วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

นม ปานะ หรือ ไม่ใช่ปานะ


(บทความนี้เป็นการรวบรวมจากบทความต่างๆ ทั้งความเห็นจากนักวิชาการพระพุทธศาสนา ความเห็นจากอุบาสกอุบาสิกา วิสัชนาจากพระอาจารย์ต่างๆ ตัวอย่างการปฏิบัติตนของพระอาจารย์ และเนื้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เพื่อประกอบการศึกษาและพิจารณาด้วยตัวผู้อ่านเอง)

(ความเห็นแรก)
นม   ท่านจัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควรหากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์"

 (อีกความเห็นหนึ่ง)
"ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
"ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว 
"

สำหรับกรณีนมถั่วเหลือง  ยังมีกรณีถกเถียงกันอยู่ว่า จัดเป็นปานะได้หรือไม่
ส่วนช็อกโกแลต โยเกริ์ต ไอศครีม(ไม่ผสมกากอาหาร) แม้จะไม่ได้ขัดหรือแย้งต่อบัญญัติ แต่ก็ขอให้พิจารณาถึงมูลเหตุแห่งบัญญัติเพื่อประกอบการตัดสินใจ (โปรดดูท้ายบทความ)

+++++++++++++++++++++++
 

1. บทความเกี่ยวกับปานะจากทางเว็บพลังจิต ปรากฎบทความหลากหลายทัศนะ แต่ก็ยังคงมีข้อสรุปเป็นสอง
 ยกตัวอย่างเช่น
  "อย่างไรก็ดี ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เห็นจะเป็นเรื่องราวของ “น้ำนม” 
เนื่องจากมีสิกขาบทหนึ่ง ระบุว่า น้ำนมเป็นโภชนะอันประณีต 
ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล 
แต่ในเรื่องนี้ก็ยังมีข้อความจากพระไตรปิฎกที่ขัดแย้งกันอยู่ ๒ แห่งด้วยกัน
 กล่าวคือ ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ ขุททกนิกาย มหานิเทส ได้ระบุว่า 
“ปโยปานํ” หรือน้ำนม จัดเป็นน้ำปานะ"
 จากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 147 มีนาคม 2556
โดย พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี)
วัดเกตุมดีศรีวราราม ต.บางโทรัด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

http://board.palungjit.org/f14/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E2%80%9C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E2%80%9D-508212.html

http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5-514331.html

http://board.palungjit.org/f8/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-156835.html?langid=34

2. จากที่อ่านเวบบอร์ดที่DMC ค้นกระทู้เก่าก็มีคำตอบว่า
สามารถดื่มน้ำนม นมถั่วเหลือง ชอคโกแลต โยเกิตที่ไม่มีผลไม้-วุ้น

โดยอ้างจาก
ข้อสงสัยเกี่ยวกับศีล 8 http://www.dmc.tv/fo....php/t2737.html
น้ำปานะ http://www.dmc.tv/fo...ter&f=31&t=2993

กระทู้เกี่ยวข้อง
น้ำปานะ??? คือ อะไรบ้างค่ะ http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=398
ปัญหาคาใจในการรักษาศีลแปด http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=328
ศีล ๘ และอุโบสถศีล http://www.dmc.tv/fo...p?showtopic=616

3.ส่วนในลานธรรม ค่อนข้างจะเห็นไปทางเดียวกันว่า
น้ำนม น้ำนมถั่วเหลืองนั้น ไม่เป็นปานะที่สามารถดื่มหลังเที่ยงได้

ศีล 8 มีอะไรบ้าง http://larndham.net/...opic=15502&st=0
ที่เกี่ยวข้อง
สงสัยเรื่องน้ำปานะ http://larndham.net/...opic=15647&st=0
ว่าด้วยการถือศีล 8 http://larndham.net/...opic=17207&st=0
อุโบสถศีล http://larndham.net/...pic=13827&st=12
 

+++++++++++++++++++++++
 เนื้อความจากข้อความอันแรก
อุโบสถศีลประกอบด้วย ๘  องค์  หมายถึงศีล ๘ หรือศีลอุโบสถนั่นเอง   ในศีลข้อที่ ๖   พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสอรรถาธิบาย อุโบสถศีลข้อที่ ๖  ว่า
" .......แม้นเราในวันนี้ก็บริโภคอาหารครั้งเดียว  งดอาหารในราตรี เว้นจากการบริโภคผิดเวลาตลอดวันและคืนนี้
  ด้วยองค์นี้  เราก็ได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว "
 (องฺ ติก. ข้อ  ๕๑๐) 
บทว่า วิกาลโภชนํ  ได้แก่ การบริโภคอาหาร เมื่อล่วงเลยเวลาเที่ยงตรง,  การบริโภคอาหารเมื่อล่วงเลยเวลาเที่ยง ก็คือ
การบริโภคอาหารเมื่อล่วงเลยกาลที่ทรงอนุญาตไว้  คือ เจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
บทว่า เอกภตฺติกา (บริโภคภัตครั้งเดียว) นั้น ท่านแบ่งการบริโภคอาหารเป็น 2 เวลา คือ เวลาเช้า กับเวลาเย็น อาหารที่
จะรับประทานในเวลาเช้า ท่านกำหนดตั้งแต่อรุณจนถึงเที่ยงวัน  ส่วนอาหารเย็นกำหนดตั้งแต่เลยเที่ยงไปจนถึงเวลา
อรุณขึ้น เพราะฉะนั้น ในเวลาภายในเที่ยงวัน แม้นจะบริโภคอาหาร ๕ - ๑๐  ครั้ง ก็ชื่อว่ามีการรับประทานเพียง
ครั้งเดียว เวลาเดียว
วิกาลโภชน์มีองค์แห่งการเกิด ๔ ประการ  (องค์ที่ทำให้เกิดองค์อุโบสถที่  ๖ ต้องแตกทำลาย)
๑.  วิกาโล  เป็นเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงวันไปแล้ว
๒. ยาวกาลิกํ   ของนั้นเป็นของเคี้ยวของฉันที่ทรงอนุญาตให้กินได้ก่อนเที่ยงวัน
๓. อชฺโฌหรณํ มีการกลืนล่วงลำคอคงไป
๔. อนุมฺมตฺตกตา  ไม่ใช่คนบ้า
 (ขุทฺทก.อ ๑/๓/๔๒, อง.อ. ๑/๓/๔๐๑)
        หลังจากเที่ยงวันไปแล้ว  นอกจากน้ำเปล่าบริสุทธิ์แล้ว ผู้รักษาอุโบสถสามารถกลืนน้ำปานะดับกระหายหรือ
บรรเทาความหิวได้  โดยไม่ทำให้องค์อุโบสถศีลข้อที่  ๖ แตกทำลาย
        น้ำปานะ ได้แก่ เครื่องดื่ม หรือ น้ำสำหรับดื่มที่คั้นจากผลไม้ ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติแก่พระภิกษุให้รับ
ประเคนแล้วสามารถเก็บไว้ฉันได้ตลอด ๑ วัน  ๑ คืน เรียกว่า ยามกาลิก  ทรงอนุญาติไว้  ๘  อย่าง
๑.  อัมพะปานะ  น้ำมะม่วง      
๒. ชัมพุปานะ   น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจะปานะ  น้ำกล้วยมีเมล็ด
๔. โมจะปานะ  น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
๕. มะธุกะปานะ น้ำมะทรางต้องเจือด้วยน้ำจึงควร
๖. มุททิกะปานะ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
7. สาลุกะปานะ  น้ำเหง้าบัว
๘. ผารุสะกะปานะ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
 
       นอกจากน้ำปานะ ๘  อย่างแล้ว ท่านยังอนุญาตน้ำที่จะอนุโลมตามน้ำปานะไว้อีก เรียกว่า กัปปิยปานะอนุโลม
คือน้ำปานะที่สมควร  ซึ่งฉันได้โดยไม่เป็นอาบัติในเวลาวิกาล ได้แก่ น้ำปานะแห่งผลไม้เล็ก  เช่น ลูกหวาย 
มะขาม  มะงั่ว มะขวิด สะคร้อ และเล็บเหยี่ยว เป็นต้น
      นอกจากนี้ยังอนุญาติให้ฉันน้ำปานะเหล่านั้นผสมกับน้ำตาล แล้วเคี่ยวไฟจนเข้มข้น (ยกเว้นที่ทำจากถั่วและนม)
สามารถฉันได้ จัดเป็น อัพโพหาริก เช่น น้ำอัดลมในสมัยนี้  แม้นน้ำผลไม้สำเร็จรูป เช่น น้ำองุ่นที่กรองเนื้อออกดีแล้ว
ก็ดื่มได้
น้ำที่ไม่ทรงอนุญาต  ดื่มแล้วองค์อุโบสถต้องแตกทำลาย
 อกัปปิยปานะอนุโลม   หรือ เครื่องดื่มที่ไม่พึงดื่ม  คือ น้ำปานะที่ไม่สมควร ภิกษุดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้ ถ้าดื่ม
ต้องอาบัติปาจิตตย์ ได้แก่ น้ำแห่งธัญชาติ (ข้าว)  ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี  ข้าวเปลือก ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง
ลูกเดือย และหญ้ากับแก้
น้ำแห่งมหาผล  (ผลไม้ใหญ่ ) ๙ ชนิด  คือ ผลตาล  มะพร้าว  ขนุน สาเก  น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท  แตงโม และ
ฟักทอง
น้ำแห่งอปรัณณชาติ  ได้แก่ ถั่วชนิดต่าง ๆ  มีถั่วเหลือ  ถั่วเขียว  ถั่วดำ และงา เป็นต้น แม้นจะต้มจะกรอง ทำเป็น
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ก็ย่อมเป็นอาบัติปาจิตตีย์
  นม   ท่านจัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร
หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์
          ดังนั้น ผู้หวังความบริสุทธิ์ของอุโบสถมีองค์ ๘ พึงงดเว้นเครื่องดื่มที่ทรงห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายในยามวิกาล
          ประสบการณ์สมัยบวชเป็นพระสงฆ์ในสำนักวัดป่า   มีข้อที่ต้องศึกษาและควรรู้มากมายเกี่ยวข้อวัตรข้อนี้จึงเป็น
แรงบันดาลที่จะเขียนเพื่อให้ความรู้เรื่องน้ำปานะ แก่อุบาสก อุบาสิกา  เพื่อจะถือองค์อุโบสถศีลได้อย่างบริสุทธิ์
 ตลอดจนจัดหาน้ำปานะถวายแด่พระสงฆ์สามเณรในกาลพรรษานี้ได้อย่าง ถูกต้องตามพุทธานุญาตทุกประการ
ข้อมูล :  คัมภีร์อุโบสถศีล (ไม่ทราบผู้แต่ง)

บทความที่สนับสนุนความเห็นที่ไม่จัดนม น้ำเต้าหู้ไว้เป็นปานะ...
 การรักษาศีล คัดลอกจากหนังสือสัมมาทิฏฐิ โดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
http://202.44.204.76/cgi-bin/kratoo.pl/002343.htm

ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชนาฯ
ห้ามรับประทานอาหาร หรือสิ่งของที่จะแทนอาหารได้นับแต่ตะวันบ่ายไปแล้ว
ขณะนี้ยังมีผู้ไม่เข้าใจในศีลข้อนี้เป็นจำนวนมาก คำว่าอาหารก็คืออาหารที่เรารับประทานกันตามปกตินั้นเอง
จะรับประทานได้แต่เช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าตะวันบ่ายแล้วรับประทาน ศีลข้อนี้ขาดไป
คำว่าอาหารรวมทั้งอาหารเสริมด้วย เช่น โอวัลติน นมสด นมส้ม นมกล่อง นมกระป๋อง
ที่เขาผสมแป้งมันถั่วต่าง ๆ ไว้แล้ว ตลอดทั้งน้ำเต้าหู้ที่ผสมถั่วต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถ้ารับประทานในตะวันบ่ายเมื่อไร
ศีลจะขาดทันที เพราะเป็นอาหารเสริมสำเร็จ จึงไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้


วินัยพระน่ารู้คู่มือโยม
http://www.raksa-dhamma.com/topic_64.php

นมเป็นอาหารประณีตดื่มในเวลาวิกาลไม่ได้
ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม ๔ อย่างนี้ ไม่จัดเป็นเภสัช ๕ ไม่จัดเข้าในยาวชีวิก (ของฉันได้ตลอดชีวิต)
และไม่จัดเป็นน้ำปานะอันเป็นยามกาลิก (ของฉันได้ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงอรุณขึ้น) แต่จัดเป็นอาหารประณีตเท่านั้น
เพราะฉะนั้น พระภิกษุและสามเณรจึงไม่ควรดื่มนมในเวลาวิกาล แม้เครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ผสมกับนมแล้วก็ไม่ควรดื่มเหมือนกัน
ถ้าดื่มต้องอาบัติปาจิตตีย์
ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
“ภิกษุใด ขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์”
(วิ.มหาวิ.อฏ.๒/๕๔๙)
น้ำปานะสมัยนี้มีมากมายหลายอย่าง มีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามพระวินัย เมื่อทำความเข้าใจแล้ว ก็จะรู้ได้ว่าอันไหนถูกต้อง
อันไหนไม่ถูกต้อง เมื่อรู้แล้วโยมก็ควรถวายน้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้เท่านั้น เช่น น้ำมะม่วงคั้น เป็นต้น พระดื่มจึงไม่เป็นอาบัติ
ถ้าโยมถวายน้ำปานะที่ไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ เช่นนมสด นมถั่วเหลือง ไวตามิ้ลค์ น้ำเต้าหู้ ต้มถั่วเขียว ไมโล และโอวัล-ติน เป็นต้น
เมื่อพระดื่มท่านก็จะเป็นอาบัติปาจิตตีย์
พระควรเลือกดื่มน้ำปานะที่ทรงอนุญาตไว้ มีมากมาย เช่น น้ำมะม่วงคั้น เป็นต้น น้ำปานะที่ไม่ถูกต้องตามวินัย
ควรหลีกเลี่ยงอย่าดื่มตามที่โยมถวายทั้งหมด ถ้าโยมเอาน้ำอะไรมาถวายก็ดื่มหมดโดยไม่พิจารณา จะต้องอาบัติได้ง่าย 


+++++++++++++++++++++++
 เนื้อความจากข้อความอันที่สอง
น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ

ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้
แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่

ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ 
เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น
1. น้ำมะม่วง
2. น้ำลูกหว้า
3. น้ำกล้วยมีเมล็ด
4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด
5. น้ำมะทราง
6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น
7. น้ำเง่าบัว
8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่


ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้
ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด

ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ

ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้
1. น้ำผลสะคร้อ
2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว
3. น้ำผลพุทรา
4. น้ำมัน (งา)
5. น้ำเปรียง
6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)
7. น้ำนม
8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)


 
 จากมังคลัตถทีปนี (แปล) เล่ม 3 ข้อ 8 ดังนี้
1. น้ำผลเล็บเหยี่ยว
2. น้ำผลพุทราเล็ก
3. น้ำผลพุทราใหญ่
4. น้ำเปรียง
5. น้ำมัน
6. น้ำนม
7. น้ำยาคู
8. น้ำรส

ข้อที่ควรคิด ก็คือ คำว่า น้ำนม หรือ นมสด จะเป็นนมสดจากเต้า หรือจากกล่องก็ตาม พระเณรหรือผู้ถืออุโบสถ ฉันหรือดื่มหลังเที่ยงได้หรือไม่ ?

ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว

เดิมที่ผู้เขียนก็ไม่ฉันนมสด เพราะเหตุว่าไม่พบหลักฐาน แต่เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานบ่งไว้ชัด ๆ ก็เลยฉันมาตลอด  แต่ ที่น่ารังเกียจก็คือ นมข้นหรือหางน้ำนม ซึ่งมีแป้งผสมอยู่ด้วย และไมโลหรือโอวัลติน ซึ่งมีไข่ผสมอยู่ด้วยกับน้ำเต้าหู้ ซึ่งบางท่านว่าฉันไม่ได้

ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มออกมาใหม่ ๆ แปลก ๆ แยะ ถ้าเราไม่รู้จริงในส่วนผสม หรือในพระวินัย ก็ไม่ควรจะดื่ม ถ้าเกิดมีการหิวกระหาย ก็ยังมีทางบรรเทาได้ เช่น น้ำตาล เป็นต้น แก้หิวได้ดีนัก  การอ้างเพียงแต่ว่า องค์โน้นท่านยังฉันได้ สำนักนี้ก็ฉันได้ ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะเกิดค่านิยมทำตาม ๆ กันไป แล้วแก้ภายหลังยาก เพราะความเคยชิน ควรจะคำนึงถึงพุทธบัญญัติเป็นหลัก

พระพุทธองค์ทรงทราบดี ว่าการทรมานร่างกายเกินไปหรือการบำรุงจนเกินไป จะเป็นผลเสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การเดินสายกลาง คือไม่ตึงนักและไม่หย่อนนักย่อมจะสำเร็จประโยชน์ได้เร็วกว่า
ถ้าเกิดว่า มีความสงสัยในข้อใดหรืออะไร ? เราควรจะศึกษา หรือสอบถามท่านผู้รู้ก่อน ยึดหลักฐานจากพระไตรปิฎกไว้ก่อนเป็นดีที่สุด จะได้ไม่ก่อปัญหา หรือความขัดแย้งตามมาในภายหลัง


ข้อน่าสังเกต ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอฝากความเห็นเกี่ยวกับพระวินัย และการตีความไว้สักเล็กน้อยว่า  
เป้าหมายหลักในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น ผู้เขียนจับพระพุทธประสงค์ได้ว่า ทรงมุ่งเป้าไว้ 3 จุดใหญ่ คือ

1. เพื่อมิให้ชาวบ้านรังเกียจ หรือติเตียนพระเป็นใหญ่
2. เพื่อให้พระเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน
3. เพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในหมู่สงฆ์

ในข้อหนึ่ง เราจะเห็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่พระทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่รังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม แต่ถ้าสิ่งใดชาวบ้านตำหนิแล้วก็จะทรงบัญญัติห้ามในทันที

ในข้อสอง พระต้องพึ่งชาวบ้าน ต้องฝากปากท้องเขาอยู่ ถ้าเขาไม่เลื่อมใสในสิ่งใด ? พระไปทำเข้าก็เกิดปัญหา เขาไม่ศรัทธา พระก็อดตายแน่

ในข้อสาม ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนายิ่งนัก เพราะถ้าภายในสงฆ์แตกกันเสียแล้ว ศาสนาก็อยู่ไม่ได้

ในอดีตที่ผ่านมา ความแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วกลายมาเป็นการแยกพวกแยกหมู่กัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ทางที่ดีและถูกต้องนั้น ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำแล้วหรือยังไม่ทำก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ่ว่าจะถูก ก็ควรค้นดูหลักฐานพระพุทธบัญญัติก่อน ถ้าหาไม่พบหรือไม่แน่ใจ ก็ควรที่จะสอบถามท่านผู้รู้

การที่เราไม่รู้ และขืนทำไปก่อนนั้น ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างน้อย 2 ประการ คือ

1. ทำให้ท่านผู้รู้รังเกียจ และดูหมิ่นเอาได้ ว่าเราไม่มีความรู้ เมื่อไม่รู้แล้ว ก็ไม่ยอมศึกษาหรือสอบถามอีกด้วย เป็นเหตุให้บัณฑิตไม่อยากคบหาเรา

2. มักจะเกิดการเคยตัว และเคยชินจนติดเป็นนิสัย แม้จะรู้ว่าผิดในภายหลังก็แก้ยาก เพราะการตามใจกิเลสตัณหานั้น มีแต่จะพอกพูนยิ่งขึ้น ได้ที่จะเบาบาง หรือหมดไปนั้น อย่าคิดเลย

ดังนั้น ทางที่ดีและถูกต้องในการบวช ควรจะตั้งเป้าไว้ที่การศึกษาก่อนอื่นใด คือก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทางจิต เพราะถ้าบวชแล้วไปปฏิบัติในทันที มันจะเบื่อการเรียนหรือบางทีก็นึกรังเกียจพวกที่เรียนปริยัติ หาว่าเป็นพวกในลานเปล่า

แน่นอน, ถ้าเรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นพวกใบลานเปล่าแน่ และในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติโดยไม่เรียน มันก็มีผลเสียอย่างน้อย 2 อย่าง คือ อาจทำให้หลงผิด หรือปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิดมรรคผลก็ไม่เกิด และอาจทำให้ล่าช้า หรือติดอาจารย์ได้ง่าย คือติดในทางผิดๆ แต่ถ้าเรายึดพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎกไว้ก่อน โอกาสที่จะเสี่ยงหรือผิด ก็เป็นไปได้ยาก หรือไม่มีเลย เพราะพระไตรปิฎกผ่านการกลั่นกรองมามาก และเป็นที่รับรองกันทั่วโลก.


ข้อมูล: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับเก็บตก" จัดทำโดย ท่านธรรมรักษา 
http://www.watpaknam.org/

บทความที่เห็นว่านมทานได้หลังเที่ยง

ถือศีล ๘ กินนมได้หรือไม่ 
ผู้ถาม             หลวงพ่อเจ้าขา ลูกขอถามเกี่ยวกับเรื่องศีล ๘ ศีล ๘ ที่ลูกรักษาอยู่ปัจจุบันนี่ มีคนเขาพูดว่า นมกินไม่ได้ ไอ้นั่นก็กินไม่ได้ ไอ้นี่ก็กินไม่ได้ ไอ้เรื่องศีล ๘ นี่เกี่ยวกับเรื่องน้ำปานะนี่ เขาอนุญาตแค่ไหน... และที่ไม่อนุญาตเป็นอย่างไรบ้างเจ้าคะ?
หลวงพ่อ         เอาอย่างนี้ดีกว่า... เนยใน เนยข้น น้ำมัน นำผึ้ง น้ำอ้อย นมนี่เป็นพวกเนย... กินได้ แต่ว่าอย่ากินนมดิบนะ (หัวเราะ) ใน มหาปเทส อนุโลมจากเนยเป็นนมได้ ใช้ได้จริง ๆ นะ 

http://www.larnbuddhism.com/grammathan/toppanha.html 


+++++++++++++++++++++++


เพิ่มเติม เรื่องปานะจากกล้วย เหมือนกับกล้วยเฟรปเป้ กล้วยปั่น กล้วยสมูตตี้หรือไม่
พระอาจารย์     กล่าวว่า "กล้วยจัดว่าเป็นสมุนไพรอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้า  ท่านทรงอนุญาตน้ำปานะทั้งกล้วยมีเมล็ดและกล้วยไม่มีเมล็ด   บาลีเขาว่า โจจะปานะ  (น้ำกล้วยมีเมล็ด) โมจะปานะ  (น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด) 
 

สมัยนี้จะไปทำน้ำปานะจากกล้วยคงไม่มีใครมีความอดทนพอ สมัยก่อนเขาจะขยำกล้วยจนเละ เสร็จแล้วเอาห่อผ้าแขวนไว้ ให้น้ำหยดลงมา 
  เราคงไม่มีความอดทนพอที่จะไปรออย่างนั้น 
สมัยนี้เขาปั่นแล้วใส่น้ำแข็งแต่พระไม่มีสิทธิ์ฉัน เพราะท่านห้ามฉันเนื้อ 
ฉันได้แต่น้ำ หรือไม่เราก็ปั่นเสร็จแล้วค่อยกรองเอาแต่น้ำ
 
 พอเทคโนโลยีดีขึ้น ความประณีต ความอดทนของคนก็น้อยลง  ตอนเด็กๆ พอถึงเวลาจะแกงอะไร อาตมาจะโดนบังคับให้ตำน้ำพริก ด้วยความที่อยากจะไปเล่น ก็รีบๆ ตำ ผู้ใหญ่เขาดูแล้วบอกว่า "ยังใช้ไม่ได้ ให้ตำใหม่"
 ตอนนั้นอาตมาก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงใช้ไม่ได้ 
มาตอนนี้รู้แล้วว่าพริกแกงหยาบเป็นบ้าเลย ต้องตำให้ละเอียดจริง ๆ 
จึงจะถึงรสถึงกลิ่น สมัยนี้โยนเข้าเครื่องปั่นได้ก็เอาแล้ว"
 
 
 สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ 
 
 

ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...?t=2637&page=6 
 
++++++++++++++++++
 พระไพศาล วิสาโล
ปุจฉา - ปัจจุบัน ถ้ามีการถวาย น้ำชาเขียว ประเภท ของตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เช่น โออิชิ อิชิตัน รสต่าง ๆ หรือรวมทั้งน้ำ อัดลม หรือ เฮลบลูบอยล์ ถือว่า เป็นน้ำปานะด้วยไหมคะ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - ปานะแปลว่าเครื่องดื่ม หรือ น้ำสำหรับดี่ม กล่าวอย่างเคร่งครัด หมายถึงน้ำที่คั้นจากลูกไม้(รวมทั้งเหง้าพืชบางชนิด) มีผลไม้บางอย่างที่ห้ามทำน้ำปานะ ได้แก่ เมล็ดข้าว ลูกตาล มะพร้าว ขนุน สาเก ฟักทอง แตงโม ถั่วเขียว เป็นต้น) เมื่อพิจารณาถึงความหมายทั่วไปของน้ำปานะและข้อห้ามแล้ว เครื่องดื่มที่คุณกล่าวถึง น่าจะอนุโลมเป็นน้ำปานะได้ สามารถฉันในเวลาวิกาลเช่นเดียวกับน้ำปานะที่ทำจากผลไม้ แต่ท่านห้ามไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนมาฉัน
 ++++++++++++++++++++++++

#หลวงพ่อวัดปากน้ำ : ปานะที่ท่านฉัน


 

******************************

หลักฐานเกี่ยวกับน้ำปานะและการจำแนกในพระไตรปิฎก

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
 
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, 
ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และ
ฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
       ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
           เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
       ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
           ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
       ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
           ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
       ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
           ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
           (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
+++++++++++++++++++++++
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
       ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
           ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
           ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
           ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
           ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
           ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
           ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
           ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
           ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
       นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
       วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
       ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
           ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
               (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
           ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
               (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
           ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
               (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

+++++++++++++++++++++++
พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน 

 [๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับ เสด็จถึง

อาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ พระสมณโคดม ศากยบุตร

ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับถึงอาปณนิคมแล้ว ก็เพราะกิตติศัพท์อันงามของท่าน

พระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรง
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบาน
แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด
ด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
ทวยเทพและมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรง
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็นพระอรหันต์
ทั้งหลายเห็นปานนั้นเป็นความดี.
             หลังจากนั้น เกณิยชฎิลได้ดำริว่า เราจะให้นำอะไรไปถวายพระสมณโคดมดีหนอ จึง
ได้ดำริต่อไปว่า บรรดาฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤษีอัฏฐกะ ฤษีวามกะ
ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคิ ฤษีอังคีรสะ ฤษีภารทวาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ
ฤษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์มาก่อนพวกพราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์ของเก่านี้
ที่ท่านขับแล้วบอกว่า รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่กล่าวไว้บอกไว้
เป็นผู้เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ฤษีเหล่านั้นได้ยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้ แม้พระสมณะ
โคดมก็เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ก็ควรจะยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้บ้าง แล้วสั่งให้
ตกแต่งน้ำปานะเป็นอันมาก ให้คนหาบไปถึงพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้ทูลปราศรัยพอให้เป็น
ที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนา
พระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดมโปรดทรงรับน้ำปานะของข้าพระเจ้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เกณิยะ ถ้าเช่นนั้นจงถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ
ไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงรับประเคนฉันเถิด ครั้งนั้น
เกณิยชฎิลได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยน้ำปานะอันมากด้วยมือของตนจนยัง
พระผู้มีพระภาคผู้ล้างพระหัตถ์ นำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
             พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
             ครั้งนั้น เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์
จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปิติปราโมทย์ในวัน
พรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนว่า เกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อมใส
ยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
             เกณิยชฎิล ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเป็นคำรบที่สองว่า แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง
,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่าน
พระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ
กุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสเตือนเกณิยะว่า ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อมใส
ยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
             เกณิยชฎิล ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเป็นคำรบสามว่า แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมาก
ถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่าน
พระโคดมพร้อมภิกษุสงฆ์ จงทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญ
กุศลและปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้นเกณิยชฎิลทราบอาการ รับอาราธนา
ของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป.
 

 ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
คือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเหง้าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
             ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรมของตนโดยผ่าน
ราตรีนั้น แล้วให้คนกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหาร
เสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จ
พระพุทธดำเนินไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขา
จัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ จึงเกณิยชฎิลอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของ
เคี้ยว ของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน จนพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตร
ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             พระผู้มีพระภาค ได้ทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลด้วยคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-
             [๘๗]            ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นหัวหน้า สาวิตติฉันท์
                          เป็นยอดของฉันทศาสตร์ พระมหาราชเจ้าเป็นประมุขของ
                          มนุษยนิกร สมุทรสาครเป็นประธานของแม่น้ำทั้งหลาย
                          ดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงดาวนักษัตรในอากาศ ดวงภาณุมาศ
                          ใหญ่กว่าบรรดาสิ่งของที่มีแสงร้อนทั้งหลาย ฉันใด พระ-
                          *สงฆ์ ย่อมเป็นใหญ่สำหรับทายกผู้หวังบุญบำเพ็ญทานอยู่
                          ฉันนั้น.
             ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิล ด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ทรงลุกจากที่ประทับ
เสด็จกลับ.
 
+++++++++++++++++++++++ 
เมณฑกเศรษฐีถวายนมหลังห้ามภัตร

เมณฑกะคหบดีสั่งคนเลี้ยงโค ๑,๒๕๐ คนว่า พนายทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
จงช่วยกันจับแม่โคนมคนละตัว แล้วยืนใกล้ๆ ภิกษุรูปละคนๆ เราจักเลี้ยงพระด้วยน้ำนมสด
อันรีดใหม่ที่มีน้ำยังอุ่นๆ ครั้นแล้วได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-
*โภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดอันรีดใหม่ด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตรแล้ว ภิกษุ
ทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคนน้ำนมสด พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
จงรับประเคนฉันเถิด.
             เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหาร
อันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยังพระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จ ทรงนำ
พระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง
กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย ขอประทานพระ
วโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
 
เมณฑกานุญาต
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส.
 
          +++++++++++++++++++++++

[เสริม]พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ ในกาล
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับในที่สงัดทรงหลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งพระทัย
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไป
ก็พุ่งออก แม้ข้าวสวยที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวพรรณเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอ
เป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จ
ประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และจะไม่พึงปรากฏเป็นอาหารหยาบ ทีนั้นพระองค์ได้มี
พระปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕ นี้แล คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัช
อยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่
ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราพึงอนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคน
ในกาลแล้วบริโภคในกาล ครั้นเวลาสายัณห์พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงทำธรรมีกถา
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เราไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เดี๋ยวนี้
ภิกษุทั้งหลายอันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารท ถูกต้องแล้ว ยาคูที่ดื่มเข้าไปก็พุ่งออก แม้ข้าวสวย
ที่ฉันแล้วก็พุ่งออก เพราะอาพาธนั้น พวกเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลือง
ขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เราจะพึงอนุญาตอะไรหนอเป็นเภสัชแก่ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็น
เภสัชอยู่ในตัวและเขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งจะพึงสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก
และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตกสืบต่อไปว่า เภสัช ๕
นี้แล คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และเขาสมมติว่าเป็นเภสัช
ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราพึง
อนุญาตเภสัช ๕ นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วบริโภคในกาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภคในกาล.
พระพุทธานุญาตเภสัช ๕ นอกกาล
             [๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้นในกาล แล้วบริโภค
ในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหาร
ที่ดี พวกเธออันอาพาธซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหารนี้ถูกต้องแล้ว
เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ
มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นซึ่งซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น ครั้นแล้วจึง
ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ มารับสั่งถามว่า ดูกรอานนท์ ทำไมหนอ เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายยิ่ง
ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น?
             ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า เดี๋ยวนี้ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช ๕ นั้น
ในกาลแล้วบริโภคในกาล โภชนาหารของพวกเธอชนิดธรรมดา ชนิดเลว ไม่ย่อย ไม่จำต้อง
กล่าวถึงโภชนาหารที่ดี พวกเธออันอาพาธ ซึ่งเกิดชุมในฤดูสารทนั้น และอันความเบื่อภัตตาหาร
นี้ถูกต้องแล้ว เพราะเหตุ ๒ ประการนั้น ยิ่งเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ดี
มีผิวเหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็นมากขึ้น.
             ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ
แรกเกิดนั้น แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคน
เภสัช ๕ นั้น แล้วบริโภคได้ทั้งในกาลทั้งนอกกาล.
 
นำมาจาก หนังสือ สรรพศาสตร์ในประไตรปิฎก ของ DOU ค่ะ 
( ref: http://main.dou.us/v...s_id=308&page=5

ยารักษาโรคในพระไตรปิฎก


  ยารักษาโรคในพระไตรปิฎกเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง 
ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาได้ทั้งหมด 
หากเรารู้คุณสมบัติในส่วนที่เป็นยาของมัน 
ครั้งหนึ่งหมอชีวกโกมารภัจจ์ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาเป็นระยะทาง 1 
โยชน์ เพื่อต้องการหาว่ามีสิ่งใดบ้างที่ไม่อาจจะนำมาทำเป็นยาได้ 
แต่ท่านไม่พบสิ่งนั้นเลย จากเรื่องนี้จึงอาจจะกล่าวได้ว่า 
"สรรพสิ่งในธรรมชาติสามารถนำมาทำยาได้หมด" สำหรับยาต่างๆ 
ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 
คือ น้ำมูตรเน่า, เภสัช 5, สมุนไพร, เกลือ, ยามหาวิกัฏ และ กลุ่มเบ็ดเตล็ด 

1) น้ำมูตรเน่า

      มูตร แปลว่า น้ำปัสสาวะ คำว่า"น้ำมูตรเน่า" ก็คือน้ำมูตรนั่นเอง 
เพราะร่างกายของคนเราได้ชื่อว่าเป็นสิ่งเปื่อยเน่า  น้ำมูตรที่ออกมาใหม่ๆ 
และรองเอาไว้ในทันทีทันใด 
ก็ได้ชื่อว่าเป็นน้ำมูตรเน่าเพราะออกมาจากร่างกายที่เปื่อยเน่า
      
การนำน้ำมูตรเน่ามาทำเป็นยาจะทำโดยวิธีการดองด้วยตัวยาอื่นๆ เช่น สมอ 
เป็นต้น จึงมักจะเรียกว่า "ยาดองน้ำมูตรเน่า" 
ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆได้หลายชนิด 
      
น้ำมูตรเน่าเป็นยารักษาโรคหลักของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งใน 
"นิสสัย 4Ž ที่พระภิกษุจะต้องใช้เป็นประจำ 
ซึ่งพระอุปัชฌาย์จะบอกในวันบวชว่า "ให้อยู่โคนไม้เป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร 
ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และฉันน้ำมูตรเน่าเป็นยา" 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา 
เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต..."    และพระองค์ยังตรัสว่า 
น้ำมูตรเน่านั้นเป็นของหาง่าย และไม่มีโทษ

2) เภสัช 5

  เภสัช 5 หมายถึง ยารักษาโรค 5 ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และ 
น้ำอ้อย 
โดยในเบื้องต้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเพื่อรักษาโรคไข้
เหลืองหรือดีซ่าน 
    เนยใส หมายถึง เนยที่มีลักษณะใสซึ่งทำจากน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ เป็นต้น
        เนยข้น หมายถึง เนยที่มีลักษณะข้นซึ่งทำจากน้ำนมของโค แพะ และกระบือ เป็นต้น

      น้ำมัน หมายถึง น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงา เมล็ดพันธุ์ผักกาด 
เมล็ดมะซาง เมล็ดละหุ่ง หรือน้ำมันที่สกัดจากเปลวหรือมันของสัตว์ ได้แก่ 
น้ำมันเปลวหมี น้ำมันเปลวปลา น้ำมันเปลวปลาฉลาม น้ำมันเปลวหมู และ 
น้ำมันเปลวลา
      น้ำผึ้ง หมายถึง น้ำหวานที่มีลักษณะข้นที่ผึ้งเก็บสะสมเอามาจากดอกไม้ต่างๆ
      น้ำอ้อย หมายถึง น้ำหวานที่คั้นออกมาจากอ้อย


3) สมุนไพร

      กลุ่มยาสมุนไพรที่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกมีหลายชนิด เช่น 
ยาสมุนไพรที่ทำจากรากไม้, น้ำฝาดของต้นไม้, ใบไม้และต้นไม้, ผลไม้ และ 
ยางไม้ เป็นต้น 
      รากไม้ ได้แก่ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ 
อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู หน่อหวาย หน่อไม้  เหง้าบัว รากบัว 
หรือรากไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร 
     น้ำฝาด 
หมายถึง น้ำที่ได้จากการนำเอาส่วนต่างๆ 
ของต้นไม้ไปสกัดบีบหรือคั้นเอาน้ำออกมา ได้แก่ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน 
น้ำฝาดกระดอมหรือขี้กา น้ำฝาดบอระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกระถินพิมาน 
หรือน้ำฝาดชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร  
      ใบไม้
 ได้แก่ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอมหรือขี้กา ใบกะเพราหรือแมงลัก ใบฝ้าย 
หรือใบไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร และ 
ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นยา ได้แก่ ไม้จันทน์ กฤษณา กะลัมพัก ใบเฉียง แห้วหมู 
เป็นต้น 
      ผลไม้ ได้แก่ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก 
มะขามป้อม ผลโกฐ ผลกล้วย อินทผลัม 
หรือผลไม้ชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร  
      ยางไม้
 ได้แก่ ยางจากต้นหิงคุ ยางที่เคี่ยวจากก้านใบและเปลือกของต้นหิงคุ 
ยางจากยอดตันตกะ ยางที่เคี่ยวจากใบหรือก้านตันตกะ ยางจากกำยาน 
หรือยางชนิดอื่นที่เป็นยาสมุนไพรและไม่จัดว่าเป็นอาหาร  

4) เกลือ

     พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตเกลือที่เป็นเภสัชไว้ดังนี้ คือ 
เกลือสมุทร เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เกลือดินโป่ง 
หรือเกลือชนิดอื่นที่เป็นยาและไม่จัดว่าเป็นอาหาร  
      เกลือสมุทร หมายถึง เกลือที่ได้จากน้ำทะเล 

  เกลือดำ หมายถึง เกลือที่เป็นเศษเกลือ หรือเกลือก้นกอง 
เม็ดเกลือจะเล็กและมีตะกอนปนอยู่มาก เกลือชนิดนี้ปกติจะใช้เติมบ่อกุ้ง 
เลี้ยงปลา และปรับสภาพดินในสวนผลไม้ 
  เกลือสินเธาว์ หมายถึง เกลือที่ได้จากดินเค็ม 

  เกลือดินโป่ง หมายถึง เกลือที่ทำจากดินโป่ง 
ดินโป่งคือแอ่งดินเค็มตามธรรมชาติ เป็นดินที่มีเกลือแร่ต่างๆ ปนอยู่ เช่น 
เกลือโซเดียมคลอไรด์ เกลือแคลเซียม โปตัสเซียม เป็นต้น 

5) ยามหาวิกัฏ

      ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัด 
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุใช้ยามหาวิกัฏ 4 อย่างรักษา คือ 
คูถ มูตร เถ้า ดิน ต่อมาภิกษุรูปหนึ่งดื่มยาพิษเข้าไป 
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุดื่มน้ำเจือคูถเพื่อให้อาเจียนเอา
พิษออกมา

6) กลุ่มเบ็ดเตล็ด
      กลุ่มยาเบ็ดเตล็ดอื่นๆ 
ที่นำมาใช้รักษาโรคเท่าที่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก ได้แก่ ยาดองโลณโสวีรกะ 
ยาผง มูลโค งา ข้าวสาร ข้าวสุก น้ำข้าวใส ถั่วเขียว ธัญชาติทุกชนิด 
น้ำด่างทับทิม ปลา เนื้อ น้ำต้มเนื้อ และการเกด เป็นต้น 
      
ยาดองโลณโสวีรกะ หมายถึง ยาที่ปรุงด้วยส่วนประกอบนานาชนิด  เช่น  
มะขามป้อมสด  สมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด ถั่วเขียว ข้าวสุก ผลกล้วย หน่อหวาย 
การเกด อินทผลัม หน่อไม้ ปลา เนื้อ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ 
โดยใส่เครื่องยาเหล่านี้ในหม้อ ปิดฝามิดชิด เก็บดองไว้ 1 วัน 2 วัน หรือ 3 
วัน เมื่อยานี้สุกได้ที่แล้ว จะมีรสและสีเหมือนผลหว้า เป็นยาแก้โรคลม โรคไอ
 โรคเรื้อน โรคไข้เหลือง(ดีซ่าน) โรคริดสีดวง เป็นต้น 
+++++++++++++++++++++++++  
นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย 
บาลีวันละคำ‬ (909)  น้ำปานะ
คำว่า “น้ำปานะ” เมื่อใช้พูดในหมู่ชาวพุทธ หมายถึงเครื่องดื่มที่ถวายพระภิกษุสามเณรหลังเที่ยงวันไปแล้ว
ธรรมเนียมชาวพุทธนิยมอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร 2 เวลา คือ ก่อนเที่ยงถวายภัตตาหาร หลังเที่ยงถวายน้ำปานะ
“น้ำปานะ” เป็นคำที่ตัดมาจากคำว่า “อัฏฐปานะ” (อัด-ถะ-ปา-นะ) ใช้ในภาษาไทยว่า “อัฐบาน” (อัด-ถะ-บาน) สะกดเป็น “อัฏฐบาน” ก็มี
“อัฐบาน” บาลีเขียน “อฏฺฐปาน” ประกอบด้วย อฏฺฐ + ปาน
“อฏฺฐ” (อัด-ถะ) แปลว่า แปด (จำนวน 8)
“ปาน” (ปา-นะ) แปลตามศัพท์ว่า “อันควรดื่ม” หมายถึง น้ำดื่ม
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปาน” ว่า drink, including water as well as any other liquid (เครื่องดื่ม รวมถึงน้ำและของเหลวชนิดอื่นๆ)
อฏฺฐ + ปาน = อฏฺฐปาน แปลว่า เครื่องดื่ม 8 ชนิด
เครื่องดื่ม 8 ชนิดที่ระบุไว้ในคัมภีร์ ได้แก่ -
(1) อมฺพปานํ น้ำมะม่วง 
(2) ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า 
(3) โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด 
(4) โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด 
(5) มธุกปานํ น้ำมะซาง 
(6) มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
(7) สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล 
(8) ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อัฐบาน : น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.”
อัฏฐปานะ คนเก่าเรียกว่า “น้ำอัฐบาน”
เดี๋ยวนี้นิยมเรียกว่า “น้ำปานะ”
ปัญหา :
ปัจจุบันมีเครื่องดื่มและเครื่องปรุงที่ชงเป็นเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นใหม่ๆ หลากหลายชนิดนอกเหนือไปจากเครื่องดื่ม 8 ชนิดที่ระบุไว้ในคัมภีร์ เวลานำไปถวายพระภิกษุสามเณรก็เรียกคลุมๆ ไปว่า “น้ำปานะ”
ปัญหาก็คือ เครื่องดื่ม/เครื่องปรุงชนิดไหนบ้างที่พระภิกษุสามเณรควรดื่มหรือไม่ควรดื่ม ขณะนี้ดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสำนัก แต่ยังไม่มีมาตรฐานกลางของคณะสงฆ์
: สัตว์ มองลัดแค่-กิน
: คนทั่วไป มองไกลไปที่-วิธีหากิน
: บัณฑิต มองพินิจลงไปว่า-ควรกินหรือไม่ควรกิน
-----------------
(ใช้หนี้ให้ Metha Luongpee ผู้เป็นเจ้าหนี้มาตั้งแต่ 29 มิ.ย.57-และขออภัยในความไม่สะดวก)

Kunanan Pakdee ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด คือ
น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะทราง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด. 

(ภาษาไทย) มหา. วิ. ๕/๙๘/๘๖: คลิกดูพระสูตร

    ในพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน สังเกตตรง... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด....

นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต อธิบายเรื่องน้ำปานะที่ควรรู้เพิ่มเติมไว้ดังนี้ -

พึงทราบคำอธิบายเพิ่มเติมว่า น้ำผลธัญชาติที่ต้องห้าม ได้แก่น้ำจากผลของ ธัญชาติ ๗ เช่น เมล็ดข้าว (น้ำซาวข้าว, น้ำข้าว) นอกจากนั้น ผลไม้ใหญ่ (มหาผล) ๙ ชนิด (จำพวกผลไม้ที่ทำกับข้าว) ได้แก่ ลูกตาล มะพร้าว ขนุน สาเก (“ลพุช” แปลกันว่า สาเก บ้าง ขนุนสำมะลอ บ้าง) น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม ฟักทอง และพวกอปรัณณะ เช่น ถั่วเขียว ท่านจัดอนุโลมเข้ากับธัญผล เป็นของต้องห้ามด้วย; จะเห็นว่า มะซางเป็นพืชที่มีข้อจำกัดมากสักหน่อย น้ำดอกมะซางนั้นต้องห้ามเลยทีเดียว ส่วนน้ำผลมะซาง จะฉันล้วนๆ ไม่ได้ ต้องผสมน้ำ จึงจะควร ทั้งนี้เพราะกลายเป็นของเมาได้ง่าย วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ถ้าผลยังดิบ ก็ผ่าฝานหั่นใส่ในน้ำ ให้สุกด้วยแดด ถ้าสุกแล้ว ก็ปอกหรือคว้าน เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้ เว้นแต่ผลมะซางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ 

๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสด ห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ ให้เป็นของเย็นหรือสุกด้วยแดด (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า ในบาลีไม่ได้ห้ามน้ำสุก แม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) 

๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำ ถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) 

๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)   

ในมหานิทเทส (ขุ.ม.๒๙/๗๔๒/๔๔๙) ท่านแสดงปานะ ๘ (อัฏฐบาน) ไว้ ๒ ชุดๆแรกตรงกับที่เป็นพุทธานุญาตในพระวินัย ส่วนชุดที่ ๒ อันต่างหาก ได้แก่ น้ำผลสะคร้อ น้ำผลเล็บเหยี่ยว น้ำผลพุทรา ปานะทำด้วยเปรียง ปานะน้ำมัน ปานะน้ำยาคู (ยาคุปานะ) ปานะน้ำนม (ปโยปานะ) ปานะน้ำคั้น (รสปานะ), 

ในพระวินัย เคยมีเรื่องที่พราหมณ์ผู้หนึ่งจัดถวายปโยปานะ คือปานะน้ำนม แก่สงฆ์ (ในเรื่องไม่แจ้งว่าเป็นเวลาใด) และภิกษุทั้งหลายดื่มน้ำนมมีเสียงดัง “สุรุสุรุ” เป็นต้นบัญญัติแห่งเสขิยวัตรสิกขาบทที่ ๕๑ (วินย.๒/๘๕๑/๕๕๓)

Pramaha Nuntasit Satsitapong ในแบบเรียนของ ป.ธ.๕
หนังสือมังคลัตถทีปนี ภาค ๒ ข้อ [๙] 
มีเนื้อความว่า "อรรถกถาตุวัฏฏกสูตรนั้น" ว่า น้ำที่ทำจากมะม่วงสุกหรือดิบ ชื่อว่า "อมฺพปานํ" (น้ำมะม่วง) ฯ ในบรรดามะม่วงที่สุกหรือดิบเหล่านั้น เมื่อภิกษุทำด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนๆ แล้วแช่ไว้ในน้ำ ตากแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ และกรองปรุงด้วยน้ำผึ้ง, น้ำตาลกรวด, และการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้นๆ ฯ น้ำที่ทำจากผลหว้าทั้งหลาย ชื่อว่า "ชมฺพุปานํ" (น้ำหว้า) ฯ น้ำที่ทำจากผลกล้วยไม่มีเมล็ดทั้งหลาย ชื่อว่า "โจจปานํ" (น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด) ฯ น้ำที่ทำจากผลกล้วยทั้งหลายที่ไม่มีเมล็ด ชื่อว่า "โมจปานํ" (น้ำกล้วยไม่มีเม็ด) ฯ น้ำที่ทำจากรสแห่งมะซาง ชื่อว่า "มธุกปานํ" (น้ำรสมะซาง) ฯ ก็น้ำมะซางนั้น เจือด้วยน้ำจึงควร ล้วนๆไม่ควร ฯ น้ำที่ขยำผลจันทร์ในน้ำ ทำเหมือนน้ำมะม่วง ชื่อว่า "มุทฺทิกปานํ" (น้ำผลจันทร์) ฯ น้ำที่คั้นเง่าบัวแดงและบัวเขียวทั้งหลายเป็นต้นทำ ชื่อว่า "สาลุกปานํ" (น้ำเง่าบัว) ฯ น้ำที่ทำจากมะปราง เหมือนน้ำมะม่วง ชือว่า "ผารุสกปานํ" (น้ำมะปราง) ฯ น้ำที่ทำจากผลเล็บเหยี่ยว ชื่อว่า "โกสมฺพปานํ" (น้ำผลเล็บเหยี่ยว) ฯ น้ำที่ทำจากผลพุทราเล็กทั้งหลาย ชื่อว่า "โกลปานํ" (น้ำผลพุทราเล็ก) ฯ น้ำที่ทำจากผลพุทราใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า "พทรปานํ" (น้ำผลพุทราใหญ่) ฯ ปานะทั้ง ๑๑ อย่างเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกเพราะแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร ฯ น้ำเนยใส ชื่อว่า "ฆฏปานํ" (น้ำเนยใส) ฯ น้ำมีน้ำมันที่ทำจากงาเป็นต้น ชื่อว่า "เตลปานํ" (น้ำมัน) ฯ น้ำนม ชื่อว่า "ปโยปานํ" (น้ำนม) ฯ น้ำข้าวยาคู มีรสเปรี้ยวเป็นต้น ชื่อว่า "ยาคุปานํ" (น้ำข้าวยาคู) ฯ น้ำปรุงด้วยรสมีผักดองเป็นต้น ชื่อว่า "รสปานํ" (น้ำรส) ฯ
   
       ประโยคสุดท้าย 
"รสปานนฺติ สากาทิรสปานนฺติ ตพฺพณฺณา ฯ"

Metha Luongpee น้ำรส คือ น้ำผักดอง ใช่ไหม ครับ ?

Pramaha Nuntasit Satsitapong เจริญพร คุณโยม Metha Luongpee 
น้ำปรุงด้วยรส มี(รส)ผักดองเป็นต้น
อาตมาเดาว่าน่าจะเป็น น้ำปรุงรสต่างๆ อย่างที่โยมอาจารย์ทองย้อยว่าไว้ ว่า "ปานะน้ำคั้น" เพราะท่านใช้คำว่า "รสปานํ" (น้ำรส)
แต่ที่ว่า "น้ำรส มีผักดอง{เป็นต้น}" คือที่ เช่น น้ำ(ที่ใช้ผักดอง)คั้น "เป็นต้น"
แปลว่า อย่างอื่นก็น่าจะได้ เช่นน้ำผัก (แครอท)เป็นต้น 
หรืออาจจะแปลว่า น้ำรส มีรสผักดองเป็นต้น ชื่อว่า "น้ำรส" ก็ได้
(เดาว่าอย่างนั้น) เจริญพร 
แต่ภิกษุก็ทำเองได้ (แต่ต้องรับประเคนในวันนั้น) จากความใน ประโยคที่ ๒ ของ อรรถกถา ตุวัฏฏกสูตร ว่า
ตตฺถ อาเมหิ ภิกฺขุนา กโรนฺเตน อมฺพตรุณานิ ภินฺทิตฺวา ...... กาตพฺพํ ฯ
 +++++++++++++++++++++++++
 พระพุทธานุญาตมหาประเทศ ๔    [๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า
สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ สิ่งไรไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาค.
วัตถุเป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้:-            
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย              
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย              
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย              
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่ง ที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
+++++++++++++++++++++++
ปิดท้ายด้วยพุทธดำรัสในคราวบัญญัติสิกขาบทที่ 1 
ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด ไม่ใช่
เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อมี
ความถือมั่นมิใช่หรือ? เมื่อธรรมชื่อนั้นอันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิด
เพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความ
ไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น.
             ดูกรโมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยอเนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อ
เป็นที่สร่างแห่งความเมา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย เพื่อ
เป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับ
แห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ?
             ดูกรโมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม
การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดย
อเนกปริยาย มิใช่หรือ?
 
 พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนท่านพระสุทินน์โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่ง...
 
ความเป็นคนเลี้ยงยาก 
ความเป็นคนบำรุงยาก 
ความเป็นคนมักมาก 
ความเป็นคนไม่สันโดษ 
ความคลุกคลี 
ความเกียจคร้าน 
 
 ตรัสคุณแห่ง...
ความเป็นคนเลี้ยงง่าย 
ความเป็นคนบำรุงง่าย 
ความมักน้อย 
ความสันโดษ 
ความขัดเกลา 
ความกำจัด 
อาการที่น่าเลื่อมใส 
การไม่สะสม 
การปรารภความเพียร 
โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่
เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย
อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
 เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ 
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ 
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ 
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ 
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ 
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ 
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ 
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ 
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑ 
 +++++++++++++++++++++++