การพับดอกบัวที่ถูกตามคติธรรม จึงควรพับดอกบัวให้ถึงกลีบสุดท้าย ถึงใจเกสร***.....






คติในชมรม

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว น่าจะเกิดความสงสัยว่า ในเมื่อคติกล่าวเรื่องบัวสี่เหล่า ทำไมชมรมจึงจัดดอกบัวไว้ถึง 5 ดอก

เรื่องของเรื่องก็คือ โลกและจักรวาลที่เราท่านอยู่อาศัยนี้ เกิดดับขึันมากมายหลายครั้งนับไม่ถ้วน ตั้งแต่มหานรกยัน พรหมโลก ล้วนถูกทำลายล้างด้วย ไฟ น้ำ และลมบรรลัยกัลป์ทั้งสิ้น เมื่อเวลานั้นมาถึง (ตั้งแต่สุทธาวาส ถึงอรูปพรหมไม่บุบสลาย) และเมื่อถึงเวลาที่เกิดโลกและจักรวาลใหม่ ที่เรียกว่า ต้นกัป จะมีนิมิตที่บอกถึงความวิเศษ ของแต่ละกัปนั้น นั่นก็คือ การมี/ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น และจะมีทั้งหมดกี่องค์
และนิมิตบ่งบอกนั้นคือ จำนวนดอกบัวแห่งจักรวาลนั้นเอง




พระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า โลกยุคเรานี้ มีนิมิตดอกบัวบังเกิดขึ้นถึง 5 ดอก ซึ่งนับว่าเกิดขึ้นได้ยากที่สุด มีชื่อเรียกว่า ภัทรกัป เพราะนั่นหมายถึง โลกนี้จะมีพระพุทธเจ้าบังเกิดถึง 5 พระองค์

ซึ่งรายพระนามของแต่ละพระองค์มีดังนี้

1.พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกของภัทรกัปนี้

2.พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองของภัทรกัปนี้

3.พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สามของภัทรกัปนี้

4.พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สี่ของภัทรกัปนี้




5.พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ห้า หรือพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้

สำหรับในยุคปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในยุคของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงอันตรกัปที่ 12-และในอนาคตกาลอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ (กล่าวคือ...อีกเพียงอสงไขยปีเศษ)-พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลก ในช่วงอันตรกัปที่ 13)


โปรดอ่านเพิ่มเติ่มที่


http://www.dmc.tv



ดังนั้นการจัดดอกบัวห้าดอกนั้น ก็คือการบูชาพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ เรียงตามความสำคัญ หรือ ลำดับการบังเกิดบนภัทรกัปนี้ ซึ่งทราบกันแล้วว่า พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นยุคที่สำคัญมากที่สุด เพราะมีสภาพเกื้อกูลต่อการเข้าถึงธรรมมากที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจที่ชาวพุทธมักอธิษฐานไปเกิดในยุค"พระศรีอาริย์" (อ่านว่า พระ-สี-อาน) ซึ่งก็คือยุคพระศรีอริยเมตไตรย์ นั่นเอง


อานิสงส์ของการจัดดอกบัวบูชาพระ

การพับดอกบัวเป็นงานละเอียดอ่อน ต้องอาศัยสมาธิที่ประกอบไปด้วยใจที่หยุดนิ่ง ผ่องใส ประณีต เบาสบาย จึงนับเป็นการฝึกสมาธิตื้นไปในตัว หรือ เจริญสติ ด้วย
...............................................................................
บุญถวายดอกบัวบูชาพระเจดีย์ มีอานิสงส์โดยย่อ คือ ทำให้เกิดในตระกูลสูง รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีกลิ่นกายหอมฟุ้ง เป็นต้น ดังเช่น พระอุบลวรรณาเถรี

(พระเทพญาณมหามุนี)



เรียงอานิสงส์ตามข้อ


1.ทำให้เกิด ในตระกูลบัณฑิตนักปราชญ์


2.เป็นที่สักการะ เคารพรัก เลื่อมใสของชนทั้งหลาย


3.ได้ทรัพย์สมบัติที่น่าปลื้มใจ


4.มีผิวพรรณวรรณะผ่องใส กลิ่นกายหอม


5.จิตใจผ่องใส นึกถึงบุญได้ง่าย จึงทำให้ตัดโอกาสพลัดไปสู่อบายภูมิ มีแต่สุคติเป็นที่ไป


6.ได้เกิดในปฏิรูปเทส ดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง


7.ได้โอกาสพบ พระพุทธเจ้า พระอริยบคคล ได้ฟังธรรมและบรรลุธรรมโดยง่ายโดยทันที



................... ขออนุโมทนาบุญต่อทุกท่านผู้อ่านครับ ขอให้เจริญในธรรม บุญรักษาครับ


Thanaphol Bank Supruenruai

approved by Trenete S.Prime


แหล่งอ้างอิง

ที่มา http://www.kroobannok.com/blog/14112


http://www.dmc.tv



ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ

https://picasaweb.google.com/108547565457630251377


http://www.dmc.tv